การตรวจใจในความโสดอย่างยั่งยืน

การอยู่เป็นโสดโดยทั่วไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าเขายินดีในการเป็นโสด ก็อาจจะเป็นเพียงแค่โสดรอเสพ โสดหวังสูง โสดค่าตัวแพง ฯลฯ อะไรประมาณนี้

ก็อย่างที่รู้กันว่าการอยู่เป็นโสดแบบโลกีย์นั้นคือโสดแบบมีภพ มีกิเลสอาศัยอยู่ เพียงแต่มันนอนก้น ตกตะกอน ไม่แสดงตัว แต่ถ้ามีสิ่งที่หวัง ที่ฝันไว้ เช่นคนหน้าตาดี คนมีตัง คนอบอุ่น คนเป็นที่พึ่ง คนที่เข้าใจ คนมีธรรม คนในอุดมคติ ฯลฯ โผล่เข้ามาก็อาจจะใจแตกได้

คงจะมีแค่ส่วนน้อยในสังคมเท่านั้นที่สอนให้ยินดีในความโสด และในส่วนน้อยนั้นก็ยังมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป ถูกบ้าง ผิดบ้างไปตามปัญญาของแต่ละท่าน แต่ก็ยังสามารถใช้หลักของพระพุทธเจ้ามาตรวจสอบได้ว่าที่เป็นอยู่ ที่เข้าใจอยู่ ที่เชื่ออยู่นั้นถูกต้องมั่นคงถาวรไม่เวียนกลับ ไม่แปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยหรือกาลเวลาใด ๆ

เราสามารถประยุกต์หลักของพระพุทธเจ้าได้จากเวฬุทวารสูตร (เล่ม 19 ข้อ 1459) โดยเนื้อความของพระสูตรนี้เป็นเรื่องของการเบียดเบียน ซึ่งการมีสละโสดไปมีคู่นั้น ก็อยู่ในหมวดของการเบียดเบียนด้วยเช่นกัน

โดยสรุปแล้ว หลัก 3 อย่างที่จะประกันความโสดได้คือ 1.ตนเองต้องยินดีในความโสด 2.ชักชวนให้ผู้อื่นเป็นโสด 3.ยินดีในธรรมที่พาให้เป็นโสด

จิตของคนที่พ้นจากความอยากมีคู่ ยินดีในความโสด จะมีองค์ประกอบ 3 อย่างนี้โดยธรรมชาติ ไม่ต้องคิด ไม่ต้องบังคับ ไม่ต้องปรุงว่าเราจะต้องทำตาม 3 หลักนี้ มันจะเป็นไปเองอย่างนั้น ซึ่งนี้คือสภาพผลของการปฏิบัติที่ถูกตรงเท่านั้น ถ้าไม่ถูก จิตมันจะไม่มีสภาพ 3 อย่างนี้

บางคนดูเหมือนยินดีในความโสด แต่พอจะชักชวนคนอื่น หรือยินดีในธรรมที่เป็นโสดกลับไม่เข้าใจ ปรับใจตามไม่ได้ หรือบางคนยินดีในการเป็นโสด แต่พอไปร่วมงานแต่งงานกลับยินดีในธรรมฝ่ายตรงข้าม คือไปยินดีที่เขาแต่งงานกัน มีอาการชอบ ปลื้มใจ แบบนี้มันก็ไปคนละทิศ หรือจะตรวจง่าย ๆ ก็ดูคนรักกันทั่วไปก็ได้ จะรักกันจริงหรือในละคร พอเห็นแล้ว ถ้ามันชอบใจ ถูกใจก็ยังไม่พ้น

การปฏิบัติธรรมกับการหมั่นตรวจมรรคผลเป็นของคู่กัน ถ้าทำแล้วไม่มีการตรวจ ไม่มีการชี้วัด จากหลักฐานเช่นพระไตรปิฎกหรือผู้รู้จริงทั้งหลาย ก็อาจจะทำให้หลงเข้าใจผิดไปได้ว่าตนเองผ่านโจทย์นั้น ๆ

