งานวิจัย ปัสสาวะบำบัด แพทย์วิถีธรรม

ช่วงนี้กระแส การใช้น้ำปัสสาวะมาแรง เพราะมีข่าวร้านก๋วยเตี๋ยวเอาฉี่ใส่ก๋วยเตี๋ยวแล้วได้ผลเป็นว่าลูกค้าหายปวดเมื่อย รายละเอียดเป็นอย่างไรก็คงต้องตามหาข่าวอ่านกันดู

จริงๆ ความรู้ของปัสสาวะบำบัดนั้นมีมานานกว่า 2500 ปีแล้ว ซึ่งก็ส่งต่อมาเรื่อย ๆ ผ่านยุคสมัย ในยุคนี้ผมก็ได้มารู้จักกับปัสสาวะบำบัด หรือการใช้ฉี่รักษาโรค จากแพทย์วิถีธรรมนี่แหละ ซึ่งในตอนนี้เขาก็เผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการใช้น้ำปัสสาวะรักษาโรคออกมา ก็เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มาเข้ารับการอบรม (ดู งานวิจัย การใช้ปัสสาวะในการดูแลสุขภาพ)

ในค่ายสุขภาพแพทย์วิถีธรรม บางค่ายก็จะมีการให้ความรู้เรื่องปัสสาวะบำบัดด้วย โดยหลักการแล้วการใช้ฉี่รักษาโรคนั้น ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ หาได้ง่าย ผลิตได้เอง แต่การใช้ยังไม่แพร่หลายเพราะติดตรงตัวปัสสาวะนั้น ดูจะเป็นที่น่ารังเกียจสำหรับคนทั่วไป

การที่ปัสสาวะนั้นมีกลิ่นเหม็นจนถึงเหม็นมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากอาหารที่กินเข้าไป สมัยผมกินเนื้อสัตว์นี่ยอมรับเลยว่ากลิ่นแรงมาก แต่พอปรับเปลี่ยนมากินอาหารมังสวิรัติแบบอาหารสุขภาพนั้นก็ได้พบกับปัสสาวะที่รสจืด บางครั้งกลับมีกลิ่นหอมเหมือนชาอ่อน ๆ

ประสบการณ์ส่วนตัวก็ใช้มาแล้วทุกแบบ แต่จะใช้บ่อยที่สุดก็คือการใช้ น้ำปัสสาวะรักษาแผล ซึ่งการทำงานอยู่กับสวนกับต้นไม้ มักจะเกิดแผลเล็กน้อยเป็นประจำ แล้วในพื้นที่จะมีแมลงหวี่ การใช้น้ำปัสสาวะใส่แผล จะทำให้แผลแห้งเร็ว รักษาตัวได้เร็ว เพียงแค่หยอดใส่แผลที่มีลักษณะรอยข่วน แม้จะมีเลือดไหล ก็ใช้น้ำปัสสาวะเช็ดเลือดได้ รอสักพักแผลจะแห้ง ไม่มีแมลงมาตอม ทำให้แผลสะอาดจากเชื้อโรคอันมีแมลงเป็นพาหะได้ ซึ่งผู้อ่านอาจจะพิจารณาทางเลือกอื่น เช่นยาแดง พลาสเตอร์ปิดแผล แต่ในความเห็นของผมนั้น ปัสสาวะเป็นยาที่หาได้ง่ายและไม่มีโทษ ดังนั้นก็จะเลือกที่จะใช้เป็นตัวเลือกแรก หากไม่สามารถรักษาได้ ก็จะพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ต่อไป แต่จากประสบกาณ์ที่ได้ทดลองมา ส่วนมาก ถึงประมาณ 95 % หายได้เพียงแค่ใช้น้ำปัสสาวะ จะมีกรณีแผลอักเสบ ที่เกิดเพราะแมลงตอมแผลเท่านั้นที่ไม่สามารถรักษาได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าน้ำปัสสาวะจะไม่มีประสิทธิภาพ อาจจะมีองค์ประกอบอื่นที่เป็นต้นเหตุของปัญหา เช่นจากที่เคยศึกษามา การกินอาหารฤทธิ์ร้อน ทอด เผ็ด รสจัด ในช่วงที่เป็นแผล ก็ทำให้แผลกำเริบหรือหายช้าได้เช่นกัน

ผู้สนใจสามารถศึกษาหาความรู้อื่น ๆ เกี่ยวกับปัสสาวะบำบัดได้ในงานวิจัยของสถาบันวิชชาราม ตามลิงก์ด้านล่างนี้

การวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ผลของการใช้น้ำปัสสาวะในการดูแลสุขภาพของผู้เข้ารับการอบรมสุขภาพแพทย์วิถีธรรม

blog.vijjaram.org/results-of-urine-therapy-use-to-health-care-of-buddhist-dhamma-medicine-participant/

สัตบุรุษของฉัน

ก็มีคำถามเข้ามาว่าสัตบุรุษหรือผู้รู้ธรรมในความเห็นของผมคือใคร ก็จะเล่ากันถึงที่มาที่ไปด้วยนะครับ เผื่อจะได้เห็นภาพขึ้น

ช่วงปี 56 ผมค่อนข้างอิ่มตัวกับธรรมะโลก ๆ ที่ส่วนมากพากันทำแต่สมถะ กำหนดรู้ ตั้งสติ อะไรทำนองนั้น คือผมก็ทำได้อย่างเขานั่นแหละ แต่จะให้บอกว่ามันเต็มรอบของมันไหม ผมมองว่ามันไม่ใช่ พุทธมันไม่ใช่แบบนี้ มันต้องดีกว่านี้ ไอ้การทำจิตแบบนี้มันกินพลังมากไป เสียเวลามากไป อันนี้ลัทธิอื่น ๆ ทั่วไปเขาก็ทำได้ ในจิตวิญญาณของผมมันมีคำถามมากมายกับการปฏิบัติทั่วไปในปัจจุบัน ทำได้แล้วไงต่อ? ทำได้แล้วต้องทำยังไงต่อ? มีแต่คำถาม แต่ไม่มีคำตอบที่ดีพอจะเห็นผลที่มากขึ้น

พยายามหาแล้ว แต่ก็ไม่มีคำตอบ ไม่มีคำตอบในโลกมากกว่านี้แล้ว เหมือนติดเพดานบิน มันก็คาไว้แบบนั้น แม้คนที่เขาแสดงตัวว่าเป็นผู้รู้ เขาก็ไม่สามารถอธิบายได้มากกว่านั้น คือก็มีคนอธิบาย แต่มันตื้น มันพื้น ๆ ผมต้องการรายละเอียดของการปฏิบัติมากกว่านี้ ไม่ใช่แค่ตรรกะคิดเอาว่าเป็นแบบนั้นแบบนี้

