ไม่กินเนื้อสัตว์ดีอย่างไร?

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ไม่กินเนื้อสัตว์แล้วชีวิตมันจะดีขึ้นอย่างไร ในเมื่อความรู้เดิม ๆ ที่เคยได้รับมาเนื้อสัตว์ก็ดูเหมือนจะเป็นสิ่งดีเสียด้วยซ้ำ แล้วการเลิกเสพสิ่งที่สังคมเข้าใจว่าดีนั้น มันจะดีได้อย่างไร?

จากประสบการณ์ที่ผมเคยพิมพ์ผ่านหลาย ๆ บทความมา ก็แจกแจงข้อดีในการเลิกกินเนื้อสัตว์ ข้อเสียในการกินเนื้อสัตว์มาก็มากก็มาย มาวันนี้เรามีเนื้อหาโดยสรุปจากอาจารย์หมอเขียว ให้เข้าใจได้ง่าย กับข้อดีของการเลิกกินเนื้อสัตว์ ที่ดีอย่างยิ่ง 3 ประการ จะเป็นอย่างไรนั้นก็ลองรับชมกันดูเลย

อ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่ เลิกกินเนื้อสัตว์ได้โชค 3 ชั้น

เลิกกินเนื้อสัตว์ได้โชค 3 ชั้น

1.ได้ร่างกายที่แข็งแรง ความเจ็บป่วยน้อยลง
2.ได้จิตใจที่เป็นสุข
3.มีสิ่งดีๆเกิดขึ้นในชีวิต มีสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิตมากขึ้น สิ่งเลวร้ายในชีวิตน้อยลง

โกงกิน

วันนี้ฝนตก เลยมีเวลานั่งนิ่ง ๆ นาน ๆ ก็ดูข่าวสารไป ไปเห็นคำว่า “โกงกิน” เขาก็หมายถึงการโกงกินทั่ว ๆ ไปนั่นแหละนะ แต่เราก็นึกเอามาแปลงเป็นแบบเราได้

ปีศาจ กระหายเลือด

ในประวัติศาสตร์จะมีกรณีที่คนถูกตีตราว่าเป็นปีศาจ กระหายเลือด เพราะเอาเลือดคนมาอาบ ดูคลิปนี้ก็เห็นว่า สมัยนี้โหดกว่าเยอะ เพราะคนฆ่าสัตว์ สูบเลือดตัดเนื้อเขามากินได้อย่างปกติ แถมสังคมก็ส่งเสริม สนับสนุนบาปนี้อีก นี่มันนรกบนดินจริง ๆ สัตว์ที่ถูกฆ่าก็ไม่ใช่ใครที่ไหนหรอก ก็เพื่อน ๆ คนกินเนื้อสัตว์ทั้งนั้นแหละ เพียงแต่ยังอยู่ในนรก ยังไม่หมดวิบากกรรม ถูกเขากิน แล้วก็กินเขาสลับกันไป ยุติธรรมดีออก

https://www.facebook.com/watch/?v=2317141878540918

กินอย่างรู้ที่มา

เห็นร้านอาหารบางร้านเขาชูเรื่องผัก ก็มีแปลงผักในพื้นที่ บางที่ก็เก็บผัก เก็บผลผลิตได้ คนก็ชอบกัน ชื่นชมกับกระบวนการเก็บเกี่ยวกัน

พอมานึกถึงเนื้อสัตว์ ไม่เห็นจะมีสักร้านที่เขาเอาสัตว์มาเลี้ยง ฆ่าสัตว์โชว์ ให้ลูกค้าฆ่าเอง สัตว์ที่หมายถึงก็พวกหมู วัว ไก่ เป็ด ขาประจำโรงเชือดทั้งหลาย

คงเพราะภาพมันไม่น่าชม เสียงร้องมันไม่น่าฟัง กลิ่นเลือดมันไม่น่าดม เขาก็เลยไม่นิยมกัน ไม่ใช่คุณธรรมอะไรหรอก ก็แค่ไม่สมกาม ไม่สมใจที่อยากเสพ มันไม่ใช่ภาพที่ชอบ ไม่ใช่เสียงที่อยากได้ยิน ไม่ใช่กลิ่นที่อยากดม เขาก็ไม่เอากัน