สภาพหลงบรรลุธรรมจะปิดกั้นการเรียนรู้ใหม่ในทุกกรณี เพราะสำคัญว่าตนเองผ่านแล้ว ได้แล้ว สำเร็จแล้ว จึงเสียโอกาสในการเรียนรู้เพิ่ม พลาดโอกาสในการตรวจสอบจุดพร่อง หรืออาจจะนำมาซึ่งเหตุเภทภัยอื่น ๆ จากความประมาณตนผิด

เส้นขาวบนถนน – ศีลในชีวิต

วันก่อนขับรถลงอุโมง เขาก็มีเส้นขาวถี่ๆ บอกให้เรารู้ว่านี่มันเริ่มล้ำเส้นออกไปแล้ว เมื่อล้ำเส้นออกไปมันก็อาจจะไปเบียนเบียนหรือไปชนคนอื่นเขา สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายได้

ศีล ก็คล้าย ๆ กัน คือเป็นกรอบของการปฏิบัติ ศีลที่สูงขึ้นก็ล้อมกรอบให้มีการเบียดเบียนน้อยลง ในเบื้องต้นพุทธศาสนิกชนก็ปฏิบัติศีล ๕ กันให้ได้ก่อน พอมั่นคงในศีล ไม่หวั่นไหวต่อกิเลสที่มายั่วยวนให้ผิดศีล ก็ค่อย ๆ เพิ่มศีลไปเรื่อย ๆ จะศีล ๘, ๑๐ หรืออธิศีลจากฐานเดิมในบางข้อบางประเด็นก็ได้ทั้งนั้น

ผมแปลกใจที่ชาวพุทธสมัยนี้ ไม่ค่อยคุยกันเรื่องศีล ซึ่งเป็นเบื้องต้นของการปฏิบัติ ในเรื่องศีลก็มีรายละเอียด ถือแบบถูกก็มี ถือแบบผิดก็มี คือมีศีลแต่ความเห็นในการปฏิบัติมันผิด

แต่ลึก ๆ ผมก็ไม่แปลกใจหรอก ยุคนี้มันก็เป็นแบบนี้แหละ เหมือนพยายามขับรถในกรอบในเส้น แต่ไม่ได้แก้นิสัยใจร้อนโมโหร้ายขับรถโดยประมาท ถือศีลผิดก็เช่นกัน มีศีลแต่ไม่ได้ใช้องค์ประกอบของศีลในการปฏิบัติธรรมให้เจริญ

เว็บบอร์ดธรรมะ

เมื่อประมาณสองปีก่อนสมัยเพิ่งรู้จักการปฏิบัติธรรมที่ลดกิเลสได้จริง มันก็คันไม้คันมือตามประสามือใหม่ แต่ก็ไม่ได้คันขนาดที่ว่าไปแสดงความคิดเห็นอะไรมั่วไปหมด

เพียงแต่มีความคิดว่า ควรหรือไม่ที่เราจะร่วมเข้าไปเล่นเว็บบอร์ด ไปตอบคำถามที่มีคนตั้งคำถาม ซึ่งหลายๆ คำถามนี่ก็น่าสนใจ น่าตอบมากเลยนะ ถ้าตอบไปเขาคงจะได้ประโยชน์มาก ตอนนั้นก็ยังคิดแบบนั้น

แต่ก็ยั้งใจไว้ มาถามครูบาอาจารย์ก่อนว่ามันเหมาะไหม มันควรหรือไม่ ท่านก็ตอบประมาณว่า ถ้ามันชั่วมากก็ไม่ควร (ผมจำได้ประมาณนี้นะ แต่ประโยคจริงๆ ก็จำไม่ได้)