…จนไปเข้าค่ายสุขภาพแพทย์วิถีธรรม ได้ฟังอาจารย์หมอเขียวบรรยาย ซึ่งก็ประหลาดใจมาก จนคิดว่า นี่มันค่ายธรรมะนี่หว่า! แต่เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องนำเฉย ๆ แกนคือธรรมะ และธรรมะสายปัญญาด้วย จากที่ฟังในค่าย จิ๊กซอว์ต่าง ๆ ที่มันหาไม่เจอ มันก็ถูกแปะลงจนเต็ม เห็นเป็นภาพรวมของการปฏิบัติว่า แท้จริงแล้วพุทธปฏิบัติอย่างไร สมถะคืออะไร วิปัสสนาคืออะไร ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลต่างกันอย่างไร

พอเริ่มสนใจก็เริ่มนำมาฟังทบทวน รวมถึงเข้าไปซักถามปัญหาต่าง ๆ ก็ทำให้มั่นใจเลยล่ะว่า คนนี้แหละ ที่จะสอนเราให้ปฏิบัติจนพ้นทุกข์ได้ สรุป อาจารย์หมอเขียวนี่แหละ ที่ผมเห็นว่าเป็นสัตบุรุษคนแรก

พอฟังอาจารย์หมอเขียวไป เวลาท่านพูดในค่าย ท่านก็แนะนำให้รู้จักสมณะโพธิรักษ์ เราก็ฟังตาม ก็พบว่าท่านนี้แหละ เฉียบขาด รวดเร็วรุนแรงเหมือนสายฟ้า อีกทั้งยังแม่นยำยิ่งกว่าจับวาง ลองเข้าเรื่องกิเลส เรื่องธรรมะ รู้เลยว่าแม่นยำ จากการแจกแจงธรรมของท่าน เพราะเราเอามาเทียบกับสภาวะที่เราทำได้มันก็ใช่ แล้วมันก็ละเอียดกว่า เป็นลำดับกว่า ลึกซึ้งกว่า

เรียกว่าตรงจริตผมเป็นอย่างยิ่ง ผมไม่ค่อยถูกกับการแสดงธรรมช้า ๆ เนิบ ๆ เป็นรูปแบบสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเร็ว แรง พลิกไปพลิกมาแบบรู้ทันโลกีย์นี่มันสนุก น่าสนใจ กิเลสมันไม่ได้ช้าขนาดนั้น สมัยนี้กิเลสมันแรง จัดจ้าน หน้าด้าน อดทน ถ้าหาธรรมะที่แรงพอกันไม่ได้ เอามันไม่ลงหรอก

ทั้งสองท่านนี้ ผมศึกษามายาวนานพอสมควร อย่างน้อยก็ 5 ปี ก็ใช่ว่าจะเชื่อกันง่าย ๆ เพราะผมก็เปิดพระไตรปิฎกศึกษาอยู่เหมือนกัน หลักฐานมันก็ฟ้องว่าท่านกล่าวตรง และทั้งสองท่านนี้ยิ่งศึกษาตามยิ่งศรัทธา เพราะท่านจะทำให้ดู เราก็ดู พอเราดูเราก็รู้ว่าอันไหนเรายังทำไม่ได้ แต่ท่านทำได้ เราก็พยายามทำตามท่านเท่านั้นเอง แน่นอนว่ามันยาก แต่วิธีทำก็รู้กระบวนการหมดแล้ว เหลือแต่กำลังและความเพียรล่ะทีนี้

ก็เป็นสองท่านที่อยู่นอกพุทธกระแสหลัก แต่อยู่ในหลักกระแสพุทธ และพุทธเข้ม ๆ เลยด้วย อันนี้เป็นความเห็นความเข้าใจของผม ที่เกิดจากการได้พบ ได้ฟัง ได้ปฏิบัติตาม และได้ผลที่น่าพอใจไปเป็นลำดับ ๆ ไป ใครสนใจก็ลองศึกษากันดู ไม่สนใจก็ถือว่าอ่านผ่าน ๆ ไปครับ

สังคมที่ไม่กินเนื้อสัตว์ ฯลฯ

พูดในรายการที่ได้เผยแพร่ไปก่อนหน้านี้ ที่ว่าการจะเลิกกินเนื้อสัตว์ได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน ยาวนาน และผาสุก* นั้น จำเป็นต้องมีหมู่มิตรดีเป็นองค์ประกอบ

ก็มีผู้สนใจถามมาว่า จะเริ่มต้นที่ไหน ในประสบการณ์ของผมมีความเห็นว่า น่าจะเริ่มที่ค่ายสุขภาพแพทย์วิถีธรรม เพราะมีองค์ประกอบครบพร้อมในการศึกษา ยิ่งเป็นค่าย 5 วันขึ้นไปแล้ว ผู้เข้าร่วมจะได้พบกับประสบการณ์จริงด้วยตนเอง คือไม่กินเนื้อสัตว์ตั้งหลายวันก็ยังแข็งแรงมีกำลังอยู่ได้ ไม่ตาย และหลายคนเขาก็ทำได้ ไม่เห็นจะแปลกอะไร ซึ่งมันก็เป็นพลังที่ดีสำหรับผู้เริ่มต้น

หรือถ้าไม่มีเวลามากนัก ผมคิดว่าชุมชนในเครือข่ายอโศกน่าจะตอบโจทย์ได้ดี เช่นที่สันติอโศก (ถ.นวมินทร์) เขาจะมีตลาดนัดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ จริง ๆ แล้วย่านนั้นก็มีอาหารมังสวิรัติขายประจำนั่นแหละ แต่เสาร์อาทิตย์ก็จะค่อนข้างคึกคักกว่า

สิ่งที่จะได้รับจากที่นี่คืออาหารมังสวิรัติราคาถูกและอร่อยตามมาตราฐานคนไทย ซึ่งต่างจากค่ายสุขภาพแพทย์วิถีธรรมที่ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ

ร้านขายอาหารมังสวิรัติในย่านสันติอโศก มีหลายร้าน สามารถเลือกซื้อเลือกกินได้ตามที่สนใจ โดยจะมีร้านหลักของชุมชน ชื่อว่าชมรมมังสวิรัติฯ สันติอโศก อยู่ติดถนน ตอนนี้อยู่หน้าปากซอยนวมินทร์ 48