แต่ที่เขาเอาก็มี พวกสัตว์เล็กที่มันร้องไม่ได้ เลือดไม่นอง กลิ่นไม่แรง ก็พวกกุ้งหอยปูปลาทั้งหลาย พวกนี้บางร้านเขาก็ฆ่ากันสด ๆ เลย จับมันมาใส่บ่อ พอจะกินมันก็จับมันปิ้งกันสด ๆ เลย ถ้าแบบนี้คนชอบ ฆ่ากันแบบสดใหม่เขาก็ยินดีกินกัน

ผมเคยคิดว่าถ้าคนเขากินอย่างรู้ที่มาจริง ๆ เขาอาจจะหยุดกินเนื้อสัตว์ได้ แต่พอมาทบทวนอีกที มันก็ไม่ใช่เสมอไป เพราะถ้ากามมันจัด มันก็เบียดเบียนสัตว์อื่นเพื่อบำเรอสุขตนเองได้หมดนั่นแหละ

คือรู้ทั้งรู้ว่าสัตว์ต้องตายเมื่อตนเองกิน การกินสัตว์ของตนเองนั้นคือแรงขับเคลื่อนในกระบวนการเลี้ยงล่าค้าขาย เขาก็ไม่หยุด ไม่คิดจะหยุด ไม่ยินดีในการหยุด ปกป้องตนเองเพื่อจะได้ไม่มีวันหยุด

คงเหมือนกันกับที่พระพุทธเจ้าท่านว่า ในลำดับของจิตที่จะพัฒนาได้ จะต้องมีศีลเสียก่อน ไม่มีศีลก็ไม่มีหิริโอตัปปะ ทุกวันนี้พุทธไม่มีศีลเป็นเบื้องต้นแล้ว จะหวังอะไรกับหิริโอตัปปะหรือธรรมที่สูงกว่านั้น

ปฏิบัติธรรมกับการกิน

ถ้าใครสนใจทดลองดู ก็ลองดูวีดีโออันนี้กันก่อน จะเห็นหมาตัวสุดท้าย อดทนไม่กินเนื้อ น้ำลายยืด

คนก็เหมือนกัน ถ้ายังอยากกินเนื้อสัตว์อยู่ น้ำลายก็ออกเหมือนกัน ลองไปนั่งกินอาหาร เรากินผัก เขากินเนื้อสัตว์ เขาสั่งเนื้อสัตว์แพง ๆ มา อาการจะเป็นอย่างไร มองอยู่นั่น น้ำลายยืด ฯลฯ นี่แหละเขาเรียกกิเลส เรียกว่าอาการของกาม คือความอยากกิน อยากได้ อยากเสพ ทดลองกันดูก็ได้ 7 วัน 1 เดือน 1 ปี 1 ชาติ มีกิเลสอยู่อาการออกทั้งนั้น

ที่กายสังขาร คืออาการทางร่างกายต่าง ๆ ที่ปรากฏเพราะจิตยังสังขารอยู่ สรุปคือกิเลสยังมีอยู่ ไม่งั้นอาการมันไม่เกิดหรอก ของอื่น ๆ ก็เช่นกัน อาการอยากบุหรี่ เหล้า ฯลฯ อาการทั้งหลายที่ปรากฏ อาการหลอกของกิเลสทั้งนั้น มันเกิดจริง แต่มันไม่จริง มันปรุงมันปั้นขึ้นมาจากจิตอวิชชา

(สังขาร 3 ได้แก่ จิตสังขาร กายสังขาร วจีสังขาร)

ทำไมพระพุทธเจ้าถึงไม่บัญญัติให้เลิกกินเนื้อสัตว์

มีบางท่านก็ยังเห็นและสงสัย ส่วนบางท่านปักมั่นไปแล้วก็ลองพิจารณากันดู

ครั้งที่พระเทวทัตมาขอให้บัญญัติให้ภิกษุไม่กินเนื้อสัตว์ พระพุทธเจ้าไม่ได้ยินดีตามพระเทวทัต

!? แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพระพุทธเจ้ากินเนื้อสัตว์ และท่านก็ไม่ได้ห้าม ถ้าจะไม่กินเนื้อสัตว์ แม้ครั้งที่มีพราหมณ์มากล่าวหาว่าท่านกินเนื้อสัตว์ ท่านก็ยังปฏิเสธว่า เราถูกกล่าวตู่ด้วยถ้อยคำอันไม่เป็นจริง

*ทำไม่ท่านจึงไม่บัญญัติ เพราะท่านบัญญัติไว้แล้วในศีลข้อ ๑ เนื้อความว่า “เธอละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางสาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่”