ผมก็เข้าใจในตนเองเลยนะว่าจริงๆ แล้วเราควรจะไปร่วมกับมิตรดีสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี กลุ่มที่เขายังไม่ค่อยดีเราก็ยังไม่ควรเข้าไปยุ่ง มันจะทะเลาะกันเปล่าๆ เพราะความเห็นมันไม่ตรงกัน ทิฏฐิไม่เสมอสมานกัน ศีลไม่เสมอกัน หลายๆ อย่างไม่ตรงกัน และที่สำคัญเรายังอนุโลมไม่เก่ง จะไปเล่นมันก็จะทำตัวเองให้เสียเวลาไปเปล่าๆ ดีไม่ดีไปขุ่นใจทะเลาะกับเขาอีก

ดังนั้นตั้งแต่ศึกษาธรรมะมาก็เลยไม่ได้เล่นเว็บบอร์ดธรรมะใดๆ เลย ทั้งที่เป็นคนที่โตมากับยุคอินเตอร์เน็ตและการเล่นเว็บบอร์ด

จริงๆ แล้ว ใครจะเล่นหรือจะตอบก็เป็นสิทธิของแต่ละคน ถ้าเข้าไปแล้วมันไม่ชั่ว คือตัวเองไม่เกิดความชั่วขึ้นแล้วไม่ทำให้คนอื่นเกิดความชั่วตาม ผมคิดว่ามันก็ไม่มีปัญหา ก็ใช้ศิลปะในการนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์กันไป

แต่โดยส่วนตัวนั้นผมคิดว่า ลึกๆ มันก็ไม่เหมาะอยู่ดี เพราะลักษณะของพุทธนั้นไม่น่าจะเริ่มต้นด้วยการที่จะเอาคนมานั่งสุมหัวคุยกัน แต่เป็นการแสวงหาบุคคลผู้มีธรรมะ หรือที่เรียกว่า “สัตบุรุษ” แล้วเข้าไปรับฟังธรรมของท่านเหล่านั้น แล้วนำมาปฏิบัติจะตรงกับที่พระพุทธเจ้าตรัสมากกว่า ส่วนการสุมหัวคุยนั้นน่าจะเหมาะสำหรับคนที่ปฏิบัติตรงแล้วเป็นส่วนใหญ่มากกว่า เพราะถ้าปฏิบัติผิด ยิ่งสุมหัวก็จะยิ่งทะเลาะกัน

และจากที่ผมทดลองโดยส่วนตัว คือเอาตัวเองลงไปในกลุ่มต่างๆ แล้วทดสอบดู จึงรู้ว่าเป็นการยากที่จะทำให้คนอื่นๆ รับฟังความเห็นที่แตกต่าง แม้จะมีคนที่ถูกจริงอยู่ในกลุ่มสนทนานั้นก็ตาม แต่ความเห็นของเขาจะถูกกลบลงไปตามน้ำหนักของความเห็นทางโลก (อันนี้ผมอาจจะไม่เก่งเองก็ได้)

แม้ว่าผมจะเป็นคนที่พิมพ์บทความเกี่ยวกับธรรมะที่ตนเองศึกษาไว้ค่อนข้างมาก แต่จะให้ผมสอนใคร หรือแนะนำใคร หรือไปทักใครว่าเขาผิดเขาถูกอย่างนั้น ผมจะไม่ทำ เว้นเสียแต่ว่าคนคนนั้นเขาได้บอกกล่าว หรือร้องขอให้เราบอกเขา ซึ่งก็จะพิจารณาอีกทีว่าจะไม่ตอบเขาหรือตอบเขาอย่างไร

เพราะลึกๆ ผมรู้สึกว่าการตอบคำถามหรือแนะนำกันในอินเตอร์เน็ตนั้นอันตราย เพราะไม่รู้อาการของฝ่ายตรงข้าม ดังนั้นจึงประมาณได้ยาก ไม่เหมือนเจอกัน พูดคุยกัน อันนี้มันประมาณได้ง่ายกว่า ผิดพลาดน้อยกว่า เสี่ยงน้อยกว่า ซึ่งดูๆ แล้วการนิ่งไว้ก่อนจะเป็นกุศลมากกว่าที่จะเสี่ยงไปแนะนำหรือไปตอบอะไรมั่วๆซั่วๆ

