หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ

ผ่านไปแล้วกับ กิจกรรม “หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ” โดยทีวีบูรพา ซึ่งในบทความนี้ผมจะมาสรุปให้ตามไปอ่านกันได้ง่ายๆว่าผมได้พิมพ์บทความใดไปบ้าง

สำหรับกิจกรรมจากเรี่ยวแรงสู่เรียวรวง ครั้งที่ 9 ตอน หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ ที่จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 15 – วันอาทิตย์ ที่ 17 มิถุนายน 2555 ณ วัดป่าสวนธรรมร่วมใจ อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

ผมเองก็ได้ไปร่วมกิจกรรมกับเขามาด้วยครับ คณะเดินทางเรามีไม่มากประมาณรถตู้สามคันครับ ซึ่งเดินทางจากกรุงเทพฯไปยังจังหวัดยโสธร ในงานนี้ผมก็ได้ไปเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์อีกเช่นเคย ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้นก็แนะนำให้อ่านได้จากบทความที่ผมได้เรียงลำดับไว้ด้านล่างเลยครับ

หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ

Introduction : ปลูกป่าลุยนา

1. บทนำสู่กิจกรรม หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ

เล่าเรื่อง

2.1 หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ เดินทางวันแรก

2.2 หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ ปลูกป่า

2.3 หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ หว่านข้าวดำนา

2.4 หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ เดินทางกลับ

 

3. หลากหลายประสบการณ์กับทริปปลูกป่าลุยนา

เก็บตกเรื่องราวระหว่างทาง

สำหรับบทความเกี่ยวกับการเดินทางในครั้งนี้ก็มีเพียงเท่านี้ครับ สำหรับเนื้อหาเพิ่มเติมผู้เยี่ยมชมสามารถติดตามไปอ่านได้ใน เครือข่ายฅนกินข้าวเกื้อกูลชาวนา ได้ครับ

หลากหลายประสบการณ์กับทริปปลูกป่าลุยนา

ผ่านไปแล้วกับกิจกรรม “หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ” โดยทีวีบูรพา ซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้นๆเพียงสามวัน แต่สิ่งที่เก็บเกี่ยวมาได้นั้น สามารถใช้ต่อไปได้ทั้งชีวิต

สำหรับเรื่องราวที่ผ่านมาเกี่ยวกับกิจกรรมในครั้งนี้ ผมคิดว่าหลายท่านก็คงจะได้อ่านจากบทความก่อนหน้านี้มาแล้ว ซึ่งสิ่งที่ผมได้รับก็จะได้เห็นด้วยรูป และผ่านตัวอักษรที่เล่ามาก่อนหน้านี้แล้ว แต่สำหรับในบทความนี้ก็จะมาเล่าประสบการณ์ที่ได้มาและฝังอยู่ลึกๆ ในส่วนหนึ่งของสมองของผม

หลากหลายประสบการณ์กับทริปปลูกป่าลุยนา

หลากหลายประสบการณ์กับทริปปลูกป่าลุยนา
หลากหลายประสบการณ์กับทริปปลูกป่าลุยนา

จากกิจกรรมที่ผมได้ไปร่วมกับเครือข่ายฅนกินข้าวเกื้อกูลชาวนา ผมได้รับประัสบการณ์ และความรู้หลายๆอย่างนะครับ อาจจะไม่ได้พิมพ์เป็นข้อๆให้อ่านกันได้สะดวกนักแต่ก็จะเล่าให้พอเข้าใจครับ

สำหรับประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับนั้น สิ่งแรกต้องบอกเลยว่าได้รับรู้ และรู้จักคำว่าคุณธรรม ในมุมมองของชาวนาคุณธรรมครับ มันมากมายเหนือความคาดหมายของผมมากว่า การเป็นชาวนาคุณธรรมจำเป็นต้องทำขนาดนี้เชียวหรอ แต่แน่นอนว่าถ้ามันคือสิ่งดีก็ควรจะทำครับ เพราะผลประโยชน์ก็จะตกกับตัวชาวนาคุณธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อมเองครับ

ผมได้เรียนรู้วิถีชาวนาคุณธรรมแบบสั้นๆ ที่พอจะพบเห็นได้ผ่านภาพที่มองผ่านตา ซึ่งอาจจะไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ดูได้ทั้งหมดครับ รวมถึงวิถีชีวิตในแต่ละวัน โดยผ่านข้าวของเครื่องใช้ตามที่ได้เห็น

สำหรับประสบการณ์การปลูกป่า การหว่านข้าว การดำนา ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่มีค่ามาก เพราะไม่เคยได้ลงมือทำเลย เป็นครั้งแรกที่ได้ลองทำซึ่งเป็นระดับเล็กๆ ขนาดเล็กๆ คิดว่าวันหนึ่งก็คงจะได้ทำจริงและวันนั้นก็จะได้พบความจริงอย่างที่สุด วันนี้ก็คงจะเป็นการทดลองเรียนรู้ไปก่อน

ได้รับรู้ถึงการส่งต่อและการขยายตัวของน้ำใจและการเกื้อกูลกันของมนุษย์ การส่งเสริมคนดี การส่งเสริมการทำสิ่งดีๆยังมีอยู่ให้เห็นตลอดสามวันที่ได้เดินทาง ไม่เหมือนข่าวสาร และสิ่งที่เรารับรู้กันในเมืองสมัยนี้ มีสักกี่เรื่องในแต่ละวันที่เป็นเรื่องดีๆบ้าง สำหรับผมที่ได้ออกเดินทางไปเรียนรู้ในครั้งนี้ บอกได้เลยว่า ผมได้รับรู้แต่สิ่งที่ดีๆเข้ามาในชีวิต

หลายๆสิ่งอีกมากมายที่ยังฝังอยู่ในสมองของผม อยู่ในความทรงจำของผม อาจจะคาดคั้นออกมาไม่ได้ในบทความนี้ แต่คิดว่าดอกผลของมันก็คงจะออกมาให้เห็นในอนาคตเป็นแน่ ถ้าวันหนึ่งมีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเกิดขึ้น ก็คงจะมีการเดินทางในครั้งนี้เป็นหนึ่งในแรงผลักดันนั้นก็เป็นได้

สวัสดี

บทนำสู่กิจกรรม หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ

ก่อนจะเข้าเรื่องราวของการเดินทางไปเรียนรู้ในกิจกรรม “หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ” โดยทีวีบูรพา ผมเองจะขอเล่าที่มาที่ไปและจุดประสงค์ของผมกันก่อนเพื่อความเข้าใจในบทความต่อจากนี้ของผม

ก่อนที่จะมีกิจกรรมในครั้งนี้ เครือข่ายฅนกินข้าวเกื้อกูลชาวนาก็ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมข้าวคุณธรรมมาหลายครั้งแล้ว ผมเองได้รับรู้ข่าวตลอดมาและตั้งแต่แรก เพราะคุณแม่ของผมได้ไปร่วมกิจกรรมด้วย ซึ่งตัวผมเองก็สนใจในกิจกรรมเหล่านั้น แต่ติดที่ต้องเรียนและยุ่งอยู่กับการเรียนในช่วงที่ผ่านมา

หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ
หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ ผมได้รับทราบข่าวสารจากทางเฟสบุคของเครือข่ายฯ และได้รับการแนะนำจากคุณแม่อีกทางหนึ่ง ซึ่งเมื่อลองดูถึงความเหมาะสมของช่วงเวลา ผมคิดว่านี่เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด เพราะอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างเรียนจบและการเริ่มโครงการงานใหม่ของผม ผมจึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม “หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ” ในครั้งนี้

จุดประสงค์ของผม…

จุดประสงค์แรกของผมคือ การเรียนรู้ต่อเนื่องจากการไป สวนลุงนิล ที่ได้ไปศึกษาเกี่ยวกับเกษตรเชิงผสมผสาน จากการที่ได้ไปสวนลุงนิล ผมได้เรียนรู้ทั้งวิถี และวิธีการ รวมถึงความรู้ต่างๆ จากลุงนิล และพี่ๆ น้าๆ ท่านอื่นที่ได้ร่วมเดินทางไปด้วยกัน ผมคิดว่าการไปร่วมกิจกรรมกับเครือข่ายฯ ในครั้งนี้จะทำให้ผมสามารถผสมความรู้ระหว่างเกษตรพอเพียงกับชาวนาคุณธรรมได้

สำหรับประเด็นที่สองคือ ไปศึกษาวิถีของชาวนาคุณธรรม ไปดูคำว่าคุณธรรม ที่ถูกนิยามในมุมมองของชาวนาคุณธรรมว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร เป็นอย่างที่ผมคิดหรือไม่ สำหรับวิถีชีวิตนั้นผมคงไม่คาดหวังจะไปดูในเวลาเพียงแค่สามวันอย่างแน่นอน สิ่งที่เราจะสังเกตุคือวิธีคิด และวิธีปฏิบัติต่อสถานการณ์ต่างๆ

สำหรับเรื่องย่อยๆที่สนใจก็คือ การดำนา การหว่านข้าว อะไรประมาณนี้ เพราะสิ่งเหล่านี้ผมเองยังไม่เคยมีประสบการณ์ และต้องการจะทดลองมานานแล้วแต่ก็ไม่มีโอกาส เผื่อไว้ว่าวันหนึ่งจะมีที่ดินของตัวเองจะได้มีประสบการณ์ และมีที่ปรึกษาในวันหนึ่งที่น่าจะมาถึงสักวัน