นั่นหมายความว่าเมื่อปฏิบัติตามศีลไป จะละเว้นเนื้อสัตว์ได้เอง เพราะการที่ยังกินเนื้อที่เขาฆ่ามาอยู่ก็ยังไม่เต็มในเมตตา ยังไม่มีความละอาย ไม่มีความเอ็นดู ไม่มีความกรุณา ไม่หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ …ก็อาจจะเถียงไปได้ ว่าหวังประโยชน์แก่คนฆ่า คนขาย คนเลี้ยง เดี๋ยวธุรกิจบาปเขาจะพัง

ในการปฏิบัติศีลนี้ไม่มีบทลงโทษ นั่นหมายถึงผู้ปฏิบัติก็จะทำไปตามลำดับได้มากได้น้อยก็ขึ้นอยู่กับอินทรีย์พละ คนอ่อนแอ ยังอยากมากก็ต้องหามาเสพ แต่ถ้าตั้งจิตถูกว่าจะพยายามลด ละ เลิกก็ไม่ได้ผิดในทางปฏิบัติอะไร เพราะท่านเข้าใจว่ากิเลสมันร้าย มันต้องค่อย ๆ ปฏิบัติลด ละ เลิกไป

ซึ่งจริง ๆ แล้วการไม่กินเนื้อสัตว์ นั้นเป็นระดับเบสิคของพุทธที่เรียกว่าได้กันโดยสามัญ เพราะใช้ปัญญาเข้าถึงได้ไม่ยาก แม้ในปัจจุบัน ผู้คนไม่ได้ศึกษาและปฏิบัติตามหลักพุทธ เขาก็ยังมีปัญญาลด ละ เลิกสิ่งที่เบียดเบียนชีวิตอื่นมาก

ดังจะสอดคล้องกับหลักพุทธอีกหลายข้อ คือการเอาสัตว์มาฆ่ากินนี่บาปตั้งแต่ สั่ง ฉุด ลาก ดึงมันมา ทำร้ายมัน ฆ่ามัน สุดท้ายทำให้คนยินดีในเนื้อที่ฆ่ามานั้น บาปทุกขั้นตอน หรือการค้าขายที่ผิด พระพุทธเจ้าไม่ให้ขายชีวิตสัตว์ ไม่ให้ขายซากหรือเนื้อสัตว์ เพราะท่านรู้ว่ามันจะเป็นเหตุให้คนไปหาผลประโยชน์จากสัตว์ ไปเบียดเบียนสัตว์ ท่านก็ปิดประตูนี้

แค่เอาจากจุลศีลข้อ ๑ ,มิจฉาวณิชชา ๕ ,ทำบุญได้บาป ๕(ชีวกสูตร) เอาแค่นี้ก็ไม่ต้องบัญญัติว่าควรกินหรือไม่ควรกินแล้ว เพราะสาวกผู้มีปัญญา ปฏิบัติตามครรลองคลองธรรมไปโดยลำดับแล้วจะรู้เองว่าสิ่งใดควรละ สิ่งใดควรยึดอาศัย

เชื่อไหม ถ้าไม่กินเนื้อสัตว์ นี่มันไม่ต้องเถียงกันเลยนะ มันจะสอดคล้องกับข้อธรรมทั้งหมดเลย มันจะไม่ขัด ไม่แย้งกันเลย แต่ถ้ากินเนี่ยนะ มันจะขัด จะแย้งไปหมด ยังมีอีกหลายบทที่ยกมาแล้วจะยิ่งล็อกไปใหญ่ แต่มันยาว ก็ยกไว้ก่อน

แต่ก็เอาเถอะ ถ้าเขาปฏิบัติจนเจริญจริง ภาวนาได้จริง เมตตามีจริง เขาก็หาทางเลิกเบียดเบียนสัตว์ทั้งทางตรงทางอ้อมนั่นแหละ ไม่ปฏิบัติอะไรหรือปฏิบัติผิด มันก็ไม่ได้มรรคได้ผลอะไร มันก็เถียงกินอยู่นั่นแหละ เอ้อ จะมีปัญญาเพิ่มก็ปัญญากิเลสนี่แหละ สามารถเถียงกิน เถียงเพื่อที่จะทำชั่ว เถียงเพื่อที่จะเบียดเบียนได้เก่งขึ้น