ส่วนผู้ที่สนใจหาความรู้สามารถสอบถามที่ชมรมมังสวิรัติชั้น 2 จะมีหนังสือเกี่ยวกับการไม่กินเนื้อสัตว์จำหน่ายอยู่ ซึ่งเป็นแนวทาง ความเห็น ที่หาศึกษาได้ยากในปัจจุบัน

ผมขอแนะนำเพียงแค่ 2 องค์กรนี้เท่านั้น เพราะเท่าที่ศึกษา ผมมั่นใจว่าถ้าใครได้เข้าไปคบคุ้น ศึกษา พากเพียรปฏิบัติตาม ก็จะนำความผาสุกที่ยั่งยืนมาให้

ทำดียังหวังผล

ในหลักสูตรของวิชชาราม(แพทย์วิถีธรรม) การบ้านประจำสัปดาห์ตอนนี้เขาให้ลองฝึกเล่าสภาวธรรมประยุกต์กับ “อริยสัจ ๔” ก็เลยทดลองพิมพ์เพื่อทบทวนตนเอง ขัดเกลาภาษาและการเรียบเรียง รวมทั้งแบ่งปันแนวทางที่ทำได้แก่ผู้ที่สนใจครับ ลองอ่านแล้วศึกษาวิเคราะห์วิจารณ์กันได้ครับ
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
ไปช่วยขายข้าว ในช่วงข้าวใกล้หมดสต็อก ทางกลุ่มเลยจำกัดการจำหน่ายท่านละ 1 กก. เท่านั้น เมื่อไปเป็นผู้ขายจึงได้มีโอกาสเจอกับผู้ซื้อ และเมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เมื่อนั้นจึงมีปัญหาให้จัดการ ปัญหานั้นก็ไม่มีอะไรนอกจากกิเลสของตัวเอง

ทุกข์ : เกิดความรู้สึกชังเล็กน้อย เมื่อลูกค้าท่านหนึ่ง ยืนยันที่จะซื้อมากกว่า 1 กก. ให้ได้ และเมื่อเราได้อธิบายไป ดังเช่นว่า ข้าวใกล้หมด , แบ่งปันให้คนที่ยังมาไม่ถึง ฯลฯ เขาก็ยังยืนยันจะซื้อให้ได้ โดยเริ่มต่อว่าเราว่าเรื่องมาก ทำไมไม่ขาย ไม่อยากได้เงินหรือ? อะไรทำนองนี้ แล้วเขาก็ว่าเขาจะไปหาคนมาซื้อ เราก็ตอบเขาว่าก็แล้วแต่ เพียงแต่เราจำกัดการซื้อคนละ 1 กก. เท่านั้น

สมุทัย : เหตุที่เกิดความชังนั้น เพราะเราสงสารคนที่เขาพยายามจะเอาชนะเรา พยายามจะเอาอำนาจเงินมาซื้อเรา เราไม่ได้ชังเขาเพราะเขาว่าเรา แต่เราชังการที่เราอธิบายเขาแล้ว เขาไม่พยายามทำความเข้าใจ ไม่เรียนรู้ ไม่ยอมรับ ซ้ำยังกระแทกกลับมาด้วยลีลาที่แสดงว่าฉันได้เปรียบ ฉันต้องได้ เป็นต้น สรุปคือ “ที่ชังก็เพราะอธิบายแล้วเขาไม่พร้อมจะทำความเข้าใจนั่นแหละ” สรุปไปอีกชั้นของรากให้ชัดขึ้น คือเราไม่ได้ต้องการคนมาเข้าใจ แต่เราต้องการให้คนที่เราได้อธิบายแล้วได้ทำความเข้าใจ (ต่างกันตรงที่ต้องมีตัวเราไปอธิบาย) สรุปลงไปอีกชั้นหนึ่งคือ เราต้องการทำดีแล้วให้มันเกิดผลดี คือเขาเข้าใจ สรุปลึกลงไปอีกชั้นคือเป็นอาการของความโลภ เพราะเราหลงว่าถ้าเขาเข้าใจตามที่เราพูดจึงจะดีที่สุด จึงจะสุขที่สุด

นิโรธ : กำหนดความดับในเหตุแห่งทุกข์นั้น ๆ จากข้อมูลที่ได้มาข้างต้น จะเห็นได้ว่าเรามีความต้องการความสำเร็จในการทำดี ดังนั้น ถ้าจะกำหนดจุดที่ควรทำให้ดับ ทำให้มอด ทำให้จางคลาย ก็คือทำลายในส่วนของความต้องการที่เกินความจำเป็น นั่นก็คือความต้องการในความสำเร็จเมื่อลงมือทำดี ดังนั้นสภาพที่เป็นเป้าหมายที่พึงจะหวังได้คือ การทำดีโดยไม่ต้องหวังอะไร ทำดีแค่ทำดี ส่วนผลเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แยกจากกันออกไป จะเกิดอะไรก็ได้เป็นสภาพที่อิสระต่อกัน ไม่ยึดว่าทำดีแล้วจะต้องเกิดผลดีตามที่เราหวัง ดีนั้นเกิดผลแน่ แต่มันจะไม่เป็นไปตามตัณหาของเรา มันจะเป็นไปตามกรรม

มรรค : การปฏิบัติตนให้ไปถึงผลตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ตัวเราในตอนนี้ยังมีความเห็นที่ยังผิดบิดเบี้ยวไปจากความผาสุกอยู่ คือทำดีแล้วยังจะเอาดีอยู่ ก็เลยต้องหาธรรมมาปรับความเห็นความเข้าใจให้ถูก เช่นใช้คำสอนของอาจารย์ ดังเช่นว่า “ให้แล้วคิดที่จะไม่เอาอะไรจากใครให้ได้” ดูแล้วเข้ากับการปฏิบัตินี้ดี รวมทั้งการหมั่นพิจารณาธรรมด้วยหลักไตรลักษณ์ เช่น ผลที่มันจะเกิดนี่มันไม่แน่นอน มันคาดเดาไม่ได้ หวังไม่ได้ และความอยากให้เกิดดีนี่มันเป็นทุกข์ และสุดท้ายอยากไปมันก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา เกิดดีมันก็เป็นดีของเขา เกิดร้ายมันก็ร้ายของเขา เราก็ไม่ได้อะไรอยู่ดี เราทำดีมันก็กรรมดีของเรา ส่วนผลดีร้ายที่จะเกิดขึ้นมันก็เป็นกรรมของเราและของเขาสังเคราะห์กัน ถ้าเราทำดีไม่หวังผลดี เราก็จะได้ประโยชน์จากความเบา โล่ง สบาย ส่วนถ้าเรายังทำดีแล้วเราจะเอาผลดีด้วยนี่มันหนักใจ มันไม่สบาย มันก็ไม่เป็นประโยชน์