สำหรับเรื่องอื่นๆเดี๋ยวก็ค่อยไปเก็บเกี่ยวเอาจากสถานที่จริงอีกที สำหรับบทสรุปสำหรับการเดินทางในครั้งนี้ผมคงจะเขียนไว้ในบทความต่อไป

สวัสดี

หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ เดินทางกลับ

มาถึงวันที่สามของกิจกรรม “หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ” โดยทีวีบูรพา วันนี้เป็นวันที่เราจะต้องเดินทางกลับ แต่วันนี้เป็นวันที่นอนสบายจริงๆนะ

เมื่อคืนมีฝนตกตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนรึเปล่าก็ไม่รู้เหมือนกัน รู้แต่หลับหลังจากฝนตกได้ไม่นาน เพราะความสบายจากอากาศที่เย็นและความเหนื่อยล้า? ที่ผ่านมาในวันนี้

วันนี้ตื่นสาย เพราะเพลินไปกับการนอน
วันนี้ตื่นสาย เพราะเพลินไปกับการนอน

เช้าวันนี้ไม่มีธรรมะตามสายให้ฟังเหมือนเมื่อวาน คล้ายๆจะได้ยินหลวงพ่อท่านว่าอยากให้นอนสบาย แต่ก็มาเปิดตอนช่วงเช้าๆหลังฝนหยุดอีกที สุดท้ายก็ได้ฟังธรรมะยามเช้าอีกเช่นเคย วันนี้เป็นวันที่ตื่นสาย ผมเลยพลาดกิจกรรมยามเช้าไป ฝนตกทั้งคืนทำให้อากาศเย็นมาก

ฝนที่ตกที่ต่างจังหวัดนั้นต่างจากกรุงเทพมากนัก เพราะกรุงเทพที่บ้านผม ก่อนตกนี่จะร้อนมาก ยิ่งหลังตกนี่ยิ่งร้อนมากทีเดียว อาจจะเป็นเพราะต่างจังหวัดไม่ใช่พื้นปูน เป็นพื้นดิน เลยคลายความร้อนได้เร็วกว่า อากาศตอนเช้าเหมือนเปิดแอร์ธรรมชาติที่อุณหภูมิ 24-26 องศา อะไรประมาณนั้น ตอนเกือบจะตื่นก็แอบเผลอคิดว่าใครก็ได้ปรับอุณหภูมิแอร์ขึ้นที…

ตื่นมาก็อาบน้ำแล้วไปดูดงไผ่กันหน่อย
ตื่นมาก็อาบน้ำแล้วไปดูดงไผ่กันหน่อย

ตื่นมาก็อาบน้ำ และเดินไปสำรวจป่าไผ่ครับ ที่นี่มีไผ่ปลูกไว้หลายชนิด ดูจากลำไผ่แล้วน่าจะสามารถใช้งานได้หลากหลายต่างกันไปครับ แต่ที่แน่ๆเขาว่าไผ่สร้างไพร นั้นโตเร็วตามชื่อครับ คิดว่ามีที่ทางถ้าผมจะสร้างกำแพงธรรมชาติก็ต้องไผ่สร้างไพรนี่แหละนะ

ชาวคณะกำลังพอกหน้า แช่เท้ากันอยู่ครับ
ชาวคณะกำลังพอกหน้า แช่เท้ากันอยู่ครับ

เดินกลับมาที่ศาลา ก็จะเห็นว่าชาวคณะกำลังพอกหน้าแช่เท้ากันอยู่ครับ สำหรับการพอกหน้านี่ผมเองก็ยังไม่ได้ลองเพราะเดี๋ยวจะต้องไปทำอีกกิจกรรมหนึ่งนั่นคือไปสวดมนต์ก็เลยตัดสินใจยังไม่พอก เพราะมาช้าตื่นสายด้วยครับเลยทำให้พลาดอะไรดีๆไป

สมุนไพรที่ใช้พอกหน้า?
สมุนไพรที่ใช้พอกหน้า?

สิ่งที่ใช้พอกหน้า มีอะไรผสมอยู่ก็ไม่รู้เหมือนกัน จะเรียกสมุนไพรได้รึเปล่าก็ไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ใจคิดว่าน่าจะมีส่วนผสมของผงถ่านอยู่แน่นอนครับดำๆแบบนี้

ได้แช่เท้านิดหนึ่งก็ยังดี
ได้แช่เท้านิดหนึ่งก็ยังดี

ว่าจะไม่ลองแล้ว แต่ด้วยคำแนะนำของแม่ๆ ว่าลองหน่อยสุดท้ายก็ลองจนได้ แช่เท้ากับน้ำสมุนไพรอุ่นๆกับ ก้อนเกลือที่อยู่ใต้เท้า แม้ว่าจะเป็นเวลาไม่นานแต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีครับ เพราะผมเองใช้ชีวิตแบบไม่สนใจบำรุงสุขภาพด้วยวิธีเชิงสปาอะไรแบบนี้เลย แต่ยังไงเดี๋ยวจะหาเวลาลองนะครับ จะได้ไม่พลาดโอกาสในการสร้างประสบการณ์ที่ดี

หลังจากนี้เราก็ไปสวดมนต์พร้อมทานหาอาหารเช้ากันครับ หลวงพ่อท่านให้ศีลให้พรอีกหน่อยเราก็ลากลับกัน

กิจกรรมก่อนลา แจกของใช้ที่ระลึก
กิจกรรมก่อนลา แจกของใช้ที่ระลึก

ก่อนจะลาเราก็จะมีกิจกรรมเฉลยบัดดี้นะครับ เป็นบัดดี้ระหว่างเกลอเมืองและเกลอทุ่งครับ หรือเรียกชื่อเกมส์ว่าเกลอเสี่ยว? ละมั้ง

กิจกรรม เฉลยบัดดี้
กิจกรรม เฉลยบัดดี้

บรรยากาศก็ดูวุ่นๆ ปนขำๆ เล็กน้อยเนื่องจาก พ่อแม่ชาวนาคุณธรรมก็ไม่ค่อยคุ้นกับเกมส์บัดดี้สักเท่าไรนัก ผมเองก็เพิ่งจะได้ลองไม่กี่ปีที่ผ่านมานี่เองครับ สำหรับจับได้พ่อบุญเรือง ซึ่งวันแรกๆก็ไม่ค่อยได้เจอแกเท่าไหร่ก็เลยไม่ได้ทำอะไร ซึ่งของที่ให้ไปก็เป็นพวกต้นไม้ที่บ้านผมนั่นเอง พวกลิ้นมังกร อโลนี่ละนะ คิดอยู่นานว่าจะให้อะไรเพราะ ทีมงานไม่ได้บอกว่าจะต้องให้ใครก็เลยงัดของกลางๆเอาเป็นต้นไม้นี่แหละนะ ไม่รู้จะเหมาะรึเปล่าแต่คิดว่าคงจะดีนะ

แม่หม่อนและผม
แม่หม่อนและผม

สำหรับบัดเดอร์ ของผมคือแม่หม่อนนะครับ แม่หม่อนฝากของให้คุณแม่ของผมด้วย ชาวนาคุณธรรมหลายท่านยังฝากความคิดถึง ถึงคุณแม่ผมด้วยครับน่ารักจริงๆ

แม่บัวลี ตุ๊หล่าง และผม
แม่บัวลี ตุ๊หล่าง และผม

รูปแม่บัวลี ตุ๊หล่าง และผมเองครับ ช่วงนี้แต่ละคนก็จะถ่ายรูปเป็นที่ระลึกครับ แต่ผมขยับไปไหนไม่ได้เพราะมาตายเอาตรงเหน็บกินครับ แต่ไม่เป็นไรครับ จำได้ว่าทีมงานถ่ายไว้เยอะเดี๋ยวค่อยตามไปเก็บรูปใน อัลบั้มเครือข่ายตนกินข้าวเกื้อกูลชาวนาอีกที

เดินวนสวัสดีและอำลากัน
เดินวนสวัสดีและอำลากัน

ก่อนจะจากกันไปมีการตั้งแถวเป็นวงกลมครับ เดินวนสวัสดี ทักทาย พูดจา อำลา กัน แน่นอนว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีและครบแน่นอนครับ ผมชอบตรงจุดนี้มาก รู้สึกอบอุ่นอย่างบอกไม่ถูกจริงๆครับ ขอบคุณทุกๆท่านเลย

พ่อแม่ชาวนาคุณธรรมมายืนลากัน
พ่อแม่ชาวนาคุณธรรมมายืนลากัน

เมื่อร่ำลากันเรียบร้อยแล้วก็ทยอยขนของขึ้นรถกันครับ ขามานี่ไม่มีอะไรครับ แต่ขากลับบอกตรงๆว่าเพียบ นี่ขนาดไม่ได้เอาที่นอนที่เขาให้มานะ ยังรถแน่นขนาดนี้ นี่เหมือนเรามารับอย่างเดียวจริงๆทริปนี้

ป้ายสวนธรรมร่วมใจ (หน้าห้างดิน)
ป้ายสวนธรรมร่วมใจ (หน้าห้างดิน)

ก่อนจะกลับเขาก็มีกิจกรรมให้ไปแวะซื้อของกันที่ห้างดินกันก่อนครับ ห้างดินนี่น่าจะมาจากร้านขายสรรพสินค้าที่สร้างด้วยดินเช่นเดียวกับบ้านดินละมั้งครับ แต่หลักๆคือขายผลผลิตของชาวนาคุณธรรมและเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆครับ

แวะซื้อของกันที่ห้างดิน ก่อนเดินทางกลับ
แวะซื้อของกันที่ห้างดิน ก่อนเดินทางกลับ

สำหรับของฝากหรือของที่ผมซื้อก็สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความในตอน ” ของฝากจากยโสธร

เปิดตลาดทุกวันศุกร์
เปิดตลาดทุกวันศุกร์

ที่นี่เขามีเปิดตลาดสุขใจ ทุกวันศุกร์ด้วยครับ เขาจำหน่ายอาหารพืชผักผลไม้ไร้สารพิษ ที่มาจากผลผลิตของชาวนาคุณธรรมครับ แอบอิจฉาเกลอทุ่งที่มีผลผลิตปลอดสารพิษให้กินกันแบบราคาไม่แพง สำหรับคนในเมืองอย่างผมจริงๆก็มีทางเลือกครับ มีหลายที่ขายผักปลอดสาร แต่ก็ไม่รู้แหล่งที่มาละนะ ถ้ากินแบบรู้แหล่งที่มาก็จะสบายใจกว่า ต่อไปผมคงต้องพิจารณาอาหารมากกว่าเดิม มากกว่าเอาแค่ว่ากินให้อิ่ม

วันนี้ฝนตก
วันนี้ฝนตก

วันนี้ฝนตกทั้งวันครับ ตั้งแต่ยโสธร เรื่อยมา จริงๆก็ตกตั้งแต่เช้าแล้ว ต้นไม้ และป่ากันชนที่เราปลูกไปได้รับน้ำฝนแบบนี้ก็มีอัตราการรอดชีวิตสูงเลยครับ งานนี้เรียกได้ว่าฟ้าฝนเป็นใจครับ ตอนปลูกก็ไม่ร้อนปลูกเสร็จก็มีฝนตก อะไรจะพอดีขนาดนี้กันละนี่

ทุ่งนาวิวสวยที่ผมชอบ
ทุ่งนาวิวสวยที่ผมชอบ

นี่เป็นวิวทุ่งนาระหว่างทางครับ ถ่ายที่ปั้มระหว่างทาง ผมเองเป็นคนที่ชอบมองไปไกลๆ สุดลูกหูลูกตา ผมชอบที่กว้างๆ กว้างแบบไม่มีอะไรบังสายตา ยิ่งเป็นทุ่งนาด้วยละก็เป็นที่โปรดปรานของผมเลย มันเหมือนเราสามารถปล่อยจินตนาการไปได้ไกลมากๆ สรุปคือผมชอบทุ่งนานั่นแหละ

ทริปนี้ไม่ขาดปั้ม
ทริปนี้ไม่ขาดปั้ม

ทริปนี้เราได้แวะปั้มตลอดครับ ผมชอบมากๆ เพราะได้เดินออกมายืดเส้นยืดสายรวมถึงเข้าห้องน้ำด้วย ถ้าหิวก็แวะซื้อได้ตลอด ทั้งนี้ผมเองก็ชอบการเดินทางแบบนี้นะครับ สบายๆไม่รีบ ไม่มีข้อจำกัดใดๆ ให้ใจหมองหม่น

เดินทางกลับ
เดินทางกลับ

เรากลับมาถึงกรุงเทพช่วง 2 ทุ่มกว่าๆครับ ทริปนี้บอกตรงๆว่าไปแบบสบายมากๆ กินอิ่มนอนหลับ ไม่มีอะไรดีกว่านี้อีกแล้ว สำหรับสิ่งที่ผมได้รับมาจากทริปนี้ก็จะเว้นไว้พิมพ์ไว้ในบทความต่อไปแล้วกันนะครับ สำหรับบทความนี้คงจบเรื่องเล่าแต่เพียงเท่านี้

สวัสดี

หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ หว่านข้าวดำนา

ยังอยู่กับวันที่สองแต่เป็นช่วงบ่ายครับ ในกิจกรรม “หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ” โดยทีวีบูรพา เมื่อเช้าเราไปปลูกป่ากันชนกันมาแล้ว ช่วงบ่ายถึงเย็นนี่กิจกรรมเยอะเลยครับ

หลังจากปลูกป่ากันแล้วกิจกรรมต่อไปก็คือการไปหว่านข้าวดำนาครับ แต่ก่อนจะไปทำกิจกรรมกันต่อเราก็ต้องมากินข้าวเที่ยงกันก่อน

หลังจากปลุกป่ากันมาเสร็จก็ต้องมาต่อกันด้วยข้าวกลางวัน
หลังจากปลุกป่ากันมาเสร็จก็ต้องมาต่อกันด้วยข้าวกลางวัน

กินข้าวเที่ยงกันแล้ว แต่ผมยังอิ่มข้าวเช้าอยู่เลย ที่กินไปนี่มันอยู่ท้องนานมาก อาจจะเพราะกินข้าวเที่ยงกันเร็วไปด้วย? แต่ก็ตามเวลาที่เหมาะสมนะ อาจจะเพราะผมกินมากไปในตอนที่ปลูกป่าหรือไม่ก็ผมใช้พลังงานน้อยไปละมั้ง

เตรียมตั้งวงสนทนาเกี่ยวกับมาตราฐานเกษตรอินทรีย์เชิงคุณธรรม
เตรียมตั้งวงสนทนาเกี่ยวกับมาตราฐานเกษตรอินทรีย์เชิงคุณธรรม

ก่อนจะไปหว่านข้าวก็มีตั้งวงสนทนาแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานของข้าวคุณธรรม หรือการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์เชิงคุณธรรมกันเสียก่อน งานนี้มีอาจารย์จาก ม.เกษตร มาด้วย บังเอิญสุดๆว่าผมดันไปนั่งกลางวงอาจารย์ก็เลยได้คุยกับท่านนิดหน่อยครับ

เมล็ดข้าวพระราชทาน
เมล็ดข้าวพระราชทาน

หลังจากแลกเปลี่ยนกันเสร็จแล้วเราก็จะมาหว่านข้าวกันครับ ข้าวที่ได้มาเป็นเมล็ดข้าวพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพฯ ครั้งที่ท่านเสด็จมามูลนิธิธรรมะร่วมใจแห่งนี้ครับ

เป็นเมล็ดข้าวที่คัดสรรมาแล้ว
เป็นเมล็ดข้าวที่คัดสรรมาแล้ว

เมล็ดข้าวที่ได้มาเป็นเมล็ดข้าวที่คัดสรรมาแล้ว ผมถามแม่ชาวนาคุณธรรมที่เดินมาด้วยกันว่า เราจะคัดข้าวดีไม่ดีโดยมองจากข้าวเปลือกนี่อย่างไร สรุปได้ความว่าที่เห็นมันคล้ายๆกันเพราะเขาคัดกันมาแล้วนั่นเอง

ควายข้างทาง
ควายข้างทาง

ควายข้างทางครับ ควายเป็นสัตว์ที่หน้าตาน่ารักมาก สายตาของควายนั้นดูซื่อบื้อจริงๆ แต่ก็ทำให้รู้สึกว่ามันไม่มีพิษมีภัย เวลาที่มันหันมามองเราเป็นกลุ่มนี่เหมือนโดนอะไรดึงดูดจริงๆ อยากเข้าไปทักทายควายเหมือนกันแต่ไกลและไม่ค่อยคุ้น เอาไว้ก่อนแล้วกันนะ

ผืนนาที่เตรียมไว้ให้เกลอเมืองหว่านข้าว
ผืนนาที่เตรียมไว้ให้เกลอเมืองหว่านข้าว

ผืนนาที่ทางมูลนิธิธรรมะร่วมใจเตรียมไว้ให้ นี่คือสัมผัสแรกในชีวิตที่เดินเข้าผืนนาที่จะต้องหว่านเมล็ดข้าว ทะเลที่ว่าทรายนุ่มที่สุดที่เคยเจอมายังไม่นุ่มเท่านี้ ดินปนทรายที่นี่นุ่มเท้ามากที่สุดเป็นสัมผัสที่ยากจะจินตนาการถ้าไม่ได้มาลองดู

ก่อนจะหว่านก็ต้องมีการสาธิตกันก่อน
ก่อนจะหว่านก็ต้องมีการสาธิตกันก่อน

ก่อนจะหว่านข้าวก็ต้องสาธิตท่าเสียก่อน อย่าว่าอย่างนั้นอย่างนี้เลยนะครับ ชาวนาเขามีท่าที่ฝึกและส่งต่อกันมาหลายพันปีแล้ว เป็นเหมือนการศึกษาการเคลื่อนไหว (Motion study) ตามธรรมชาติจนออกมาเป็นท่าหว่านข้าวอย่างที่เห็นครับ เกลอเมืองที่ไม่เคยหว่านควรดูไว้เป็นตัวอย่างครับ

สำหรับการหว่านข้าวนี่ผมได้คุณแม่จรัสพร เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงช่วยแนะนำในการหว่านครับ แรกๆก็หว่านแล้วเมล็ดข้าวออกไปเป็นกระจุกๆเลยครับ หลังๆก็พอทำได้ดีขึ้น ผมสังเกตุว่าชาวนามืออาชีพนั้นมีการขยับที่น้อยแต่ได้ผลมากทีเดียว ไม่ใช่ง่ายนะครับ

จังหวะวัชพืช
จังหวะวัชพืช

หลังจากหว่านข้าวเสร็จ เราก็จะเดินมาดำนาครับ ระหว่างทางก็มีแปลงข้าวที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ยังไม่ได้ทำอะไร มีวัชพืชขึ้น ผมมองวัชพืชแล้วนึกถึงแพทเทิร์น ของกระเป๋าชื่อดังยี่ห้อหนึ่งครับ

