เลือกที่รัก มักที่ชัง กรณีการข่มเหงสัตว์

ผมรู้สึกแปลกใจว่า เรามีทั้งนักปกป้องมนุษชน มีคนสำนึกดีมากมายที่คอยติเตียนคนที่ทำร้ายผู้อื่น และมีทั้งคนที่โกรธแค้นอาฆาต เมื่อมีคนทำร้ายผู้คน เมื่อมีข่าวฆ่ากันตายหรือข่มขืน เราก็จะออกมาเรียกร้องหาศีลธรรมกันยกใหญ่

การฆ่ากัน ทำร้ายกัน ข่มขืนกัน ก็เป็นการข่มเหงรังแกกัน ด้วยกำลังอำนาจที่มากกว่า ถ้าสิ่งนี้เป็นที่น่ารังเกียจจริงแล้วล่ะก็…

…ทำไมเรายังทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นกับการฆ่าสัตว์ การกินเนื้อสัตว์ที่เขาฆ่ามา การสั่งฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหารของเรา ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว มันก็เป็นการข่มเหงรังแกกันด้วยกำลังอำนาจเหมือนกัน

แค่เราเป็นมนุษย์ เราจึงมีสิทธิเหนือสัตว์อื่นอย่างนั้นหรือ คนรังแกคนนั้นผิด แต่คนรังแกสัตว์ไม่ผิดอย่างนั้นหรือ ทำไมจิตใจช่างมีความลำเอียงกันได้ถึงเพียงนี้ จะเหลือช่องเว้นว่างไว้ให้ตนเองได้มีพื้นที่เบียดเบียนสัตว์อื่นอยู่ทำไม แม้สิ่งนั้นโลกจะสมมุติกันว่าไม่ผิด แต่ตามสัจจะแล้วมันก็ไปเบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่นมาอยู่ดีนั่นแหละ

ถ้าสงสัยว่ามันเบียดเบียนอย่างไร สื่อที่เขามีเกี่ยวกับการได้มาซึ่งเนื้อสัตว์ในปัจจุบันนั้นมีเผยแพร่อยู่มากมาย ส่วนมากก็เรียกว่าโหดถึงระดับไม่อยากจะดูกันเลย แต่นั่นแหละคือความจริงของการเบียดเบียน

ปลาซัคเกอร์เป็นภัยต่อระบบนิเวศน์?

จากกระทู้ : พบข่าว เจอปลาซัคเกอร์ ให้โยนบกให้ตาย เพื่อช่วยระบบนิเวศน์ เราไม่มีวิธีที่ดีกว่านี้เหรอคะ

ช่วงนี้เจอข่าวปลาซัคเกอร์เป็นภัยต่อระบบนิเวศน์ ก็มีหลายคนที่ออกมาให้ความเห็นว่า ฆ่าได้ เพื่อรักษาปลาชนิดอื่น…

ผมว่ามันก็ชี้ให้เห็นถึงความตกต่ำของศีลธรรมในตัวคนนะ คืออะไรที่จะเกิดความเดือดร้อนต่อสิ่งที่ตนเองยึดว่าดี ก็เลยกำจัดสิ่งนั้น ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุจริงๆ

ในส่วนตัวผมไม่เห็นว่าการที่ปลาซักเกอร์จะเต็มแม่น้ำแล้วมันจะเกิดผลกระทบอะไรกับผมเลย แม้ปลาอื่นๆหมดไปก็ยังไม่เกิด เพราะจากนี้ไปจนถึงกลียุค คนที่ไม่กินเนื้อสัตว์ เขาก็ไปหาผักหาหญ้ากิน ดังนั้นจะมีหรือไม่มีปลาอะไรในแม่น้ำมันก็ไม่ได้ต่างกันสักเท่าไหร่

ถ้าเราไม่มองเรื่องกินเรามองเรื่องสิ่งแวดล้อมล่ะ จริงๆแล้ว คนนี่แหละไปทำให้ระบบวิเวศน์มันพัง ปลามันก็อยู่ของมันดีๆ ไปจับมันมากิน มันก็ลดจำนวนลงทุกวันๆ อันนี้ไม่เป็นศัตรูต่อระบบนิเวศน์ที่น่ากำจัดกว่าหรือ หรือไม่ก็โรงงานที่ปลอยสารพิษ การเกษตรที่ใช้สารเคมี ทำให้แหล่งน้ำและระบบนิเวศน์เสียหายกว่าเยอะเลย มันมีสิ่งที่มีพลังทำลายมากกว่าปลาซัคเกอร์อีกมาก

โดยธรรมชาติแล้ว มันไม่มีอะไรตั้งอยู่ได้นานหรอก แม้ปลาซัคเกอร์ก็ตาม วันหนึ่งจะมีบางอย่างเกิดขึ้นมาทำลายปลาซักเกอร์เอง จะเป็นสัตว์อื่นก็ได้หรือจะเป็นคนก็ได้ โลกนี้หมุนไปบนความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ไม่มีวันที่ปลาซัคเกอร์จะครองแม่น้ำในไทยได้ทั้งหมดตลอดไป แต่วันที่คนบาปจะครองโลกนั้นมีอยู่ แต่ถึงกระนั้นสิ่งนั้นก็ไม่ได้ตั้งอยู่ถาวร สุดท้ายคนบาปที่ไร้ศีลธรรมก็ฆ่ากันตายจนหมดโลก แล้วคนดีที่แอบซ่อนอยู่ก็ค่อยๆ ออกมาฟื้นฟูโลกให้กลับมาสดใสงดงามอีกที หลังผ่านกลียุคไปแล้ว (อ้างอิงจากเหตุการณ์ในกลียุคที่พระพุทธเจ้าทำนายไว้)