ส่วนการคิด ก็คิดสวนทางกับความคาดหวังนั้น ๆ ในเรื่องการทำก็ขยันทำดี ขยันอธิบาย พูด บอก ให้มากขึ้น จะได้มีโอกาสกระทบมากขึ้น กระทบมากขึ้นก็ได้โอกาสในการจับอาการกิเลสมากขึ้นด้วย ที่เหลือก็ใช้สติที่มีจับอาการกิเลสให้ได้ กิเลสนี่มันจับตัวยากที่สุดแล้ว ดังนั้นก็ต้องเพิ่มกำลังของสติด้วยเมื่อตั้งใจทำดี สุดท้ายมีสมาธิเป็นผล ได้ผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในนิโรธ ได้ยั่งยืนถาวร ยาวนาน ไม่กำเริบ ไม่เวียนกลับ ไม่มีความคิดเห็นผิดใดๆ มาหักล้างได้ ฯลฯ ก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ก็จบงานกิเลสเรื่องนี้ไป

29.10.2561
ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์

ไปร่วมกิจกรรมค่ายพระไตรปิฎก ๒๒

ไปร่วมกิจกรรมค่ายพระไตรปิฎก ๒๒ ของเครือข่ายแพทย์วิถีธรรมมา เขามีกิจกรรม ทำการบ้านส่งแนวทางการวิเคราะห์อริยสัจ ๔ กับกิเลสของตัวเอง …. สมุทัย ได้ชื่อว่าเข้าใจยากที่สุด ผมเชื่อมั่นตามนั้น เพราะมันไม่ง่ายเลย ที่จะทำความเข้าใจ หรือบอกให้ใครเข้าใจ

เหตุแห่งทุกข์ ยากแท้หยั่งถึงเพียรพิจารณาให้ลึกซึ้งจึงจะเข้าใจ

การคบคุ้น สู่ความสุข/ทุกข์

สมัยก่อน ตอนที่ยังศึกษาและปฏิบัติธรรมใหม่ ๆ ผมก็ตะลอน ๆ ไปเรื่อยตามประสาคนอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ สำนักนั้นบ้าง สำนักนี้บ้าง คบคุ้นกับคนกลุ่มนั้นบ้าง กลุ่มนี้บ้าง ตามแต่โอกาสที่พอจะมี ก็เหมือนกับว่าเป็นคนเร่ร่อนละนะ ยังไม่ปักหลัก ยังไม่ลงตัว ยังไม่ชัดเจน

จนวันที่มาคบคุ้นกับกลุ่มแพทย์วิถีธรรม ก็ศึกษากันอยู่พักใหญ่ แต่ยิ่งศึกษาไปนานวัน คบคุ้นกันไปนานปี ก็ยิ่งศรัทธาขึ้น จนมาวันนี้ก็ได้ส่งใบสมัครเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเขาเป็นที่เรียบร้อย

เวลาที่ผมรู้สึกว่าชัดเจน แล้วจะไม่ค่อยเสียเวลากับสิ่งอื่น เพราะ เวลา แรงงานและทรัพยากรต่าง ๆ ของเราเนี่ย มันมีจำกัด เราต้องบริหารให้เกิดประโยชน์สูงสุด เท่าที่จะมีแรงทำได้

ถ้าวิเคราะห์ในมุมของการบริหาร ผมจำเป็นต้องเททรัพยากรให้กับหน่วยลงทุนที่ได้ผลกำไรสูงสุด เพื่อผลประโยชน์ของตัวผมเอง ผมจะไม่ไปเทเรี่ยราด ตรงนั้นที ตรงนี้ที เพราะมันทำให้ผมเสียโอกาสดี ๆ ไป

ซึ่งตรงนี้ก็เป็นความเห็นของแต่ละคนว่ากลุ่มไหนดี กิจกรรมไหนดี ก็วิเคราะห์จำแนกกันไปตามปัญญาของแต่ละคน ก็ทดลองกันไปว่าอยู่แล้วเจริญไหม? เจริญได้แค่ไหน? เจริญได้จริงหรือไม่? มั่นคงยั่งยืนหรือไม่? ถ้ามันโอเคก็ทุ่มเทลงไป

แต่ก็ใช่ว่าผมจะไม่เคยทดลองไปกิจกรรมกับกลุ่มอื่น หลังจากศึกษาจนเข้าใจทางแล้ว ทำได้บ้างแล้ว ผมก็ได้ลองไปเข้ากลุ่มนั้นบ้างกลุ่มนี้บ้าง (อีกแล้ว) ส่วนหนึ่งเพื่อศึกษาเขาว่าเขาทำอย่างเราหรือไม่ อีกส่วนหนึ่งคือไปเอื้อเขา เผื่อว่าเขาจะเห็นดีกับเรา

จนกระทั่งผมพบว่าผมไม่เจอกลุ่มไหนเลยที่คิดเห็นและปฏิบัติธรรมเหมือนสายที่ผมศึกษา ซึ่งผมก็เห็นว่าทางที่ผมศึกษาแล้วมันได้ผลจริง อ้าว… แล้วที่เขาทำอยู่มันคืออะไร? ก็พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าทางปฏิบัติถึงผลมันมีทางเดียว แล้วทางอื่นมันคืออะไร ก็คงไม่ต้องคิดให้วุ่นวายใจ ก็จบประเด็นแรกไป

ประเด็นที่สองคือไปเอื้อเขา แรกปฏิบัติธรรมได้ใหม่ ๆ มันก็มีน้ำใจไง ติดดีไง คืออยากให้เกิดดี ก็เลยไปกลุ่มนั้นกลุ่มนี้เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนกับเขา แต่ผลคือเขาก็ไม่ได้สนใจอะไรเราหรอกนะ และเราก็ไม่ได้ขยันยัดเยียดสักเท่าไหร่ แค่บอกไปทีเดียว ไม่ขยับก็เลิกแล้ว มารู้เอาตอนท้ายว่าที่ทำนี่มันเหนื่อยฟรี เอาจริง ๆ ก็ไม่ต้องไปเอื้อใครเขามากหรอก เราก็พิมพ์ก็พูดไป ใครเขาศรัทธา เขาก็มาคุยเองแหละ ไม่ต้องผลักดันหรอก