กล้าข้าวสำหรับทำนาโยน
กล้าข้าวสำหรับทำนาโยน

มาถึงนาแล้วครับ นาส่วนหนึ่งมาชาวนากำลังดำนาอยู่ครับ สำหรับรูปที่เห็นด้านบนจะเป็นกล้าสำหรับทำนาโยนครับ โดยเขาจะเพาะข้าวไว้ในแผงเพาะชำครับ

จับก้านแล้วก็โยนไปเลย
จับก้านแล้วก็โยนไปเลย

เวลาใช้ก็ดึงออกมาจากแผงเลยครับ หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ สามารถโยนไปได้เลย โดยใช้แรงเพียงนิดหน่อยครับ หลักการเดียวกับลูกแบตที่เราตีๆกันนั่นแหละครับ ตุ้มดินจะตกลงพื้น และฝังตัวลงในนาเองโดยใช้หลักแรงโน้มถ่วงนิดหน่อย สำหรับนาโยนเราควรเตรียมน้ำในนาให้พอขลุกขลิกนะครับ ไม่สูงจนเกินไปไม่งั้นน้ำจะท่วมต้นหรือไม่ก็โยนไปแล้วกล้าก็ลอยน้ำครับ

เตรียมใจก่อนลงนา
เตรียมใจก่อนลงนา

มีคนลงไปก็เยอะแล้ว ผมเองแม้จะเป็นกางเกงขาสั้นแต่ก็ต้องใช้เวลาพับกันขึ้นอีกหน่อย ถอดรองเท้าแล้วก็ลุยลงไปเลยครับ

ยวบๆดี แต่นุ่มละมุนสุดๆ
ยวบๆดี แต่นุ่มละมุนสุดๆ

นี่ก็อีกสัมผัสแรกในชีวิตครับ หนุ่มเมืองกรุงอย่างผมนี่โอกาสจะมาเดินในนานี่หายากครับ มีโอกาสแล้วมีหรือที่ผมจะพลาด เดินลงไปก็ยุบๆยวบๆ แต่ยังมีพื้นชั้นล่างที่แน่นอยู่ครับ มีแค่ชั้นโคลนบางส่วนเท่านั้นเอง สัมผัสที่ได้นั้น แว่บแรกที่เข้ามาในหัวรู้สึกเข้าใจสัตว์โลกอย่าง วัว ควาย หมูที่ชอบนอนจมปลักกันเลยทีเดียว มันสบายมาก นี่ถ้ามีนาส่วนตัวก็คงจะหาเวลาลงไปนอนเหมือนกัน ยิ่งเป็นนาอินทรีย์ด้วยแล้ว เลิกกังวลไปได้เลยสำหรับสารเคมี

กล้าข้าวสำหรับดำนา
กล้าข้าวสำหรับดำนา

นาโยนก็เพิ่งลองมาหมาดๆคราวนี้มาลองแบบท้องถิ่นบ้าง (Original style) งานนี้ยังได้แม่จรัสพรเป็นพี่เลี้ยงอยู่เหมือนเดิมครับ แน่นอนว่าไม่ยาก แต่ไม่สมบูรณ์ ต้องลองทำเองสักแปลงหนึ่งถึงจะรู้ได้ครับ อันนี้ผมลองได้ประมาณแค่ 1-2 ตารางเมตรเท่านั้นครับ จริงๆยังไม่หายอยาก เดี๋ยวค่อยหาเวลามาลองใหม่ คราวนี้ก็พอชิมๆไปก่อน

พอกโคลนแบบธรรมชาติ
พอกโคลนแบบธรรมชาติ

เดินขึ้นมาจากนา นี่ขาพอกโคลนมาเลยครับ พอกแบบนี้เลิกกังวลเรื่องยุงไปได้เลย เสียอย่างเดียวเข้าบ้าน เข้าชานไม่ได้แค่นั้นเอง

สภาพนาที่เราไปดำนา และ ทำนาโยนกัน
สภาพนาที่เราไปดำนา และ ทำนาโยนกัน

หันกลับมามองดูสิ่งที่ผมและชาวคณะทำทิ้งไว้ ดูไม่ค่อยเป็นนาสักเท่าไหร่ครับ  แต่ก็ได้เรียนรู้กันสนุกดีเหมือนกันครับ

กลับมาที่ศาลาไทวัตร
กลับมาที่ศาลาไทวัตร

กลับมาที่ศาลาไทวัตรเพื่อทำกิจกรรมส่วนตัวก่อนที่จะได้เวลากินข้าวครับ สำหรับผมก็ต้องขออาบน้ำกันสักหน่อย เพราะอบเหงื่อมาหนึ่งวันเต็มๆ

ทานมื้อค่ำกับแมว และเพลงประกอบอาหาร
ทานมื้อค่ำกับแมว และเพลงประกอบอาหาร

ระหว่างกินข้าวก็มีแมวมาเล่นด้วย แล้วก็มีเพลงบรรเลงประกอบด้วยครับ เพลงระหว่างทานข้าวนี่บรรเลงโดยพี่โต้งครับ เป็นชาวนาคุณธรรมคนหนึ่งที่มีเรื่องราวชีวิตที่น่าสนใจทีเดียวจริงๆ แต่เสียดายเวลาคุยน้อยไปหน่อย

พิธีบายศรีสู่ขวัญ
พิธีบายศรีสู่ขวัญ

ตอนกลางคืนหน่อยก็มีพิธีบายศรีสู่ขวัญกันครับ หลังจากพิธีนี่ก็เขามีช่วงให้พูดความในใจกันนิดหน่อย ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับโอกาสพูด แต่ได้รับเร็วไปหน่อยยังคิดไม่เสร็จว่าจะพูดอะไร ก็เลยพูดเท่าที่คิดได้ละนะ เกี่ยวกับจุดประสงค์ในการมาของผม และมาในครั้งนี้แล้วได้อะไรกลับไป ซึ่งเล่าเรื่องคุณแม่ของผมที่เคยมาที่นี่และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ทุกคนฟัง

หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันไปนอน ผมเองยังคุยเรื่องเกี่ยวกับต้นไม้อีกนิดหน่อยกับพี่ทิดโส แกเป็นผู้มีความรู้ด้านต้นไม้ น่าจะเชี่ยวชาญในเรื่องเกษตรสวนผสมด้วย เจอแกได้ที่เว็บเกษตรพอเพียงและเว็บไซต์ทิดโส ซึ่งผมจะคุยเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่เป็นส่วนมาก สำหรับข้าวนี่เดี๋ยวต้องรอมีที่ทางค่อยคุยกันอีกทีเพราะ ข้าวเป็นพืชที่เก็บเกี่ยวกันเป็นรอบๆ แตกต่างจากต้นไม้ที่ลงทีเดียวแล้วยาวเลย ดังนั้นผมจึงให้ความสำคัญกับต้นไม้ก่อน

แต่คุยไม่นานต้องบอกตรงๆว่าทนพลังของ ยุงป่า ไม่ไหวก็เลยต้องลาไปอาบน้ำนอน

สวัสดี

หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ ปลูกป่า

วันที่สองของการเดินทางมาเรียนรู้ในกิจกรรม “หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ” โดยทีวีบูรพา วันนี้เป็นที่สอง เป็นวันที่เรามีเวลาเต็มวันในการทำกิจกรรมต่างๆมากมาย

วันนี้เราเริ่มต้นวันตั้งแต่ตีสี่ด้วยธรรมะตามสาย เป็นการตื่นที่น่าจะเช้าที่สุดในรอบปี ถ้าเป็นปกติก็คงจะงงตัวเองไม่รู้จะตื่นมาทำอะไรตอนตีสี่

ตื่นตั้งแต่ตี 4 ลืมตาเปิดหูมาฟังธรรมะตามสายตอนตี 4
ตื่นตั้งแต่ตี 4 ลืมตาเปิดหูมาฟังธรรมะตามสายตอนตี 4

แต่ตีสี่วันนี้พิเศษออกไปเพราะมีธรรมะให้ฟัง เสียงนุ่มละมุนหูพร้อมด้วยข้อคิดสอนใจมากมาย ทำให้ต้องตื่นมานอนฟัง เพราะไหนๆก็อยู่ในวัดแล้ว การนอนฟังธรรมนี่คงหาโอกาสได้ไม่ยากนักสำหรับคนแบบผม ก็เลยใช้โอกาสนี้ฟังจนจบเสียเลย เมื่อจบแล้วก็ไปอาบน้ำเตรียมพร้อมกิจกรรมในวันนี้

กบที่มาเกาะกางเกงที่ตากไว้
กบที่มาเกาะกางเกงที่ตากไว้
6 โมงเช้าเตรียมตัวออกเดินทาง
6 โมงเช้าเตรียมตัวออกเดินทาง

เราพยายามจะออกเดินทางไปปลูกป่าแนวกันชนกันให้เร็วที่สุดเช้าที่สุดเพราะจะหลีกเลี่ยงแดดในช่วงสายถึงเที่ยง เพราะเจ้าถิ่นเขาว่าร้อนมาถึงขนาดว่าผิวอาจจะไหม้กันได้เลยทีเดียว และแน่นอนผมก็ใส่ชุดเตรียมพร้อมออกปลูกนั่นคือเสื้อแขนยาวพร้อมหมวกแก๊ปหนึ่งใบ