…ก็เอานะ ถ้าเข้าใจว่าพ้นทุกข์ก็ทำกันไป แต่ผมว่าไม่พ้นหรอก เพราะสุดท้ายก็ต้องคอยเถียงกินกันทุกชาติ ผมว่ามันทุกข์นะ ไม่เหมือนคนที่เผยแพร่สิ่งดี เอ้ามาลด ละ เลิกการเบียดเบียนกันเถอะ นี่เขาทำไปมันก็เป็นกรรมดี คนจะเห็นต่างบ้างมันก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็ไม่ต้องมานั่งเถียงกับใคร ไม่ต้องมาปกป้องกิเลสหรือความเห็นผิดของตัวเองกับใคร ก็เผยแพร่ไปตามโอกาสของตัวเองนี่แหละ สบาย ๆ นึกออกก็บอก นึกไม่ออกก็วางไป ไม่ได้ยึดมั่นว่าต้องบอกสิ่งดี แต่ก็อาศัยสิ่งดีให้ดีเกิด

สัจจะมันไม่ได้ถูกหรือผิดเพราะเชื่อหรือคนกำหนดนะ มันถูกมันผิดของมันโดยธรรม คุณกินสิ่งที่มันเป็นโทษ มันเบียดเบียน มันก็เป็นโทษ เบียดเบียนของมันอยู่อย่างนั้น มันหนีความจริงนี้ไม่พ้นหรอก สุดท้ายก็ต้องได้รับผลกรรมตามที่ทำ และผลของการกินเนื้อสัตว์หรือไม่กินเนื้อสัตว์ ก็แตกต่างกันด้วยเหตุปัจจัยของมัน

พุดโถ่ พุดถัง เขาจะกินเนื้อสัตว์กันมันก็เป็นเรื่องธรรมดา

ถ้าเราจะแบ่งความเห็นออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ยินดีในการเบียดเบียน อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ไม่ยินดีในการเบียดเบียน

เชื่อไหมว่าน้ำหนัก หรือปริมาณของคนที่จะตกไปในกลุ่มแรกนั้นมีมากมายมหาศาล ตั้งแต่คนเลี้ยงสัตว์ คนฆ่าสัตว์ คนขายเนื้อสัตว์ คนกินเนื้อสัตว์ ยืนสนับสนุนความเห็นของกันและกัน แต่ละคนก็ต่างอ้างว่าตนถูก ตามเหตุและผลประโยชน์ของตน

คนที่กินเนื้อสัตว์เขาจะออกไปยืนฝ่ายตรงข้ามกับคนเลี้ยง คนฆ่า คนขายไม่ได้หรอก เพราะเขาเป็นหุ้นส่วนกัน

ส่วนคนที่ไม่ยินดีในการเบียดเบียนเขาก็จะหาวิธีลดละเลิกการเบียดเบียน ไปสู่การไม่กิน ไม่ฆ่า ไม่ส่งเสริมให้เลี้ยง ฆ่า ขาย ซื้อ ไม่ยินดีในการเลี้ยง ฆ่า ขาย ซื้อ

…พุทธในไทยทุกวันนี้เรียกได้ว่าแทบอวสานไปแล้ว ชื่อน่ะเป็นพุทธเหมือนเดิม แต่เนื้อแท้หายไปแล้ว เหมือนร่างกายที่มีเซลล์ แต่เซลล์เหล่านั้นกลายเป็นเซลล์มะเร็งไปหมดแล้ว พร้อมที่จะกัดกินและทำลายเนื้อดีและชีวิตอย่างต่อเนื่อง

ทั้ง ๆ ที่ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ไม่เบียดเบียด เมื่อธรรมนั้นเผยแพร่ไปที่ไหน การฆ่า การขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตและเนื้อสัตว์ย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนั้นในแผ่นดินพุทธ การจะหาเนื้อสัตว์กิน จึงเป็นไปได้ยากยิ่ง เพราะต้องรอมันตายของมันเอง และนาน ๆ มันจะตายสักที

ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่ดูเหมือนกลับไม่เหมือน สิ่งที่ดูใช่กลับไม่ใช่ เพราะธรรมกลายเป็นอธรรม ผู้ไม่เบียดเบียน กลายเป็นผู้เบียดเบียน แม้ปากจะพูดสอนธรรมมากสักเพียงใด แต่ถ้ากาย วาจา ใจ ยังไม่ยินดีในความเมตตา ความกรุณา ความไม่เบียดเบียนกัน ยังไม่เลิกสนับสนุนธรรมที่พาเบียดเบียน ก็ยากจะเข้าถึงความผาสุกที่แท้จริงได้