พอตอบโจทย์สองประเด็นจบ ก็เลิกเสียเวลาเลย ก็มุ่งเอาสายเดียวนี่แหละ ผมมั่นใจว่าใช่ เพราะผมปฏิบัติแล้วมีผล จิตมันเปลี่ยนแปลงได้จริง กิเลสมันลดได้จริง กิเลสมันตายได้จริง ที่สำคัญ ยิ่งคบคุ้นปฏิบัติตามนานวันผมยิ่งรู้สึกว่าตัวเองเก่งขึ้น แม่นขึ้น คมขึ้น คุมกระบี่ได้ดียิ่งขึ้น ก็เป็นเหตุผลที่ผมเลือกที่จะคบคุ้นกลุ่มที่จะทำให้ผมเจริญขึ้นเท่านั้น

พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดีเป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของการพ้นทุกข์ แต่ถ้าอยากทุกข์ก็ทำตรงข้ามกับ ไปคบมิตรชั่ว สหายกิเลสหนา สังคมสร้างปัญหา ขยันสะสมตัณหา ชวนกันเพิ่มความโลภ โกรธ หลง ก็จะได้ชีวิตทุกข์ ๆ อย่างที่เห็นกันโดยมากในทุกวันนี้

คนเมือง อยากเข้าป่า

หลายปีผ่านมาจนกระทั่งวันนี้ ดูเหมือนจะมีหลายสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในความคิดของผม และเป้าหมายในชีวิต ที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง วันนี้ดูเหมือนว่าทิศทางในชีวิตจะค่อนข้างแน่นอนแล้ว เหลือแค่ว่าจะเริ่มออกเดินทางเมื่อไหร่ เท่านั้นเอง

เชื่อไหมว่าทุกอย่างมันเริ่มต้นด้วยความบังเอิญ หรือว่าจริงๆมันไม่บังเอิญก็ไม่อาจจะทราบได้เหมือนกัน ย้อนหลังไปเมื่อปี 2009 หรือประมาณ 3 ปีครึ่ง นับจากเวลานี้

เริ่มตั้งแต่ กลางปี 2009 กับสวนลุงนิล (12-14 มิถุนายน 2009)

สวนลุงนิล
สวนลุงนิล

เป็นครั้งแรกที่ได้เดินทางไปกับทีวีบูรพา ที่สวนลุงนิล เพื่อพบกับลุงนิล เป็นเกษตรพอเพียง โดยใช้แนวคิดไร่นาสวนผสม เป็นปราชญ์ชาวบ้านท่านหนึ่งที่มีความรู้ในการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างเกื้อกูล โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากในหลวง จริงๆแล้วในครั้งนี้คนที่ต้องการเดินทางไปเรียนรู้ และเข้าไปขอร่วมเดินทางกับทีวีบูรพาก็คือคุณแม่ของผม แต่พอมาใกล้่ถึงวันเดินทางก็พบว่าคุณแม่ติดงานด่วนๆ ไปไม่ได้ เลยส่งผมไปแทน??

ผมก็ไปแบบงงๆ เพราะว่าช่วงนั้นก็ว่างอยู่แล้วและไม่ได้รับงานไว้ จึงไปแบบไม่รู้อะไรเลย เขาให้ไปก็ไป ไม่รู้จักทีวีบูรพา ไม่รู้จักสวนลุงนิล ไม่รู้จักลุงนิล อะไรก็ไม่รู้ทั้งนั้น แต่เมื่อไปก็ได้รับความรู้และประสบการณ์มากมายจนทำให้ชีวิตหลังจากกลับมาค่อยๆ เปลี่ยนมุมมองไปทีละนิดละน้อย

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ :  สวนลุงนิล

หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ ( 15-17 มิถุนายน 2012 )

หว่านข้าว

ครั้งที่สองกับทีวีบูรพาอีกครั้ง ซึ่งการไปเครือข่ายชาวนาคุณธรรม จังหวัดยโสธร นี้ถือเป็นครั้งที่สองของกิจกรรมชุดนี้ ในครั้งแรกผมเองไม่ได้ไปแต่คุณแม่ของผมไป พอมาครั้งที่สองก็เลยแนะนำให้ผมได้มารู้จัก และเรียนรู้กับกลุ่มชาวนาคุณธรรม ที่นำพาโดยทีวีบูรพา ครั้งนี้ก็ได้เรียนรู้โลกในอีกมุมหนึ่ง โลกที่หมุนช้ากว่าที่กรุงเทพฯมาก ที่ที่วันเวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้าแต่ก็มีคุณค่าในตัวของมัน ผมได้รู้จักวิถีของชาวนาคุณธรรมจากการเดินทางมาในครั้งนี้ และพบว่านี่แหละคือจุดเริ่มต้นแห่งความสมบูรณ์ในชีวิตของผมอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ

ลงแขกเกี่ยวข้าว รับลมหนาวปลายนา ( 9-11 พฤษจิกายน 2012 )

ลงแขกเกี่ยวข้าว
ลงแขกเกี่ยวข้าว

ลงแขกเกี่ยวข้าวในครั้งนี้่ เป็นการเดินทางไปที่ยโสธร เพื่อพบกับเครือข่ายชาวนาคุณธรรมกันอีกครั้ง ในครั้งนี้เป็นการไปเข้าถึงชาวนาแบบบุกบ้าน ไปนอนบ้านชาวนากันเลย ไปดูชีวิตประจำวัน ดูลูกหลาน ชุมชน สภาพแวดล้อมต่างๆ รวมถึงประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งมีนัยยะที่เป็นกุศลมากมายซ่อนเร้นอยู่อย่างไม่น่าเชื่อ หากเพียงแค่อ่านฟัง แต่ยังไม่ได้ลองก็คงจะไม่เห็นผล ผมเน้นดำเนินชีวิตตามสุภาษิตที่ว่า ร้อยรู้ไม่สู้หนึ่งทำ จึงได้เดินทางไปอีกครั้ง ครั้งนี้นับเป็นการเดินทางที่ได้เรียนรู้อย่างคุ้มค่าอีกครั้ง

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : ลงแขกเกี่ยวข้าว รับลมหนาวปลายนา

ค่ายสุขภาพ แพทย์วิถีธรรม ( 25 – 31 มกราคม 2013)

ค่ายหมอเขียว
ค่ายหมอเขียว

เป็นอีกครั้งที่ได้เดินทาง ในครั้งนี้ก็จะไปเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ กับแพทย์วิถีธรรม หรือการใช้หลักธรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาและดูแลสุขภาพให้อยู่ในจุดสมดุลคือไม่ดีและไม่ร้าย ให้อยู่กลางๆ ดูๆแล้วอาจจะง่ายแต่จริงๆ นั้นยาก เพราะว่า ยา 9 เม็ด ของหมอเขียวนั้น มีสองเม็ดสุดท้ายคือความพอเพียงและธรรมะ ซึ่งยากง่ายต่างกันไปตามแต่ละคน ซึ่งเป็นตัวที่จะทำให้สุขภาพ ชีวิต และจิตใจ ร้ายดีได้อย่างไม่น่าเชื่อ หากว่าเราควบคุมได้