อีกหนึ่งเหตุผลที่ไม่เอารสบัสมา
อีกหนึ่งเหตุผลที่ไม่เอารสบัสมา

เราเดินทางกันเข้าไปในชุมชน ไปในถนนที่นานๆทีจะมีรถผ่านสวนมาสักคัน อาจจะเพราะเป็นเวลาเช้า เราบุกเข้าไปในที่ดินที่มีการปลูกพืชสลับกับป่า หนทางนั้นเหมือนจะทำขึ้นมาใหม่ได้ไม่นานนัก และอีกหนึ่งเหตุผลที่ทางทีมงานตัดสินใจใช้รถตู้ก็เพราะว่าจะทำให้เราเดินทางมาปลูกป่าได้สะดวกยิ่งขึ้น

ผืนดินที่ไถเตรียมไว้
ผืนดินที่ไถเตรียมไว้
ดินร่วนปนทราย ดินแถวนี้เป็นแบบนี้ทั้งนั้น
ดินร่วนปนทราย ดินแถวนี้เป็นแบบนี้ทั้งนั้น

เมื่อเข้ามาด้านในพบว่าพื้นที่บางส่วนกำลังปรับปรุงอยู่ และส่วนที่ไถไปแล้วก็จะเห็นเป็นดินทรายครับ ที่นี่มีแต่ดินร่วนปนทรายโดยส่วนใหญ่จะเป็นทราย เดินไปก็นุ่มๆดี

น้ำข้าวกล้องงอกแหล่งพลังงานแรกของเช้าวันนี้
น้ำข้าวกล้องงอกแหล่งพลังงานแรกของเช้าวันนี้

น้ำข้าวกล้องงอก ต้อนรับเช้าวันใหม่ เป็นน้ำข้าวกล้องอินทรีย์ครับ ยกระดับขึ้นมาอีกนิดสบายใจขึ้นอีกหน่อย ขอบอกว่าแก้วนี้กินนานมากเพราะร้อน… แต่ก็ต้องขอเพิ่มอีกแก้วเพราะนอกจากจะอิ่มแล้วยังอร่อยอีกด้วย

โครงการศูนย์วิจัยพันธุ์พืชไทบ้าน
โครงการศูนย์วิจัยพันธุ์พืชไทบ้าน

ที่ที่เราจะมาปลูกป่ากันคือ โครงการศูนย์วิจัยพันธุ์พืชไทบ้าน ครับ ป่าที่เราปลูกนอกจากเราจะได้ป่าแล้ว เรายังจะได้ประโยชน์อีกอย่างซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักในการปลูกป่าก็คือ การใช้ป่าเป็นกันชนต้านสารเคมีจากไร่อ้อยของชาวไร่อื่นๆอีกฝั่งหนึ่งครับ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสารเคมี ในข้าวคุณธรรมที่เราได้กินกันนั่นเอง เห็นไหมครับใส่ใจคุณภาพกันตั้งแต่ระดับเตรียมการผลิตเลยทีเดียว

ใช้ชีวิตที่นี่ ไม่ต้องรีบ
ใช้ชีวิตที่นี่ ไม่ต้องรีบ

ที่นี่ ชีวิตไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ ไม่ต้องใช้เตาแก๊สที่จุดติดทันที เพียงแค่ใช้ถ่านที่สามารถจัดหาได้ในพื้นที่ ที่นี่มีไม้และเศษไม้มากพอจะเผาถ่านใช้ได้เป็นปีๆสำหรับหนึ่งครัวเรือน

หลุมแมงช้าง
หลุมแมงช้าง

เห็นหลุมแมงช้างผมก็นึกถึงตอนเด็กที่ชอบเอามดไปหย่อนหลุมแมงช้างครับ คืออยากเห็นแมงช้างก็เลยต้องใช้มดเป็นตัวล่อครับ ปัจจุปันได้ประสบการณ์พอแล้วก็เลยได้แค่คิดถึงก็พอ

ช่วยกันขนต้นไม้ไปปลูก
ช่วยกันขนต้นไม้ไปปลูก

มาถึงตอนที่เราต้องช่วยกันขนต้นไม้นะครับ ขนขึ้นรถเพื่อจะเอาไปปลูกต่ออีกมุมหนึ่งของพื้นที่ ที่เราจะปลูกป่ากันชนกันครับ

เกลอเมือง เกลอทุ่งมุ่งสู่จุดหมาย
เกลอเมือง เกลอทุ่งมุ่งสู่จุดหมาย

เราพากันเดินไปที่พื้นที่ที่จะปลูกป่ากันชนครับ ไม่ไกลเท่าไรนักแต่บรรยากาศนี่ดูคึกคักมากทีเดียว งานนี้มีเครือข่ายชาวนาจากอีกที่มาช่วยลงแรงกันด้วยครับ

มองไปทางไหนก็มีแต่ป่า
มองไปทางไหนก็มีแต่ป่า

หน้าตาของป่ากันชนน่าจะเป็นแบบนี้นะครับ ป่าจะช่วยป้องกันสารเคมีที่จะลอยมาตามลมได้ครับ ก็เหมือนกั้นฉากทำกำแพงธรรมชาติไว้ละนะ

ก่อนปลูกนี่ต้องตกลงเรื่องวิธีการให้ไปในทิศทางเดียวกันเสียก่อน
ก่อนปลูกนี่ต้องตกลงเรื่องวิธีการให้ไปในทิศทางเดียวกันเสียก่อน

ก่อนจะปลูกเราก็ต้องมีการสอนการปลูกป่าักันหน่อยนะครับ ว่าอะไรควรทำอย่างไรก่อนหลัง เพื่อการเติบโตของต้นไม้ที่ดีในอนาคตครับ

นี่ต้นมะม่วงป่าครับ ผมปลูกเอง
นี่ต้นมะม่วงป่าครับ ผมปลูกเอง

ต้นนี้น่าจะเป็นมะม่วงป่าครับ ต้นนี้ผมปลูกแต่ถ่ายตอนยังไม่ได้ยึดต้นไม้กับหลัก หลังจากปลูกเราก็จะปักหลักใกล้ๆแล้วหยิบฟางหรือเศษหญ้าข้างๆมาจับมัดต้นไม้กับหลักเพื่อยึดไว้ป้องกันลมพัดต้นหักนะครับ

สำหรับต้นไม้ที่ปลูกก็มีหลายชนิดเลยเช่น ยางนา ตะเคียน มะม่วงป่า สะเดาป่า ข่อย ขนุน อะไรก็ไม่รู้อีกเยอะแยะครับ จำไม่ได้จริงๆ

อากาศมันเป็นใจปลูกได้เยอะกว่าที่คิดเลยต้องไถที่เพิ่ม
อากาศมันเป็นใจปลูกได้เยอะกว่าที่คิดเลยต้องไถที่เพิ่ม

ด้วยความที่อากาศดี ไม่มีแดดเลย ทำให้เราปลูกกันได้ไวกว่าที่คาดกันเอาไว้ จึงได้มีการถางและไถดินเพื่อให้เหมาะกับการปลูกเพิ่มมากขึ้นครับ

ช่วยกันวัด ช่วยกันขุด ช่วยกันปลูก แต่ใครรดน้ำ?
ช่วยกันวัด ช่วยกันขุด ช่วยกันปลูก แต่ใครรดน้ำ?

ก็ช่วยกันปลูกกันไปตามมุมที่ชอบครับ ใครชอบมุมไหนก็ปลูกมุมนั้น ชอบต้นไหนก็ปลูกต้นนั้น โดยมีข้อกำหนดนิดหน่อยคือยางนา ต้องเว้นห่างกัน 2 ช่วงต้นที่ปลูก ก็ประมาณ 6 เมตรนะครับ

แหล่งพลังงานที่สองของวัน ข้าวต้มฟักทอง
แหล่งพลังงานที่สองของวัน ข้าวต้มฟักทอง

หลังจากปลูกต้นไม้กันไม่นานก็มีรถเสบียงยามเช้ามาถึงที่ครับ เรามีข้าวต้มเป็นมื้อเช้าในวันนี้ เป็นข้าวต้มฟักทองเสียด้วยงานนี้นอกจากได้ปลูกต้นไม้แล้วยังได้กินของดีอีกด้วยครับ

อร่อยกลางทุ่งเลยทีเดียว
อร่อยกลางทุ่งเลยทีเดียว

ข้าวต้มนี่กินกันกลางทุ่งได้อารมณ์ไปอีกแบบครับ ชีวิตผมนั่งร้านอาหารมาก็เยอะแต่ไม่ค่อยประทับใจ เอาเป็นว่ามันชินแล้วกัน พอมาเจอความแตกต่างแบบนี้เลยต้องขอเติมข้าวต้มอีกชามเพื่อมาดื่มด่ำกับบรรยากาศข้าวต้มกลางทุ่งให้ยาวนานขึ้นครับ

ต่อจากข้าวต้มเขาก็มีกระเพาะปลามาซ้ำกันด้วยนะครับ เป็นกระเพาะปลาเจ ใช้พวกโปรตีนเกษตรน่ะครับ อร่อยดีทีเดียว แต่กินได้ไม่เยอะเพราะอิ่มข้าวต้ม…

วัดแล้วขอนไม้อยู่ในเส้นทางปลูกก็ย้ายขอนไม้กัน
วัดแล้วขอนไม้อยู่ในเส้นทางปลูกก็ย้ายขอนไม้กัน