ไตรสิกขา ฉบับการ์ตูน

เมื่อปลายปี 58 ที่ผ่านมา ผมได้เผยแพร่ผลงาน “ไตรสิกขา ฉบับการ์ตูน” ซึ่งได้เขียนไว้ช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา

ไตรสิกขา

หลังจากทำเพจ “ไตรสิกขา” มาได้สักพัก รวมทั้งศึกษาการปฏิบัติธรรมในหลายๆแนวทาง ทำให้รู้สึกว่า การเข้าถึงไตรสิกขาในเชิงปฏิบัติได้จริงนั้นเข้าใจยากมาก และการพิมพ์บทความมาอธิบายหรือขยายสิ่งที่เข้าใจยากเหล่านั้นย่อมมีเนื้อหาที่ค่อนข้างยาว สรุปรวบให้สั้นได้ยาก จึงยังคงเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าถึงสำหรับบางคนที่ไม่ถนัดในการอ่านบทความยาวๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต

ไตรสิกขา ฉบับการ์ตูน

จึงคิดว่าเราน่าจะสรุปไตรสิกขาออกมาเป็นการ์ตูนจะได้ง่ายต่อการศึกษาและทำความเข้าใจ แต่กระนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสรุปรวมสิ่งที่สำคัญทั้งหมดลงในการ์ตูนเพียงแค่ 30 หน้านี้ได้ จึงยกมาเพียงหลักปฏิบัติในภาพรวมเพื่อให้เห็นความเกี่ยวเนื่องของการปฏิบัติไตรสิกขา การมีอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ที่สอดร้อยกันเป็นอย่างไร ส่งผลแก่กันและกันอย่างไร เชื่อมโยงกันอย่างไร เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างไร และสุดท้ายจะให้ผลอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องถ่ายทอดออกมาให้พอเห็นภาพ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดตามอ่านได้จากลิงก์ด้านล่างนี้

คู่มือ ไตรสิกขา ฉบับการ์ตูน สำหรับผู้เริ่มต้น

ทำไมต้องมังสวิรัติวิถีพุทธ แล้วมังสวิรัติวิถีพุทธต้องปฏิบัติอย่างไร

ทำไมต้องมังสวิรัติ?

หลายคนก็คงจะสงสัย ว่าทำไมผมถึงดันมังสวิรัตินักหนา มันดีอย่างไร ทำไมต้องเชิดชูขนาดนี้  สำหรับผมแล้วมังสวิรัติไม่ได้ดีแค่ในด้านของการทำกุศล ละเว้นชีวิตสัตว์นะ แต่มันมีอะไรที่มากกว่านั้น ผมไม่ได้เริ่มต้นด้วยความเมตตา แต่ความเมตตาก็ต้องใช้ในเส้นทางที่จะเดินไปสู่ผล

การนำมังสวิรัติมาเป็นการปฏิบัติธรรมนั้น เป็นลักษณะหนึ่งของการปฏิบัติธรรม เพื่อล้างกิเลส เพียงแต่เราหยิบยกโจทย์ของมังสวิรัติขึ้นมาเป็นเพื่อสนามซ้อมให้กับผู้ฝึกปฏิบัติธรรมใหม่

การปฏิบัติธรรมของผมไม่ได้หมายถึงการปฏิบัติที่ร่างกาย ไม่ได้ทำเพื่อข่มจิต แต่ทำเพื่อให้จิตนั้นไม่มีกิเลส การที่จิตวิญญาณของเราจะไม่มีกิเลสได้นั้น จำเป็นต้องใช้ปัญญาพิจารณาอย่างรู้แจ้งเห็นจริงในกิเลสนั้นๆ ไม่ใช่กดข่ม ดับความคิด ตบจิตทิ้ง ตบความรู้สึกทิ้ง เมื่อเห็นดังนี้ผมก็จึงได้เริ่มตั้งกลุ่มขึ้นมาและจะพากันปฏิบัติไปในแนวทางนี้ ลองอ่านบทความนี้ดู อาจจะทำให้คลายสงสัยได้บ้างกับคำถามที่ว่าทำไมต้องมังสวิรัติ