ปัญหาที่ควรแก้จริงๆ ไม่ใช่ปลาซัคเกอร์หรอก แต่เป็นความตกต่ำของศีลธรรมในตนที่เห็นว่าการฆ่านั้นดี แม้จะให้เหตุผลใดๆ ก็ตามที (บางทีพูดยกตนเหมือนเสียสละ) แก้ปัญหานี้ก่อนจะดีกว่า เพราะสุดท้ายปลาซัคเกอร์ก็มีกรรมของมัน แต่คนที่ไปฆ่ามันก็ต้องรับกรรมที่ไปฆ่านั้นเอง ก็เลือกพิจารณากันไปว่าจะรับกรรมแบบไหน

ปล. แม้มีความยินดีในการฆ่าก็เป็นกรรมนะ :)

วิถีแห่งชาวนาคุณธรรม

หลังจากที่ได้ไปศึกษาเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวนาคุณธรรมใน กิจกรรม “หว่านข้าวสู่ผืนนา หว่านศรัทธาสู่หัวใจ” โดยทีวีบูรพา แล้วกลับมาก็อยากจะมาเล่าให้อ่านกันว่าผมได้พบเจออะไรมาบ้าง

วิถีแห่งชาวนาคุณธรรม

วิถีแห่งชาวนาคุณธรรม
วิถีแห่งชาวนาคุณธรรม

ชาวนาคุณธรรมนั้นต่างจากชาวนาทั่วไปอย่างไร?

คำถามนี้อาจจะดูงงๆและไม่น่าสนใจ แต่ถ้าเราลองปรับตัวโจทย์ดูสักนิดอาจจะทำให้เห็นภาพใหญ่ได้มากขึ้นว่า ความแตกต่างระหว่างชาวนาคุณธรรมและชาวนาทั่วไปนั้นมีผลอย่างไรต่อสังคมและโลกบ้าง

ตัวอย่างเช่น…

บริษัท A ทำการผลิตอาหารทั้งส่งออกและขายในประเทศ แต่กรรมวิธีการผลิตนั้นไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปล่อยสารเคมีลงสู่ชุมชน พนักงานไม่ได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรม รายได้ทั้งหมดหายไปกับนักลงทุน

บริษัท B ทำการผลิตอาหารทั้งส่งออกและขายในประเทศ มีกรรมวิธีที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สารเคมี ใส่ใจและสร้างศีลธรรมให้กับพนักงาน ครอบครัว และชุมชนรอบข้าง รายได้ทั้งหมดนำมากระจายสู่ชุมชน

เมื่อยกตัวอย่างแบบนี้อาจจะเห็นภาพที่ใหญ่ขึ้น แต่เราจะกลับมาที่ภาพเล็กกันอีกครั้ง

บริษัท A หรือชาวนาเคมี ทำนาโดยใช้สารเคมีเป็นพิษทั้งคนทำและคนกิน รายได้ไปตกอยู่กับพ่อค้าปุ๋ย โรงสี พ่อค้าคนกลาง ฯลฯ ชีวิตเครียด จน กินเหล้า ติดพนันหวังพึ่งดวง

บริษัท B หรือชาวนาคุณธรรม ทำนาโดยใช้เกษตรอินทรีย์ มีวิถีแห่งชาวนาคุณธรรม รับผิดชอบสังคมไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม มีต้นทุนการขายที่สูงกว่า แต่รายได้ทั้งหมดกลับมาจุนเจือตัวชาวนาและสังคมรอบๆ

เมื่อเห็นตัวอย่างดังนี้ก็จะสามารถอธิบายได้ง่ายขึ้นว่าวิถีแห่งชาวนาคุณธรรมต่างจากชาวนาเคมี หรือชาวนาอินทรีย์อย่างไร ซึ่งเมื่อเรามองที่ปลายทาง ผลสุดท้ายเราก็จะพบว่าชาวนาที่ดำเนินวิถีที่ต่างกันย่อมได้รับผลต่างกัน

ซึ่งแล้วแต่เราจะเลือกว่าจะสนับสนุนเส้นทางไหน สังคมจะไปในทิศทางไหนนั้นน้อยคนนักจะเลือกด้วยตัวเองได้ ชาวนาก็เหมือนกัน บางครั้งหรือหลายครั้งทำไปเพราะความจำเป็น ทำไปเพราะไม่รุ้ ทำไปเพราะต้องดำรงอยู่ ทางเลือกมีไม่มากนัก หากสังคมช่วยกันชี้ช่องทางและเอื้อเฟื้อแก่ชาวนาที่ยังหลงทาง ก็อาจจะทำให้ชาวนาเคมีเปลี่ยนมามุ่งสู่วิถีแห่งชาวนาคุณธรรมได้

เมื่อมีชาวนาคุณธรรมมาก สังคมรอบๆก็จะมีคุณธรรมเกิดขึ้นตามหลักการแพร่ของคนดี คนดีก็จะชวนกันให้ทำสิ่งดีๆ ให้มากขึ้น สังคมก็จะดีขึ้นตามไปเองโดยอัตโนมัติ อ่านมาจนถึงขนาดนี้คุณคิดว่าผมมีเหตุผลมากพอที่จะสนับสนุนชาวนาคุณธรรมหรือยัง?

สวัสดี