เนื่องจากเราใช้การวัดพื้นที่ก่อนปลูกครับ ดังนั้นอะไรที่ขวางทางเรา เราก็จะพยายามย้ายมันออกไปครับ ท่อนไม้ท่อนนี้วางอยู่และอยู่ในเส้นทางปลูกต้นไม้ของเราครับ ดังนั้นก็เลยต้องช่วยกันย้าย ตอนแรกเราใช้แรงคนดันครับมันไม่ขยับเลยผมก็ว่า ผมออกแรงสุดแล้วนะ มันยังไม่ขยับเลย สรุปต้องใช้ไม้แถวนั้นใช้วิธีคาดงัดเอาครับถึงจะขยับได้

ปลูกกันจนแทบไม่มีที่จะปลูก
ปลูกกันจนแทบไม่มีที่จะปลูก

ไล่ปลูกกันจนสุดขอบที่มีครับ เหมือนตอนนี้ไฟมันติดแล้วการปลูกเลยดำเนินต่อไปแม้ว่าจะหมดเวลาที่กำหนดไว้แล้วเล็กน้อย สุดท้ายก็ได้ปลูกกันจนหมดครับ

ปลูกเสร็จเราก็กลับ อีก 5 ปีมาดูกัน
ปลูกเสร็จเราก็กลับ อีก 5 ปีมาดูกัน

ปลูกกันจนเสร็จก็ทยอยเดินกลับกันไปหลังจากถ่ายรูปหมู่กันเป็นที่ระลึกครับ งานนี้ต้องดูกันยาวๆครับเพราะการปลูกป่านี่ต้องหวังผลระยะนานมากๆกันเลยทีเดียว สำหรับป่านี้ผมเองก็คิดอยู่เหมือนกันว่าอีกสัก 5 ปีหน้าตามันจะออกมาเป็นอย่างไร ก็คงต้องติดตามดูกันต่อไป สรุปวันนี้จบกิจกรรมครึ่งวันเช้าด้วยการปลูกป่ากันชนเพียงเท่านี้ครับ

สวัสดี

หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ เดินทางวันแรก

เริ่มต้นอีกครั้งกับทริปเดินทางไกลกับ กิจกรรม “หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ” โดยทีวีบูรพา ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่ผมได้เดินทางไปกับทีมงานทีวีบูรพา

เราเริ่มต้นวันด้วยการตื่นเช้าๆพอประมาณเพราะว่าบ้านอยู่ใกล้ทีวีบูรพา ก็เลยไม่ได้เร่งรีบเท่าไรนัก ของทุกอย่างถูกจัดไว้ลงกระเป๋าหมดแล้วเตรียมพร้อมที่จะเดินทางออกไปเรียนรู้วิถีชาวนาคุณธรรมอย่างที่ตั้งใจไว้

เริ่มต้นการเดินทางที่ทีวีบูรพา
เริ่มต้นการเดินทางที่ทีวีบูรพา

เวลาที่ผมมานั้นไม่เร็วไม่ช้า แค่มีคนมาก่อนแล้วประมาณ 70% เท่านั้นเอง ไปถึงก็มีทีมงานเข้ามาทักทาย และมีบทสนทนาเล็กน้่อยระหว่างคุณแม่ของผมที่มาส่งพร้อมกับมาทักทายเพื่อนสมาชิกด้วย (แม่ผมเป็นรุ่นแรกที่ไป)

ลงทะเบียนและทานของว่าง
ลงทะเบียนและทานของว่าง

หลังจากลงทะเบียนก็ได้รับเสื้อมา แต่ไม่ได้เสื้อเหมือนชาวบ้านเขาเพราะไม่มีขนาดที่เหมาะกับตัว ซึ่งถ้าจะทำตัวให้เหมาะกับเสื้อคงยากเลยได้เสื้ออีกลายติดมา กินขนมและดื่มกาแฟรอเพื่อนสมาชิกมาครบ ระหว่างนี้ก็มีสมาชิกที่เหลือทยอยกันมา สมาชิกรุ่นเก่าก็ทักทายกัน ส่วนผมก็สังเกตุสิ่งรอบตัวไปตามนิสัย

แวะทานอาหารเช้าริมทาง
แวะทานอาหารเช้าริมทาง

เราแวะพักทานข้าวเช้าที่ร้านข้าวสามสี อยู่ตรงไหนก็ไม่รู้เหมือนกันรู้แค่ระหว่างทางเพราะเวลาไม่ได้ขับรถเองนี่มันเพลินมากๆแอบหลับตาไปบ่อยๆ ร้านข้าวสามสีก็ตกแต่งร้านสบายๆสวยดี และที่สวยที่สุดคือดอกไม้ที่บานอยู่ท่ามกลางบรรยากาศง่วงๆยามเช้าของผม

มุ่งสู่ ลาวใต้
มุ่งสู่ ลาวใต้

นั่งรถมาเรื่อยๆ มาถึงไม่รู้เมื่อไหร่ ประมาณบ่ายๆ เราถึงปั้มที่มีชื่อว่า บี อาร์ วาย ปิโตรเลียมอะไรนี่แหละ มีป้ายแสดงแผนที่ให้ดูอยู่ก็มายืนมอง ผมเองไม่เคยไปไหนไกลเกินโคราชเลยเท่าที่จำความได้ แต่ที่จำความไม่ได้จริงๆคือผมไปมาทั่วทิศของไทยแล้ว แค่จำไม่ได้แค่นั้นเอง…

เป้าหมาย อ.ป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
เป้าหมาย อ.ป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

เป้าหมายของเราอยู่ที่ อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร จากกำหนดการก็จะเห็นว่าใช้เวลาเดินทางร่วมวันเลยครับ ไกลมากๆ จากที่คาดการณ์ไว้น่าจะถึงตอนเย็นๆครับ

วิถีชีวิตระหว่างทาง
วิถีชีวิตระหว่างทาง

ระหว่างทางก็มีสิ่งที่ชาวคณะได้ฮือฮา นั่นคือความเสี่ยงบนรถของเด็กน้่อย ผมมองไปก็นึกถึงรถไฟในอินเดียนะ ภาพประมาณนี้เลย ส่วนทำไมอะไรที่ทำให้เด็กๆขึ้นไปนั่งด้านบนโดยไม่กลัวก็คงจะเป็นความเคยชิน ส่วนเหตุที่ต้องเคยชินนั้นมาจากอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน รู้แค่ว่าจริงๆแล้วมันก็คงจะปลอดภัยในระดับหนึ่งละนะไม่งั้นคงมีข่าวหรือไม่ก็เลิกนั่งกันไปนานแล้ว

ถึงที่หมาย ทักทายกันก่อน
ถึงที่หมาย ทักทายกันก่อน

เมื่อมาถึงก็เข้ามานั่งพักยืดเส้นยืดสายกันก่อน มีการทักทายจากชาวนาคุณธรรมที่มาต้อนรับกันด้วยอารมณ์ขำขัน ช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อที่นั่งรถมานานได้ดีทีเดียว

น้ำหญ้าม้า หอมหวานด้วยน้ำผึ้งและมะนาว
น้ำหญ้าม้า หอมหวานด้วยน้ำผึ้งและมะนาว

น้ำดื่มต้อนรับ หรือ Welcome drink! หมายถึงมันจะมีเฉพาะต้อนรับใช่ไหม? จริงๆผมอยากดื่มทุกเวลาเลยนะ เพราะเป็นน้ำหญ้าม้าผสมด้วยน้ำผึ้งและมะนาว หรือผสมอื่นๆอะไรก็ไม่ทราบ แต่มันคือน้ำสมุนไพรที่ดื่มง่ายคล่องคอจนอยากจะขอต่ออีกขวดทีเดียว

ที่พักของผม ธนาคารเมล็ดพันธุ์
ที่พักของผม ธนาคารเมล็ดพันธุ์

บ้านพักของเหล่าชายหนุ่มนะครับ จะอยู่ที่ธนาคารเมล็ดพันธุ์ครับเขาปัดกวาดให้อย่างสะอาด และเตรียมที่นอน หมอน ผ้าห่มไว้ให้อย่างดีเลย สรุปถุงนอนที่ผมเอามาก็เลยมาเสริมเป็นหมอนอีกใบหนึ่งไปเลยครับสบายดี หลังจากเราเก็บของแล้วก็จะมีกิจกรรมตอนเย็นอีกนิดหน่อย

เห็นโล่งๆแบบนี้ นี่วัดป่านะ ดูจากทางเข้ามา
เห็นโล่งๆแบบนี้ นี่วัดป่านะ ดูจากทางเข้ามา

ระหว่างเดินเล่น เห็นเป็นที่โล่งๆแบบที่ถ่ายมานี่ จริงๆเราอยู่ในวัดป่านะครับ จากถนนใหญ่เข้ามามีแต่ป่าครับ มาโล่งเอาข้างในนี่แหละ กลิ่นดินกลิ่นหอมไม้ป่าลอยเต็มบรรยากาศทีเดียว

ศาลาไทวัตรลานกิจกรรมหลัก
ศาลาไทวัตรลานกิจกรรมหลัก

ลานกิจกรรมหลักของเราคือใต้ศาลาไทวัตรครับ ระหว่างที่เก็บของอยู่ใครจะเดินไปดูอะไรก็ตามสะดวกครับ ผมก็เลยเดินตามชาวนาคุณธรรมท่านหนึ่งไปชมสวนครับ สำหรับสวนที่พาไปชมก็มีพืชผักหลายชนิดครับ ส่วนใหญ่ก็เป็นผักครับ เพราะผักสามารถเด็ดมาประกอบอาหารได้บ่อยๆ ไม่เหมือนผลไม้ที่มาเป็นชุดๆกินไม่ค่อยทัน