อ่านต่อได้ที่บทความ : ทำไมต้องนำมังสวิรัติมาเป็นการปฏิบัติธรรม

ทำไมต้องนำมังสวิรัติมาเป็นการปฏิบัติธรรม

คู่มือมังสวิรัติวิถีพุทธ

เป็นบทสรุป แนวทางการปฏิบัติ ของกลุ่มมังสวิรัติวิถีพุทธนะครับ เราจะดำเนินไปในแนวทางนี้ นี่เป็นคู่มือแรก ที่เราจะใช้กัน โดยจะสรุปเนื้อหาแต่ละส่วนโดยย่อ ซึ่งถ้ามีโอกาสก็จะพิมพ์บทความขยายเนื้อหาในแต่ละส่วน แต่ละตอนมาให้ได้อ่านกัน เพราะแต่ละเรื่องนั้นสามารถขยายกันได้อย่างละเอียดละออ ยิ่งถ้ายกตัวอย่างก็จะยิ่งยาวขึ้นไปอีก บางเรื่องพิมพ์เป็นหนังสือหนาๆยังได้เลย แต่เราก็จะถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้ในมุมมังสวิรัติกันนะครับ

อ่านต่อได้ที่บทความ : คู่มือมังสวิรัติวิถีพุทธ

คู่มือมังสวิรัติวิถีพุทธ

Download ภาพขนาดเต็ม กดที่นี่

 

อ่านบทความอื่นๆ แนะนำ ติชม ทักทายกันได้ที่…

Facebook : ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์

Blog : Minimal life : Dinh Airawanwat

การปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา

แนะนำบทความที่ดีที่สุดบทหนึ่งของปี 2557 นี้สำหรับผมเลย เพราะสรุปเรื่องด้วยภาพที่สวยงามและกระชับ ทำให้เห็นภาพรวมได้ง่าย รวมทั้งอธิบายขั้นตอนทั้งหมดลงในบทความที่มีความยาวไม่มากไม่น้อยเหมาะสมกับเนื้อหา  84000 พระธรรมขันธ์ นั้นย่อลงเหลือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งผมก็ได้นำศีล สมาธิ ปัญญานั้นมาขยายขึ้นอีกทีเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย นำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง คือการลดกิเลส

การปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญานั้น หลายสายหลายสำนักก็มีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป และก็มักจะมีมรรคผลที่แตกต่างกันออกไป สิ่งนั้นไม่ได้มีสาระสำคัญเท่ากับการกระทำนั้นๆสามารถลดกิเลส ลดความอยากได้อยากมี ลดความยึดมั่นถือมั่นได้หรือไม่ การปฏิบัติที่ถูกทางพุทธจริงๆนั้น คือการปฏิบัติไปสู่ความไม่มี ไม่ได้ ไม่เสพ ไม่ยึดอะไรที่ฟุ้งเฟ้อ เกินความจำเป็นหรือการไม่มีกิเลสนั่นเอง

โดยที่เราจะแสดงมรรคคือทางเดิน ของการปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมกับอธิบายผลที่จะเกิดขึ้น ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายแบบสรุป รวบยอดเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย กระชับ ใช้เวลาในการอ่านไม่นานนัก เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เห็นขอบเขตของการปฏิบัติธรรม ข้อควรรู้ และข้อควรระวังต่างๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้เรียนรู้แนวทางปฏิบัติของพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาที่ประกอบไปด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา รวมอยู่ด้วยกันเป็นก้อนเดียว ไม่แยกจากกัน

ผู้ใดที่สนใจเรียนรู้เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา สนใจแลกเปลี่ยน สอบถาม หรือสงสัยในข้อปฏิบัติใด ขอเชิญร่วมซักถาม ซึ่งแนะนำให้ติดตามไปยังเฟสบุ๊ค ที่ facebook : ศีล สมาธิ ปัญญา ภาคปฏิบัติ