พุดโถ่ พุดถัง เถียงกินเนื้อสัตว์

ว่าจะพิมพ์เรื่องนี้หลายทีแล้วก็ลืมทุกที วันนี้ได้โอกาส นำเรื่องนี้มาพิมพ์กัน ว่าทำไมเมื่อปฏิบัติธรรมไปแล้วจึงเลิกกินเนื้อสัตว์

ซึ่งก็มีเถียงกันมากมาย อ้างเหตุให้ได้ จะกิน จะกิน จะกินให้ถูกตามธรรมด้วย เอาข้อธรรมมาอ้างให้ได้กินนั่นแหละ ชีวิตมันจะต้องลำบากปกป้องตนเอง เสียเวลากับการปกป้องตนเองไปเพื่ออะไร

หลายวันก่อนระลึกถึงพระสูตรหนึ่ง ค้นเจอว่าเป็น เวฬุทวารสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรน้อมเข้ามาในตน ผมเคยใช้พระสูตรนี้อธิบายเรื่องการไม่กินเนื้อสัตว์อยู่ช่วงหนึ่ง แต่คราวนี้มันนึกขึ้นได้ว่า จริง ๆ มันก็ง่าย ๆ แค่นี้เอง ทำไมคนไม่เข้าใจ

เนื้อความก็ประมาณว่า สัตว์เขาอยากมีชีวิต เขาไม่อยากตาย เราก็ไม่อยากตายเช่นกัน เมื่อเราเข้าใจเช่นนั้น เราจึงไม่ฆ่าเขา และยังชักชวนให้คนไม่ฆ่า มีความยินดีในการไม่ฆ่า… เอาแค่นี้ก่อน

เอาแค่ภาษาแค่นี้ผมว่าคนมีปัญญาก็ทะลุได้แล้วนะ เลิกกินได้เลย เอ้อนี่ เราก็ไม่อยากให้ใครฆ่าเราไปให้ใครกิน ดังนั้นเราจึงไม่กินเนื้อใครซะเลย มันก็ตรรกกะง่าย ๆ คือถ้าไม่โง่จนเกินไปก็น่าจะพอเข้าใจ

แต่ผมก็เข้าใจอีกอย่างคือ ยุคนี้มันใกล้กลียุค คนมีวิบาก แม้ธรรมง่าย ๆ ก็ฟังไม่เข้าใจ มันจะมืดบอดไปหมด ไม่น้อมเข้ามาในใจ ไม่เห็นอกเห็นใจสัตว์อื่น ทำตัวเป็นใหญ่ ทำตัวเป็นเทพ อยู่เหนือสัตว์อื่น จิตมันเลยไม่น้อมไปว่า สัตว์อื่นทุกข์อย่างไร แม้เราโดนเช่นนั้น เราก็ทุกข์อย่างนั้น

ถ้าธรรมะเจริญจริง มันไม่ยากหรอกที่จะเห็นอกเห็นใจคนอื่น สัตว์อื่น เมตตาที่เพิ่มขึ้นมันจะมีผล มันจะเปลี่ยนแปลง มันจะมีความรู้สึกผิด กลัวบาป เพราะรู้ชัดในกรรมว่าทำไปแล้วโดนแน่ ๆ ผลของกรรมมันกลับมาเอาคืนแน่ ๆ ในเมื่อมันไม่ได้ติดเนื้อสัตว์มันก็ไม่รู้จะไปกินเอาวิบากร้ายทำไม

ใครอยากศึกษาต่อก็ไปตามอ่านกันเอา แต่ที่เถียง ๆ กิน นี่ยังไม่เจริญเท่าไหร่หรอก ก็มีแต่ตรรกะ สภาวะไม่ได้ เพราะถ้าจะเจริญอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คนนั้นก็ต้องไม่ฆ่า อันนี้คนทั่วไปก็พอจะทำได้ พอมาชักชวนให้คนอื่นไม่ฆ่า สายปฏิบัติกินเนื้อสัตว์นี่น้ำท่วมปากแล้ว พูดไม่ออก จะไปชวนคนที่เขาฆ่าสัตว์มาขายให้เลิกฆ่าก็พูดไม่ออก กลัวไม่มีเนื้อสัตว์กิน พอมาข้อสุดท้าย คือกล่าวชม มีความยินดีในการไม่ฆ่า ไปไม่เป็นเลยทีนี้ เพราะตัวเองก็กำลังเถียงสู้ (แม้จะเถียงในใจ)อยู่กับคนที่เขายินดีไม่ฆ่าสัตว์ ไม่กินเนื้อสัตว์ มันก็เลือกข้างชัดเจนอยู่แล้วว่า อยู่ฝั่งยินดีให้สัตว์โดนฆ่า ยินดีให้สัตว์ตาย ปล่อยวางธรรมแล้วถือเอาเนื้อสัตว์มากินมันซะเลย