ต้นกล้วยระหว่างเดินชมสวน
ต้นกล้วยระหว่างเดินชมสวน

ต้นกล้วยที่เห็นในรูปนี้ ต้นจริงต้องบอกว่าทรงของมันสวยมาก ถ้าจะให้เทียบก็คงเหมือนพิน โบลิ่งละนะครับ อีกอย่างต้นมันใหญ่มากทีเดียว ตอนที่ไปนี่ไม่เห็นลูกครับ แล้วก็ไม่รู้ว่ากล้วยอะไรด้วย ทิ้งไว้เป็นปริศนาต้นไม้ต่อไป

อาหารเย็น ไม่บอกก็ไม่รู้ว่าทั้งหมดคือมังสวิรัติ
อาหารเย็น ไม่บอกก็ไม่รู้ว่าทั้งหมดคือมังสวิรัติ

มื้อเย็นครับ อาหารทั้งหมดเป็นมังสวิรัติละครับ และทั้งทริปนี้ก็เป็นมังสวิรัติทั้งหมดด้วย บอกตรงๆว่าเกิดมาไม่เคยกินเลย แม้แต่กินเจก็ไม่เคยครับ(หรือเคยก็จำไม่ได้) มาคราวนี้ละได้ 3 วันก็ดีนะครับ กินก็ได้แรงแถมยังรู้สึกดีต่อร่างกายด้วย มีเห็ด มีผัก และข้าวอินทรีย์ครับ อร่อยทุกมื้อเลยทีเดียว

ต้องพิจารณาอาหารกันก่อนนะครับ
ต้องพิจารณาอาหารกันก่อนนะครับ

ก่อนจะทานอาหารเขาก็จะให้พิจารณาอาหารกันก่อนนะครับ เป็นบทพิจารณาอาหาร ซึ่งมีเนื้อความดังนี้

บทพิจารณาอาหาร

กินข้าวเคี้ยวทุกคำ เราจดจำกินเพื่อชาติ

อย่ากินอย่างเป็นทาส เหงื่อทุกหยาดของชาวนา

จงกินเพื่อเป็นไท กินด้วยใจที่รู้ค่า

บรรพบุรุษสร้างสืบมา ร่วมรักษาคุณความดี

ขยันงานการสร้างสรรค์ มีสัมพันธ์ฉันท์น้องพี่

สมัครสมานสามัคคี อุทิศพลีเพื่อชาติไทย

ขอขอบพระคุณชาวนาที่ปลูกข้าวให้พวกเรารับประทาน

และขอขอบพระคุณพ่อครัวแม่ครัว

ที่ทำอาหารให้พวกเรารับประทานในมื้อนี้

พวกเราจะทำแต่ความดีตอบแทนพระคุณ…สาธุ

หลังจากทานอาหารค่ำกันแล้ว เราก็จะไปสวดมนต์กันนะครับ ซึ่งตอนสวดเขาให้นั่งท่าเทพบุตร สุดท้ายนั่งไม่ค่อยรอดเนื่องจากไม่ค่อยได้นั่งทำให้เท้าไม่แข็งแรงรับน้ำหนักไม่ไหว ต้องกลับไปนั่งพับเพียบท่าที่เหมาะกับคนน้ำหนักเยอะเหมือนเดิมครับ จากวันนี้พบว่าต้องหาวิธีใหม่ในการนั่งท่าเทพบุตรซะแล้ว…ดูเป็นเรื่องเล็กที่น่าหนักใจจริงๆ

จบคืนนี้นอนกันแบบกึ่งธรรมชาติ
จบคืนนี้นอนกันแบบกึ่งธรรมชาติ

หลังจากหลวงพ่อนำสวดมนต์แล้วทางทีมงานก็ให้แนะนำตัวกันนิดหน่อย ก่อนจะแยกย้ายกลับไปนอนกันครับ ก่อนนอนก็แยกกันไปอาบน้ำกันตามสะดวกใครชอบห้องน้ำห้องไหนก็เข้าห้องนั้น ห้องน้ำที่นี่มีที่ให้นั่งพักด้วย แต่ไม่ได้ถ่ายรูปมา ประมาณว่าอาบน้ำเหนื่อยๆก็นั่งพักเสียก่อนประมาณนั้น

ทริปนี้เรานอนกันแบบกึ่งธรรมชาติครับ คือใช้ความเย็นจากบรรยากาศรอบๆ เท่านั้นบอกแล้วดูเหมือนร้อน แต่เอาเข้าจริงไม่นานผมก็หลับก่อนชาวบ้านเขาเลยครับ

สวัสดี

วิถีแห่งชาวนาคุณธรรม

หลังจากที่ได้ไปศึกษาเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวนาคุณธรรมใน กิจกรรม “หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ” โดยทีวีบูรพา แล้วกลับมาก็อยากจะมาเล่าให้อ่านกันว่าผมได้พบเจออะไรมาบ้าง

วิถีแห่งชาวนาคุณธรรม

วิถีแห่งชาวนาคุณธรรม
วิถีแห่งชาวนาคุณธรรม

ชาวนาคุณธรรมนั้นต่างจากชาวนาทั่วไปอย่างไร?

คำถามนี้อาจจะดูงงๆและไม่น่าสนใจ แต่ถ้าเราลองปรับตัวโจทย์ดูสักนิดอาจจะทำให้เห็นภาพใหญ่ได้มากขึ้นว่า ความแตกต่างระหว่างชาวนาคุณธรรมและชาวนาทั่วไปนั้นมีผลอย่างไรต่อสังคมและโลกบ้าง

ตัวอย่างเช่น…

บริษัท A ทำการผลิตอาหารทั้งส่งออกและขายในประเทศ แต่กรรมวิธีการผลิตนั้นไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปล่อยสารเคมีลงสู่ชุมชน พนักงานไม่ได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรม รายได้ทั้งหมดหายไปกับนักลงทุน

บริษัท B ทำการผลิตอาหารทั้งส่งออกและขายในประเทศ มีกรรมวิธีที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สารเคมี ใส่ใจและสร้างศีลธรรมให้กับพนักงาน ครอบครัว และชุมชนรอบข้าง รายได้ทั้งหมดนำมากระจายสู่ชุมชน

เมื่อยกตัวอย่างแบบนี้อาจจะเห็นภาพที่ใหญ่ขึ้น แต่เราจะกลับมาที่ภาพเล็กกันอีกครั้ง

บริษัท A หรือชาวนาเคมี ทำนาโดยใช้สารเคมีเป็นพิษทั้งคนทำและคนกิน รายได้ไปตกอยู่กับพ่อค้าปุ๋ย โรงสี พ่อค้าคนกลาง ฯลฯ ชีวิตเครียด จน กินเหล้า ติดพนันหวังพึ่งดวง

บริษัท B หรือชาวนาคุณธรรม ทำนาโดยใช้เกษตรอินทรีย์ มีวิถีแห่งชาวนาคุณธรรม รับผิดชอบสังคมไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม มีต้นทุนการขายที่สูงกว่า แต่รายได้ทั้งหมดกลับมาจุนเจือตัวชาวนาและสังคมรอบๆ

เมื่อเห็นตัวอย่างดังนี้ก็จะสามารถอธิบายได้ง่ายขึ้นว่าวิถีแห่งชาวนาคุณธรรมต่างจากชาวนาเคมี หรือชาวนาอินทรีย์อย่างไร ซึ่งเมื่อเรามองที่ปลายทาง ผลสุดท้ายเราก็จะพบว่าชาวนาที่ดำเนินวิถีที่ต่างกันย่อมได้รับผลต่างกัน

ซึ่งแล้วแต่เราจะเลือกว่าจะสนับสนุนเส้นทางไหน สังคมจะไปในทิศทางไหนนั้นน้อยคนนักจะเลือกด้วยตัวเองได้ ชาวนาก็เหมือนกัน บางครั้งหรือหลายครั้งทำไปเพราะความจำเป็น ทำไปเพราะไม่รุ้ ทำไปเพราะต้องดำรงอยู่ ทางเลือกมีไม่มากนัก หากสังคมช่วยกันชี้ช่องทางและเอื้อเฟื้อแก่ชาวนาที่ยังหลงทาง ก็อาจจะทำให้ชาวนาเคมีเปลี่ยนมามุ่งสู่วิถีแห่งชาวนาคุณธรรมได้

เมื่อมีชาวนาคุณธรรมมาก สังคมรอบๆก็จะมีคุณธรรมเกิดขึ้นตามหลักการแพร่ของคนดี คนดีก็จะชวนกันให้ทำสิ่งดีๆ ให้มากขึ้น สังคมก็จะดีขึ้นตามไปเองโดยอัตโนมัติ อ่านมาจนถึงขนาดนี้คุณคิดว่าผมมีเหตุผลมากพอที่จะสนับสนุนชาวนาคุณธรรมหรือยัง?