อ่านต่อได้ที่บทความ : ศีล สมาธิ ปัญญา ภาคปฏิบัติ

ศีล สมาธิ ปัญญา ภาคปฏิบัติDownload ภาพขนาดเต็ม กดที่นี่

อ่านบทความอื่นๆ แนะนำ ติชม ทักทายกันได้ที่…

Facebook : ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์

Blog : Minimal life : Dinh Airawanwat

มังสวิรัติทางสายกลาง เป็นอย่างไร ลองมาอ่านกัน

การกินมังสวิรัติ ไม่ได้มีคุณค่าแค่เพียงทำให้สุขภาพดี ทำให้ตัวเองไม่ไปเบียดเบียนผู้อื่น หรือเพียงแค่ได้กุศล แต่ยังเป็นโอกาสในการขัดเกลากิเลส ลด ละ เลิกการเสพ การติด การยึด ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมในแนวทางของศาสนาพุทธ เพื่อนำไปสู่ทางสายกลางซึ่งเป็นความผาสุกที่แท้และยั่งยืน

มังสวิรัติทางสายกลางไม่ใช่แนวทางหรือวิธีใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นวิธีเก่าที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว เพียงแค่หยิบยกมารวมกับการกินมังสวิรัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้ในยุคนี้ ผู้ที่พากเพียรปฏิบัติก็จะสามารถเข้าถึงผลได้ ส่วนผู้ที่ยังไม่เข้าใจ ยังสงสัย ยังสับสน ยังไม่เชื่อ ก็ให้ลองศึกษาหาข้อมูลและเพียรทำความดีต่อไป

อ่านต่อได้ที่บทความ : มังสวิรัติทางสายกลาง การปฏิบัติธรรมด้วยการล้างความอยากเสพเนื้อสัตว์โดยเว้นจากทางสุดโต่งสองด้าน
มังสวิรัติทางสายกลาง

 

อ่านบทความอื่นๆ แนะนำ ติชม ทักทายกันได้ที่…

Facebook : ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์

Blog : Minimal life : Dinh Airawanwat

โพชฌงค์ สติปัฏฐาน ฌาน และสภาพจิตสุดท้ายของการกินมังสวิรัติ

เป็นการร้อยเรียงธรรมะอีกครั้งที่ค่อนข้างหนักพอสมควรสำหรับผม เพราะธรรมแต่ละข้อนั้นเป็นธรรมในระดับพระเอกกันเลยทีเดียว การจับพระเอกหลายคนมาเล่นในบทความเรื่องเดียวกันนี่เป็นเรื่องที่ยากมาก

เป็นเรื่องราวและคู่มือให้กับคนกินมังสวิรัติที่มีการปฏิบัติธรรมไปควบคู่กัน โดยมีเป้าหมายเพื่อความสุขแท้ที่เกิดกับตัวเอง และเป็นไปเพื่อไม่เบียดเบียนตนเองและสัตว์อื่นในโลก ก็จะใช้ธรรมะในข้อ โพชฌงค์ สติปัฏฐาน และ ฌาน เข้ามาร่วมอธิบาย โดยบอกถึงสภาวะต่างๆในการปฏิบัติ ทำให้ผู้ปฏิบัติศีลไม่หลงทาง ไม่ต้องเสียเวลาไปทดลองเอง หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์ก็เพียงแค่ลองตามคำแนะนำที่ให้ไว้ ส่วนจะทำสำเร็จหรือไม่ จะเห็นผลอย่างไรนั้นต้องทำเอาเอง

อ่านต่อได้ที่บทความ : โพชฌงค์ สติปัฏฐาน ฌาน และสภาพจิตสุดท้ายของการกินมังสวิรัติ
โพชฌงค์ สติปัฏฐาน ฌาน และสภาพจิตสุดท้ายของการกินมังสวิรัติ

อ่านบทความอื่นๆ แนะนำ ติชม ทักทายกันได้ที่…

Facebook : ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์

Blog : Minimal life : Dinh Airawanwat