ถ้าจิตมันไม่ยินดีให้สัตว์ตายนั้น ร่างกายมันจะเคลื่อนตาม มันจะเริ่มเปลี่ยนแปลงตนเอง ไปทีละนิด ลด ละ เลิกไปตามฐาน ตามปัญญาที่มี

เทศกาลเจ ศึกมารเทวดา

ใกล้เทศกาลเจ บทความเกี่ยวกับการลดละเลิกเนื้อสัตว์ ก็จะได้รับการแชร์มากเป็นพิเศษ ก็จะมีคนเข้ามาให้ความเห็น ส่วนจะเห็นอย่างไรก็ลองตาม ๆ ศึกษากันดู

สิ่งที่ผมเห็นก็คือ มีคนเสนอ และมีคนค้าน ฝ่ายเสนอก็คือการชวนเลิกกินเนื้อสัตว์นี่แหละ ส่วนฝ่ายค้านก็คือผู้ที่จะไม่เลิก และชักชวนให้ไม่ต้องเลิกกินเนื้อสัตว์ และยินดีในการไม่เลิกกินเนื้อสัตว์

ถ้าจะสรุปจากที่เคยพิมพ์มา ๆ ก็จะให้ความเห็นก่อนเลยว่าการค้านแย้งในประเด็นนี้ไม่ได้ทำให้ลดการเบียดเบียน แถมยังชักชวนให้ยินดีและส่งเสริมการเบียดเบียนต่อไป สรุปคือมันก็ไปทางตรงข้ามกับหลักปฏิบัติของพุทธนั่นแหละ เหตุผลจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ แต่ก็ต้องดูทิศ ดูที่ไปของผลของกรรมด้วย ไม่เบียดเบียนก็ไปทางนึงนะ เบียดเบียนก็ไปอีกทางหนึ่งนะ ไปคนละทางกัน มันเป็นเหตุเป็นผลที่ต่างกัน ก็ทำใจยอมรับ ๆ กันหน่อย

ส่วนใครจะไปทิศไหน ภพภูมิไหน อันนี้ก็คงไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะตราบโลกแตกมันก็ต้องมีคนเห็นต่างกันอยู่แล้ว และโดยมากก็จะไปชั่วเป็นธรรมดาเสียด้วย เรื่องนั้นเราอย่าไปใส่ใจนักเลย

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เวลาที่เราได้ “ปะทะ” ,”กระทบ”,”ได้ยินได้ฟัง” ความเห็นที่แตกต่างแล้วเราทำใจในใจอย่างไร เรายอมรับฟังได้ไหม เราพิจารณาได้ไหมว่าแบบไหนมันดีกว่า มันเป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่นมากกว่า หรือเราจะเอาแต่ของเรา ของที่เราเคยเรียนรู้ ของที่เราเคยยึดมั่นถือมั่น หรือ ความคิดของฉันถูกที่สุด อะไรประมาณนี้

ประโยชน์ของการเสนอกับการค้าน ในเชิงลึกมันก็มีอยู่ในด้านการตรวจจับจิตมาร-เทวดา ในใจตัวเอง ไม่ต้องไปตรวจคนอื่นหรอก เอาตัวเองนี่แหละว่าเป็นมาร เป็นเทวดา หรือเป็นมารในคราบเทวดา

ถ้าเราฟังความเห็นต่าง ฟังข้อมูลต่างแล้วลองเอาไปปฏิบัติดู จนเห็นผลว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่เขาว่ามานั้น มีประโยชน์/ไม่มีประโยชน์ อย่างไร พอเห็นอย่างนั้นจริง หรือระลึกเท่าที่เคยทำมา หรือศึกษาจากกลุ่มที่เขาปฏิบัติ แล้วชัดเจนในผลนั้น จึงตัดสินใจ ปรับเปลี่ยน ปรับปรุง หรือคงสภาพเดิมก็แล้วแต่ประโยชน์ที่พึงเกิดแต่ตนและผู้อื่น