เนื้อหาในค่ายส่วนใหญ่ก็จะเป็นการดูแลสุขภาพโดยหลักยา 9 เม็ด พร้อมกับให้ทำกิจกรรมต่างๆ ภายในค่ายให้เกิดการเรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพโดยมีเหล่าจิตอาสาเป็นทั้งพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาที่คอยให้ความรู้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ค่ายสุขภาพ แพทย์วิถีธรรม ( ค่ายหมอเขียว )

คนเมือง อยากเข้าป่า

มาจนถึงตอนนี้ก็สรุปกันเลยแล้วกัน การปลูกต้นไม้หากินก็รู้บ้างแล้ว การแปรรูปก็รู้บ้างแล้ว การทำนาก็รู้บ้างแล้ว การแพทย์วิถีธรรมก็รู้บ้างแล้ว ธรรมะก็รู้บ้างแล้ว โลกก็เข้าใจบ้างแล้ว

ทำให้เกิดความสงสัยว่ามีชีวิตไปทำไม แล้วทำไมต้องมาทำงานงกๆ ในเมื่อสุดท้ายก็ต้องเอาเงินไปซื้อข้าวกินอยู่ดี ปลูกข้าวกินเองเลยไม่ง่ายกว่าหรอ ทำไมชีวิตต้องทำอะไรซับซ้อนด้วย ชื่อเสียงเงินทองก็ไม่ได้อยากได้อะไรมากมายแล้ว ก็แค่พอดำรงชีพได้แค่นั้นเอง สุดท้ายก็เลยมีความคิดแบบคนเมือง อยากเข้าป่า (ไปอยู่บ้านนอก นั่นแหละ)

แน่นอนว่ามันยาก ในการปรับตัวในเบื้องต้นหลายคนคงสงสัยว่าอยู่เมืองดีอยู่แล้วไปทำไม ที่เขาถามเพราะเขายังไม่เห็นทุกข์ในเมืองใหญ่ และยังไม่เห็นความสุขที่บ้านนอก รวมถึงยังไม่เข้าใจความสงบในใจ ไม่แปลกหากอ่านแล้วไม่เข้าใจ เพราะคนที่จะเข้าใจได้ต้องมีประสบการณ์ในการเรียนรู้ผสมผสานทั้งสองด้าน และอื่นๆที่ขอละไว้ในฐานที่อาจจะเข้าใจ

เหตุที่พิมพ์บทความนี้ขึ้นมาอย่างแรกคือต้องการบันทึก สองคือหากเรื่องเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้ใครสักคนได้เจอสิ่งที่ชีวิตตัวเองต้องการอย่างแท้จริงก็คงจะดี แน่นอนว่าชีวิตของเรานั้นค้นหาสิ่งที่ต่างกันตามเหตุและปัจจัย ตามแต่กรรมและกิเลสของแต่ละคน

สวัสดี

ค่ายสุขภาพ แพทย์วิถีธรรม (ค่ายหมอเขียว)

เมื่อช่วงต้นปี 2556 ผมได้เดินทางไปค่ายสุขภาพ ของแพทย์วิถีธรรม หรือ ที่รู้จักกันในชื่อของ ค่ายหมอเขียวมาครับ ซึ่งในตอนที่แล้วผมได้เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับจากการไปค่ายหมอเขียวมาในบทความ “ชีวิตหลังจากกลับมาจากค่ายสุขภาพ แพทย์วิถีธรรม (ค่ายหมอเขียว)” ลองอ่านผลกันก่อนก็ได้ สำหรับตอนนี้คือเรื่องเล่าของชีวิตระหว่างอยู่ในค่ายหมอเขียว

ค่ายสุขภาพ แพทย์วิถีธรรม
ค่ายสุขภาพ แพทย์วิถีธรรม

ออกเดินทาง

ค่ายสุขภาพ แพทย์วิถีธรรม (ค่ายหมอเขียว)
ค่ายสุขภาพ แพทย์วิถีธรรม (ค่ายหมอเขียว)

ผมออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ราวๆ ตีสี่ ซึ่งในการเดินทางครั้งนี้มีคุณแม่ของเพื่อน ซึ่งเคยเข้าค่ายมาเป็นผู้แนะนำว่าให้ออกเช้า เพราะนอกจากจะหลีกเลี่ยงรถติดแล้วยังจะสามารถหลีกเลี่ยงคนติดได้ด้วย เราเดินทางจากลาดพร้าว ข้ามสะพานพระราม 8 ขึ้นคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ไปนครปฐม และต่อยาวไปยังกาญจนบุรี ผ่านตัวเมือง ถึงแยกแก่งเสี้ยน ไปทางวัดประดู่ จนกระทั่งถึงโรงเรียนผู้นำ ซึ่งเป็นเป้าหมายของการเดินทาง นั่นคือค่ายสุขภาพ

บ้านพักโรงเรียนผู้นำ
บ้านพักโรงเรียนผู้นำ

เหตุการณ์ต่อจากนั้นคือการลงทะเบียนเข้าบ้านพัก ฟังคำแนะนำต่างๆ ซึ่งวันแรกก็จะเว้นไว้เพราะกิจกรรมไม่ครบเอาเป็นว่าจะเล่ากิจกรรมในแต่ละวันเลยก็แล้วกัน

เช้าของวันรุ่งขึ้น

เพลงหมอเขียว (ตรึงใจมาก) และเสียงธรรมตามสายจะปลุกเราตั้งแต่ช่วง ตีสามปลายๆ ให้ลุกขึ้นมาทำกิจกรรมส่วนตัว อาบน้ำ ล้างหน้า ธุระต่างๆ แล้วแต่เวลาจะอำนวย เมื่อผ่านไปราว 40 นาที เราก็จะเดินไปยังหอประชุมเพื่อสวดมนต์  ฝึกสมถะ กดจุด โยคะ นั่งสมาธิ หรือเดินเร็ว เป็นกิจกรรมยามเช้าซึ่งหลังจากนั้นก็จะเรียกผู้เข้าร่วมค่ายไปเข้าฐานกิจกรรมตามแต่ละกลุ่มตามที่ได้จัดไว้ กิจกรรมในแต่ละวันก็จะไม่เหมือนกัน เช่นทำน้ำคลอโรฟิลล์ ทำอาหาร แช่มือแช่เท้าในน้ำสมุนไพร ฯลฯ ซึ่งก็จะต่างกันไปตามช่วงเวลาของวัน