สวัสดี

ผลิตผลเกษตรอินทรีย์ มูลนิธิธรรมะร่วมใจ

จากการไปเรียนรู้ที่ยโสธร ที่มูลนิธิธรรมะร่วมใจ ในกิจกรรม “หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ” โดยทีวีบูรพา ก็ได้พบกับผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ส่วนหนึ่งครับ

เกษตรอินทรีย์นั้นจะไม่ใช้สารเคมีเลย ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง สารเร่งต่างๆ จากการสังเคราะห์ทางเคมีหรือแม้แต่ใช้พืชที่ตัดแต่งพันธุ์กรรม ทำให้เกษตรอินทรีย์นั้นเติบโตโดยพื้นฐานทางธรรมชาติทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็จะใช้วัสดุและนวัตกรรมทางธรรมชาติแทนครับ เช่นน้ำหมัก ฮอโมนพืชต่างๆที่มีอยู่ในธรรมชาติ นั่นคือเอาธรรมชาติ ส่งเสริมธรรมชาติอีกที สรุปคือไม่ใช่สิ่งที่มีพิษมีภัยแน่นอนครับ

ทีนี้เกษตรกรหลายคนอาจจะคิดว่ามันได้ผลผลิตน้อยไม่พอขาย แต่จากที่ผมได้ไปศึกษาจากสวนลุงนิล จนถึงกิจกรรมในตอนนี้ผมก็ยังคิดว่ามันพอกินนะ สำหรับการพอขายเนี่ยมันแล้วแต่การวางแผนทางการค้า แต่ถ้าพอกินนี่มีแน่นอน เพราะพื้นที่ไม่มาก แต่ดูเหมือนจะให้ผลผลิตที่ดีทีเดียวเชียวล่ะ ลองมาดูกันนะ

ผลิตผลเกษตรอินทรีย์ มูลนิธิธรรมะร่วมใจ

มะเขือ
มะเขือ

มะเขือนี่อาจจะดูธรรมดาและพบเห็นได้ทั่วไปนะครับ ผลสุกนี่ถ้าเราเอามากินไม่ทันสุกจริงๆก็เก็บไปทำน้ำหมักชีวภาพได้ครับ เอามารดต้นไม้อีกทีงามนักล่ะ

บวบ
บวบ

บวบที่ไม่โดนปนเปื้อนด้วยสารเคมี สำคัญนะครับ บวบที่เราเอาไปขัดตัวขัดผิว หากมีการปนเปื้อนด้วยสารเคมีแล้วจะดีต่อผิวอันบอบบางของเราจริงหรือ หลายคนอาจจะบอกว่าเราแกะเปลือกใช้แต่ไส้ในของมัน แต่สารเคมีที่เกษตรเคมีใช้ส่วนใหญ่เป็นพวกดูดซึมครับ หมายความว่ามันก็ไปปนอยู่ในที่เราถูตัวนั่นแหละ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้โดนฉีดโดยตรงแต่ถ้าในพื้นที่มีการฉีดพ่นก็มีความเสี่ยงอยู่ครับ ดังนั้นถ้าไม่อยากเสี่ยงก็ควรจะมั่นใจกับแหล่งที่มาด้วยนะ

ไผ่ปลูกไว้ ได้ใช้ไม้ ได้กินหน่อ ได้รักษาพันธุ์ไผ่
ไผ่ปลูกไว้ ได้ใช้ไม้ ได้กินหน่อ ได้รักษาพันธุ์ไผ่

ที่มูลนิธิธรรมะร่วมใจนี่เขาปลูกไผ่ไว้หลายชนิดเลยครับ มีทั้งไผ่ใช้ไม้ ไผ่กินหน่อมากมาย มีเยอะขนาดนี้วันไหนอยากกินก็เดินไปหาๆดูก็น่าจะพบหน่อไม้ อิ่มสบายๆ แค่เดินรอบดงไผ่

มะละกอในแปลงสาธิตลูกดกและมีขนาดใหญ่
มะละกอในแปลงสาธิตลูกดกและมีขนาดใหญ่

มะละกอในแปลงสาธิตใหญ่ขนาดที่มือผมยังจับลำบาก ที่เห็นนี่ถือว่ายังเล็กนะครับ เมื่อเทียบกับมะละกอในสวนด้านหลังซึ่งไม่ได้ถ่่ายมาเพราะมัวแต่ไปถ่ายอย่างอื่น จะเห็นว่าผลผลิตที่ได้นั้นมีคุณภาพและความปลอดภัยมากทีเดียว

กล้วยพันธุ์พระราชทาน
กล้วยพันธุ์พระราชทาน

กล้วยพันธุ์พระราชทานครับ นี่เป็นกล้วยน้ำว้าลูกใหญ่ที่มีเปลือกบางครับ ซึ่งลองกินแล้วก็พบว่าหวานแต่พอดีครับ แต่ปัญหาคือกินลูกเดียวก็จะอิ่มแล้วครับ เลยไม่ได้ชิมลูกที่สองอยู่ คุณภาพคับหวีอีกเหมือนเดิมครับ

แตงโมอินทรีย์ ลูกเล็กหน่อยแต่อร่อยแบบมั่นใจ
แตงโมอินทรีย์ ลูกเล็กหน่อยแต่อร่อยแบบมั่นใจ

มาจบกันที่แตงโมครับ เคยได้ยินว่าแตงโมที่นี่ไม่ได้รดน้ำครับ ให้กินแต่น้ำค้างเอา ซึ่งนี่อาจจะไม่ใช่ขนาดของแตงโมที่ผมว่าก็ได้ เพราะที่เคยได้มามันใหญ่กว่านี้เยอะเลยครับ แต่ขนาดนี้ก็น่ารักดีครับ กินเป็นมื้อๆได้พอดีไม่ใหญ่มากขนาดพอเป็นของหวานประดับมื้อได้ ที่สำคัญปลอดภัยกับชีวิตครับ

นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์นะครับ จริงๆแล้วก็มีอีกมากมายที่งอกงามในดินร่วนปนทรายผ่านกรรมวิธีบำรุงดินแบบเกษตรอินทรีย์ให้โตและงอกงามอย่างยั่งยืนครับ

สวัสดี

ของฝากจากยโสธร

หลังจากไปร่วมกิจกรรม “หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ” โดยทีวีบูรพา ที่จังหวัดยโสธร ก็ได้ของฝากมาด้วยมากมายครับ

มีทั้งของที่ทางมูลนิธิธรรมะร่วมใจให้มา ของที่พ่อๆแม่ๆ ร่วมกันให้มา และของที่ซื้อมาด้วยครับ สำหรับของส่วนใหญ่ก็จะเป็นของกินของใช้ละนะ ส่วนของที่ระลึกนั้นไม่มี

ของฝากจากยโสธร

หอม กระเทียม และข้าวอินทรีย์ ของฝากจากมูลนิธิธรรมะร่วมใจ
หอม กระเทียม และข้าวอินทรีย์ ของฝากจากมูลนิธิธรรมะร่วมใจ

อันนี้เป็นของฝากที่มูลนิธิธรรมะร่วมใจ ร่วมกันให้นะครับ มีหอมกระเทียม และข้าวด้วยครับ เยอะทีเดียว กินกันไปอีกนานเลยงานนี้

น้ำหมักชีวภาพ ซื้อมาจากห้างดินของมูลนิธิฯ
น้ำหมักชีวภาพ ซื้อมาจากห้างดินของมูลนิธิฯ

อันนี้เป็นน้ำหมักชีวภาพ ที่เป็นอาหารพืชครับ จริงๆแล้วหาซื้อที่ไหนก็ได้ครับ แต่ได้จังหวะเหมาะแถมราคาไม่แพงด้วยก็เลยซื้อกลับมาทีเดียวเลย เพราะยังไงก็คิดว่าต้องลองซื้อใช้อยู่แล้ว และคิดว่าในกรุงเทพฯ คงไม่ขายถูกกว่าราคาป้ายแน่นอน ซื้อมาสองแบบ แบบบำรุงต้นใบและบำรุงดอกผล

สารพัดเมล็ดผัก ถูกและได้เยอะกว่าที่ขายเป็นซองๆทั่วไป
สารพัดเมล็ดผัก ถูกและได้เยอะกว่าที่ขายเป็นซองๆทั่วไป

เมล็ดพันธุ์ผักครับ ปกติก็หาซื้อได้ทั่วไปเหมือนกัน แต่ถึงจะมีทั่วไปผมก็ไม่ซื้อครับ มาซื้อเอาที่นี่แหละ อยากลองเพาะผักอยู่พอดีก็เลยซื้อไปเลย ที่ซื้อไปก็มี พริกขี้หนู สลัดม่วง ผักกาดขาว คะน้ายอด ชีลาวครับ เมล็ดพันธุ์เยอะทีเดียว คิดว่าคงต้องทยอยปลูกนะครับ พื้นที่ที่บ้านไม่ค่อยจะพอ

สิบเซียนสมุนไพร ซื้อจากห้างดินเหมือนกัน
สิบเซียนสมุนไพร ซื้อจากห้างดินเหมือนกัน

สิบเซียนสมุนไพร น้ำหมักสมุนไพรหรืออะไรสักอย่างนี่แหละ เห็นน้องตากล้องเขาซื้อก็เลยซื้อบ้าง เห็นเขาลองแล้วคงจะดีเป็นแน่แท้ ไม่งั้นคงไม่เอามาขาย ส่วนดีจริงไม่จริง ชอบไม่ชอบ อย่างไร ลองแล้วค่อยมาว่ากันอีกทีแล้วกัน แต่ตอนนี้ขอซื้อติดมาก่อนไม่งั้นไม่ได้ลอง

จริงๆมีของฝากจากแม่หม่อน ที่มูลนิธิธรรมะร่วมใจฝากให้คุณแม่ของผมด้วย แต่ก็ไม่ได้ถ่ายรูปมาเพราะ โดนเอาไปจัดเก็บหมดแล้วเลยไม่อยากหยิบมาถ่าย ( แอบขี้เกียจ ) เลยเอาประมาณนี้แล้วกันนะ

สวัสดี