ยกตัวอย่างเช่น อย่างที่ผมปฏิบัติ เลิกกินเนื้อสัตว์แล้วน้ำหนักลด สุขภาพดีขึ้น ประหยัด เรียบง่าย พึ่งตนได้ ยกตัวอย่างเพียงเท่านี้ผมก็มั่นใจว่า “ผล” ที่ได้รับนั้นควรค่าแก่การเลิกแล้ว

หรืออีกตัวอย่าง ที่เขาแนะนำกันมาเช่น กินเป็นธาตุบ้าง กินด้วยจิตว่างบ้าง ผมก็ลองนะ ลองฟังเขา แต่พิจารณาดูแล้วธาตุมันก็มีธาตุดีกับธาตุเลวด้วยนะ จะเอาอะไรเข้าปากมันก็ต้องมีประโยชน์ มันก็ต้องใช้ปัญญาบ้าง พระพุทธเจ้าท่านให้กินของที่ย่อยง่ายและไม่เป็นโทษจึงจะดีต่อชีวิต พืชผักนี่แหละย่อยง่าย โทษก็น้อย ยิ่งปลูกเองยิ่งปลอดภัย ประหยัด เนื้อสัตว์นี่เสี่ยงโรคและยาอย่างเลี่ยงไม่ได้ แถมชาวพุทธเขาก็ไม่ค่อยอยากคบคนผิดศีลกันสักเท่าไหร่หรอก จะให้คบค้าสมาคมกับคนที่เขาฆ่าสัตว์ขายนี่ผมทำไม่ได้ ไม่อยากยุ่ง ไม่อยากมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนผิดศีลโดยไม่จำเป็น แถมแพงก็แพง เก็บก็ยาก ต้องมีตู้เย็น ผักนี่ไม่มีตู้เย็นก็เก็บได้ ประเด็นนี้ชนะขาดกันแบบเห็น ๆ

ส่วนกินด้วยจิตว่างนี่มันยังไง ก็คนมันมีปัญญาเนาะ มันก็รู้ประโยชน์และโทษสิ จิตนี่มันว่าง มันไม่ได้อยากกินหรอกเนื้อสัตว์ มันก็ไม่ต้องไปกินให้มันลำบากสิ ที่ยังแสวงหากินอยู่นี่มันจิตไม่ว่าง ยังอยู่ในกามภพ ยังหลงกินอยู่ กินด้วยจิตว่างนี่มันจะหลับหูหลับตากินไม่ได้นะ จิตมันว่างจากกิเลส มันก็เลยมีปัญญา ไม่ใช่ว่างจากปัญญาก็เลยกินไม่คิด พุทธนี่มีการคิดที่ถูกที่ควรเป็นมรรค ในระดับโลก ๆ เอาแค่คิดว่ากินสิ่งใดเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นก็พอแล้ว แต่ผมก็ไม่รู้คนอื่นเขาทำยังไงนะ ที่เขาว่าว่างมันว่างแบบเดียวกันรึเปล่าหรือมันว่างแบบบื้อ ๆ หรือมันแค่พูดดีว่าว่าง สุดท้ายคุณกินเข้าไปคุณก็รู้เองนั่นแหละ เรื่องกิเลสมันโกหกตนเองไม่ได้หรอก จิตมันจะยินดีที่ได้เสพเนื้อสัตว์ ยินดีที่ชักชวนกันเสพเนื้อสัตว์ ยินดีที่มีคนส่งเสริมการเสพเนื้อสัตว์

อาการ 3 อย่างนี้ เป็นอาการของอสัตบุรุษ หรือคนพาล หรือ… ก็แล้วแต่จะเรียกกันไป ส่วนใครมั่นใจว่าทำได้อย่างที่ว่า คือยินดีในการกินเนื้อสัตว์ด้วยความเห็นต่าง ๆ แล้วยังสามารถเบิกบาน ผาสุก สุขภาพดี ไร้ทุกข์ ไร้กังวลในชีวิตได้ ก็ทำไป …ส่วนตัวผมไม่เชื่อคนหนึ่งล่ะ

ก็สรุปบทความสั้น ๆ (?) นี้ลงตรงที่ว่า อย่าไปเอาประโยชน์จากการเถียงกันเลย ให้เอาประโยชน์จากการเถียงมารในใจตัวเองดีกว่า คนอื่นเขาอยู่กับเราไม่นานเดี๋ยวเขาก็ไป กิเลสมารในใจเราอยู่ด้วยกันมาหลายล้านชาติ สิงเรามานานแล้ว ยังไปสู้ผิดคนผิดเป้าอีก