สวดมนต์นั่งสมาธิยามเช้า
สวดมนต์นั่งสมาธิยามเช้า

ซึ่งบางกิจกรรมอาจจะทำในช่วงบ่าย สำหรับกิจกรรมเช้า ก็จะจบลงด้วยการไปทานอาหารเช้าแบบจืดๆ เป็นอาหารที่ย่อยง่ายสบายอวัยวะ ที่ดีต่อสุขภาพแน่นอน เพราะไม่ต้องทำงานหนัก หลังจากทานเข้าเช้าก็สามารถกลับไปอาบน้ำ หรือทำธุระได้

ช่วงสายของวัน

หมอเขียวสอนธรรม
หมอเขียวสอนธรรม

ตั้งแต่ช่วงสายถึงเที่ยงก็จะมีการฟังบรรยาย เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจ ซึ่งเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัยที่ต้องการรักษาสุขภาพกาย และใจตามภูมิธรรมที่ตนมี ก็สามารถศึกษาเพิ่มได้ ในช่วงเที่ยงนี้การกินจะพิเศษกว่ามื้ออื่นๆ นั่นคือให้กินน้ำคลอโรฟิลล์ ผลไม้ ส้มตำผลไม้หรือผัก ตามลำดับก่อนที่จะไปทานข้าวตามมื้อปกติ เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยโดยใช้ลำดับอาหารย่อยง่ายลงไปย่อยให้่ได้พลังงานก่อน แล้วค่อยเติมด้วยอาหารย่อยยากกว่า แต่ก็ยังง่ายอยู่ดีเมื่อเทียบกับอาหารปัจจุบันในชีวิตคนเมืองอย่างเรา

อาหารเช้า สบายท้่อง
อาหารเช้า สบายท้่อง

ในระหว่างที่ให้พักทานข้าว ก็จะมีร้านกองบุญเปิดขึ้น เป็นร้านขายผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มหมอเขียว ใครสนใจหนังสือ อุปกรณ์ อะไรก็สามารถซื้อเพิ่มเติมได้ ส่วนใครที่ทานข้าวเสร็จก็จะมานั่งรอฟังความรู้กันต่อในช่วงบ่าย

ช่วงบ่าย

เป็นช่วงที่น่านอนมากๆ ผมมักจะไปนั่งด้านนอกห้่องประชุม เพราะว่าสามารถยืดแข้งยืดขาได้ตามสบาย และยังได้ยินเสียงบรรยายจากหมอเขียวและทีมจิตอาสาได้อย่างชัดเจนอีกด้วย สำหรับในห้่องประชุมก็จะมีเก้าอี้ให้นั่ง

ที่ประจำ ข้างห้องประชุม
ที่ประจำ ข้างห้องประชุม

และพื้นที่โล่งสำหรับนอนนั่งปูเสื่อฟังก็ได้ หรือผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวลำบากก็สามารถนอนฟังอยู่ที่บ้านพักก็ได้ มีลำโพงติดไว้ได้ยินชัดเจนเหมือนกัน ในช่วงบ่ายนี่ก็จะยาวไปถึงเย็น จนถึงมื้อเย็นเลยทีเดียว

ที่นี่มื้อเย็นจะเป็นมื้อสุดท้ายของวัน ไม่มีมื้อค่ำ ดังนั้นคนที่เคยกินมื้อดึกๆอย่างผมก็ต้องกินตุนไว้เยอะหน่อย ที่ค่ายสุขภาพนั้นมีก กฏ กติกา มากมายที่เกื้อหนุนให้เราัได้รักษาสุขภาพกายและใจ ดังนั้นถ้าใครอยากสุขภาพดีก็ต้องอดทนและลองทำตามดู เพราะว่าใช้เวลาอดทนเพียงแค่ 7 วันเท่านั้นเอง

ช่วงเย็น – ค่ำ

เราก็จะทานข้าว มื้่อสุดท้ายของวันตอนเย็นประมาณ 6 โมงได้ จำไม่ได้แน่ชัดเหมือนกัน แต่กินข้าวกันแล้วก็กลับมานั่งฟังบรรยายต่ออีกเหมือนเดิม สำหรับค่ายครั้งนี้มีแต่ความรู้จนกระทั่ง 2-3 ทุ่ม ก็จะเลิกและให้ใช้เวลาที่เหลือไปกับการพักผ่อน

หมอเขียว บรรยาย
หมอเขียว บรรยาย

ชีวิตในแต่ละวันก็จะมีประมาณนี้ ซึ่งโดยลักษณะก็จะเป็นการให้ความรู้และการให้ทดลองทำในลักษณะการให้สุขภาพกายแข็งแรงเป็นหลัก แต่จริงๆจากมุมผมก็จะเห็นว่ามีการบรรยายธรรมะเยอะเหมือนกัน เพราะการทำใจให้โล่งโปร่งสบาย นั้นถือเป็นเหตุหนึ่งของสุขภาพที่ดีด้วย ดังนั้นสุขภาพกายและใจก็มักจะไปด้วยกัน ซึ่งถ้าอยากให้สุขภาพดีก็ต้องรักษาพัฒนากายและใจให้ดียิ่งๆขึ้นด้วย

กิจกรรมพิเศษในโรงเรียนผู้นำ

ภูฝาชี ขี้อ้น
ภูฝาชี ขี้อ้น

สำหรับคนแข็งแรงไม่ป่วย ก็สามารถเดินขึ้น ภูฝาชี ได้ เป็นเขาเตี้่ยๆ ที่สามารถเดินไปได้ในระยะเดินขึ้นเขา 500 เมตร ทางเดินไม่ได้ยากลำบากและชันมากมายนัก เมื่อถึงยอดก็ยอมรับเลยว่าคุ้มค่ากับความพยายาม อันน้อยนิด คือลงทุนไม่มากได้เห็นวิวสวยๆ ทุ่งนา ภูเขา ชุมชน รอบทิศนี้ คุ้มค่ามาก แถมยังได้ทดสอบร่างกายตัวเองที่ผ่านค่ายสุขภาพมาอีกด้วย ดังนั้นกิจกรรมนี้ก็เลยเป็นกิจกรรมพิเศษ สำหรับคนแรงเหลือและว่างงานได้ลองกัน ถ้าสนใจก็ติดตามชมอัลบั้มรูปภาพของผมได้