กินเนื้อสัตว์ ค้าขายเนื้อสัตว์ ฆ่าสัตว์ หิริโอตตัปปะเสมอกัน

คนเสมอกันย่อมคบค้าสมาคมกัน (คนฆ่า=คนขาย=คนกิน)

เปิดพระไตรปิฎกมั่วๆ ไปเจอสูตรนึง มีข้อความตอนหนึ่งว่า “สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ

สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ” ( อหิริกมูลกสูตร เล่ม ๑๖ ข้อ ๓๘๐)

ตอนแรกอ่านผ่านๆ ก็นึกไม่ออก ก็ทำใจในใจตามไป โห! สูตรนี้ดีจัง เอามาใช้ประโยชน์ได้ กับเรื่องการไม่กินเนื้่อสัตว์นี่แหละ

คนที่เขาฆ่าสัตว์นี่เขาเป็นคนผิดศีลเป็นประจำเลยนะ จะด้วยเหตุอะไรก็แล้วแต่ แต่เขาก็คิดว่าการฆ่านั้นคุ้มค่าที่จะแลกมาเพื่อการดำรงอยู่ของเขา คนที่ฆ่าสัตว์เป็นประจำนี่น่าคบไหม? ผิดศีลเป็นประจำนี่เป็นคนดีไหม? ไม่มีหิริโอตตัปปะนี่เจริญไหม?

นี่เขาอยู่นอกพุทธไปไกลมากเลยนะ ชาวพุทธที่แท้จริงนี่ศีล ๕ ขั้นต่ำนี่ต้องให้แน่นๆ เลย ทีนี้คนฆ่าเขาก็คบหาสมาคมกับคนขายไง เขาก็ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน เราฆ่านายขาย อันนี้เขาก็มีความเสมอกันแล้ว

ทีนี้คนก็ไปซื้อจากคนขายมา ก็คบค้าสมาคมกับคนขาย มีส่วนได้ส่วนเสียกัน มีผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ต้องพึ่งพาอาศัยกัน นั่นก็หมายถึงมีความเสมอกันด้วยหิริโอตตัปปะนั่นแหละ เพราะลึกๆ คนกินเนื้อสัตว์ก็ยังยินดีที่เขาฆ่ามา

ถ้าผู้อ่านเข้าใจความในสูตรนี้จะเข้าใจเลยว่า ทำไมใน วณิชชสูตร (เล่ม ๒๒ ข้อ ๑๗๗) ที่ตรัสถึงเนื้อหาการค้าขายที่ชาวพุทธไม่สมควรทำ ว่าไม่ควรค้าขายเนื้อสัตว์ และค้าขายชีวิตสัตว์ อันนี้มันร้อยกันอยู่ มันเข้ากันพอดี

คนฆ่าคนขาย เขาก็มีความเห็นเดียวกัน คนขายคนซื้อกินเขาก็มีความเห็นเดียวกัน ดังนั้นคนฆ่าคนซื้อกินก็มีความเห็นเดียวกัน

รู้อย่างนี้แล้ว อย่ารีรอให้นรกถามหาเลย ควรปฏิบัติให้มากทำให้ความเห็นให้ถูกตรง ให้หิริโอตตัปปะมันเจริญขึ้น ให้มันเจริญไปกว่าคนที่เขาผิดศีลฆ่าสัตว์ ไม่ใช่บอกว่าตัวเองบรรลุธรรมขั้นนั้นขั้นนี้แต่ดันมีความเห็นตรงกับคนที่ฆ่าสัตว์ มันก็ผิดอยู่ในตัวนั่นแหละ

มงคล ๓๘ ข้อแรกนั้นท่านให้ห่างไกลคนพาล ไม่คบคนพาล …แต่นี่อะไร ไปซื้อเนื้อสัตว์มันก็สนับสนุนให้เขาฆ่าสัตว์อยู่แล้ว ยิ่งเอามากินให้ดูยิ่งกลายเป็นการชักชวนให้คนอื่นกินตามอีก มันก็หลงกันไปใหญ่ อย่างนี้แหละ ติดกระดุมเม็ดแรกผิดก็ผิดไปหมดเลย บรรลุธรรมกันไปนอกขอบเขตพุทธกันไปหมด หลุดกันไปไกลแบบนี้จะกลับมากันได้ไหมนี่ ก็พยายามทำความเข้าใจกันนะ