สรุป

หมอเขียวกับแฟนคลับ
หมอเขียวกับแฟนคลับ

ทั้งหมดทุกอย่างใ้ช้เวลาทั้งหมด ผมเองถือว่าเป็นคนอยู่ไม่เต็มค่าย เพราะว่าต้องกลับมาธุระที่กรุงเทพฯ วันหนึ่งก็เลยยังไม่ได้ลิ้มรสแบบเต็มๆกับเขาสักเท่าไรนัก แต่โดยรวมถือว่าพอใจในความรู้และแนวทางของค่ายสุขภาพกับแพทย์วิถีธรรมมาก หลักยา 9 เม็ด ของหมอเขียวนั้นสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไม่ยากนัก สมควรอย่างยิ่งที่จะได้มาลองเรียนรู้ เพราะเพียงแค่อ่านก็คงจะไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ดังภาษิตที่ว่า ร้อยรู้ไม่สู้หนึ่งทำ

ผมเองเป็นคนที่ไม่ได้สนใจในการดูแลสุขภาพนัก แต่หลังกลับจากค่าย ร่างกายกลับรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน จากที่เคยกินมื้อดึกก็จบลงด้วยมื้อเย็น ซึ่งก็ไปหนักในมื้อเช้าแทน ความรู้สึกในร่างกายก็ชัดขึ้น อาจเพราะเราได้รับความรู้ให้รู้จักสังเกตุมากขึ้นตามไปด้วยก็ได้

การเข้าค่ายสุขภาพนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วย คนที่ไม่ป่วยอย่างผมก็สามารถมาเข้าค่ายศึกษาหาความรู้เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและครอบครัวได้ ซึ่งเป็นการเน้นการป้องกันก่อนจะป่วย คือดูแลตัวเองก่อนป่วยดีกว่า ที่จะรอป่วยแล้วค่อยมาดูแลตัวเอง ผมเองเป็นพวกใจร้อน รอป่วยไม่ได้หรอก ต้องดูแลตัวเองก่อนป่วยสิถึงจะทันใจ เห็นไหมว่า เพียงแค่ 7 วัน คนไม่เคยสนใจสุขภาพอย่างผม กลับเปลี่ยนไปซึ่งดูเหมือนจะเปลี่ยนอย่างถาวรนะ

สำหรับค่ายหมอเขียว ถ้าใครสนใจแล้วยังอยากหาข้อมูลก็ ค้นหาในกูเกิ้ลเลย คีเวิร์ด “หมอเขียว” “ใจเพชร กล้าจน” เจอแน่นอน ลองศึกษากันดูนะครับ

สวัสดี

ชีวิตหลังจากกลับมาจากค่ายสุขภาพ แพทย์วิถีธรรม (ค่ายหมอเขียว)

แทบจะไม่เชื่อตัวเองเลยว่า จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ถึงขนาดนี้ กับเวลาเพียงแค่อาทิตย์เดียวซึ่งจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งชีวิตอย่างแน่นอน

เมื่อปลายเดือนมกราคม 2556 ที่ผ่านมา ผมได้ไปศึกษาวิธีดูแลสุขภาพ กับค่ายสุขภาพ แพทย์วิถีธรรม (ค่ายหมอเขียว) ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับที่ได้รับมาจากค่ายสุขภาพก็จะนำมาพิมพ์กันให้อ่านในภายหลัง พอดีว่ายังไม่มีเวลาเรียบเรียง เอาเป็นว่ามารู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงกันก่อนดีกว่า

การเปลี่ยนแปลงด้านอาหารการกิน

เชื่อไหมว่าความรู้สึกต้องการกินเนื้อสัตว์ ปลา หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นอกจากพืช มันเบาบางและเหมือนจะจางหายไป มันไม่ต้องการเหมือนเคย แม้ว่าจะกินไปแล้วก็ไม่รู้สึกว่าอร่อยติดใจ อาจจะเพราะผมเองให้ความหมายของการกินเพียงแค่หนึ่งอิ่มเท่านั้นเอง แต่ลึกๆในใจนั้นกลับติดใจอาหารในค่ายสุขภาพ อาหารที่หลายคนเบือนหน้าหนี เพราะว่ามันจืดและกินยากมากๆ แต่เชื่อไหมว่า ผมอยากกินอีก…

อาหารประจำวันในค่ายสุขภาพ
อาหารประจำวันในค่ายสุขภาพ

ในวันหลังๆในค่าย (1 สัปดาห์) ผมสามารถกินอาหารจืดๆในค่ายสุขภาพได้อย่างปกติ แทบจะไม่มีการปรุงรส สำหรับเนื้อสัตว์นี่ไม่มีแน่นอน มีแต่ผัก ผลไม้ ข้าว และถั่ว เป็นอาหารที่สามารถให้พลังงานที่เพียงพอได้ในแต่ละวันทีเดียวล่ะ จบเรื่องอาหารไว้เท่านี้ก่อนเพราะประโยชน์มันเยอะเดี๋ยวค่อยไว้ต่อตอนหน้า

ระบบขับถ่าย

ระบบขับถ่ายเป็นอะไรที่เกิดขึ้นทุกวัน ใครที่ระบบดำเนินไปไม่ปกติย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอารมณ์อย่างแน่นอน สำหรับช่วงเวลาที่อยู่ในค่ายหมอเขียวนั้น กินแต่ข้าว ผัก ถั่ว ผลไม้ บอกได้เลยว่าสบายท้องมาก กินไปก็ไม่ร้อนท้อง ทุกอย่างสบายหมด กลับมาบ้านกินเหมือนเดิมๆ ที่กินมาเกือบทั้งชีวิต รู้สึกอย่างชัดเจนว่าของกินในชีวิตประจำวันนี่เอง ทำให้ชีวิตและสุขภาพของเราลำบาก

นี่เป็นเพียงประโยชน์เล็กน้อยที่หยิบยกนำมากล่าว จากประสบการณ์และความรู้มากมายที่ผมได้รับมาจากค่ายสุขภาพ แำพทย์วิถีธรรม หรือค่ายหมอเขียว เพียงแค่สองเรื่องนี้ก็เพียงพอจะทำให้ชีวิตของผมเปลี่ยนแปลงไปได้แล้ว ปรับหางเสือเพียงเล็กน้อย  ปลายทางของเป้าหมายในชีวิตที่แสนจะห่างไกล ก็คงจะเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างแน่นอน

สวัสดี

ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับการลดเนื้อสัตว์ มากินผักได้ที่ Veggie kitchen , facebook (Veggie Kitchen)