ปักชำไผ่ ขุดเหง้าไผ่ ปักลำไผ่

ผมได้เริ่มทดลองขยายพันธุ์ไผ่เอง เพราะรู้สึกว่าถ้าเอาแต่ซื้อ ค่าใช้จ่ายจะเยอะ ถ้าไผ่ทั่ว ๆ ไป ก็ไม่แพงนัก แต่ถ้าไผ่พันธุ์หายาก หรือพวกพิเศษ ๆ อันนั้นก็จะแพง ดังนั้น ถ้าเราหัดขยายพันธุ์ไว้ อย่างน้อยก็วิธีหนึ่ง ก็น่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้

เมื่อหลายปีก่อน เคยลองตอนกิ่งไผ่ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะยังไม่รู้เงื่อนไข และองค์ประกอบแวดล้อมที่จะทำให้การตอนสำเร็จ พอลองแล้วไม่สำเร็จแล้วก็วางไป หันไปซื้อที่เขาทำไว้แล้วเหมือนเคย ๆ

จนล่าสุด เห็นต้นไผ่ มีแรกขึ้นแถว ๆ โคนต้น ก็ลองขุดดู พบว่าลำบากมาก กว่าจะได้เหง้าไผ่สักเหง้า โดยเฉพาะเหง้าที่ออกหน่อแล้ว มันจะมีรากมายึดเพิ่ม  ถ้าเครื่องมือไม่พร้อม  ไม่แนะนำให้ขุดเหง้าไผ่ เพราะต้องมีเครื่องมือที่แข็งแรง ต้องขุด ต้องงัด ต้องคม ตัดรากไผ่ได้ ส่วนการงัดต้องระวัง อุปกรณ์งอแล้วมันจะไม่คุ้ม

สรุปจบลงหลังจากขุดเหง้าไผ่ไป 3 อัน ก็พบว่ามันลำบากเกินไป เครื่องมือเราไม่แข็งแกร่งพอ ใช้เวลาเยอะไป สุดท้ายเลยใช้เลื่อยตัดช่วงโคน ใกล้ ๆ ดินที่มีรากติด แล้วก็เอามาปลูกในสถานที่จริงเลย ก็ลุ้น ๆ เอาว่ามันจะรอดหรือจะร่วง ก็ได้ผลว่ามันรอด แตกกิ่งแขนงออกมา เป็นสัญญาณว่ามันเริ่มหากินเองได้แล้ว รากเดินแล้ว ดูได้จากการแทงกิ่งแขนงออกมานี่แหละ ก็เดา ๆ เอาว่ารากมันคงเยอะแล้วแหละ ไม่ขุดออกมาดูหรอก เพราะมันอาจจะกระทบกระเทือนจนแย่กว่าเดิมก็ได้ เอาไว้ชำกิ่งไผ่ชุดใหม่ค่อยทดลองและเก็บข้อมูลเรื่องการออกรากก็แล้วกัน

ขุดหน่อไผ่มาปลูก กว่าจะขุดได้ ใช้เวลาและแรงมาก อุปกรณ์ก็ต้องแข็งแรง ทั้งหนา ทั้งหนัก ยากกว่าหน่อกล้วยก็หน่อไผ่นี่แหละ โดยเฉพาะช่วงแรก ๆ ของการขุด แทบไม่ขยับ … ฝึกขุดหน่อไผ่กันต่อไป ขยายพันธุ์แบบประหยัดเงิน ใช้ของที่มีอยู่ คือ…แรงงาน

แตกกิ่งออกมาแล้ว ไผ่เปาะที่เคยตัดมาปลูกไว้(ชำ) ณ สถานที่จริง เรียกว่าทดลองดู เพราะไม่เคยชำไผ่มาก่อน ปกติเขาจะชำในโรงเรือนร่ม ๆ อันนี้เราลงสนามจริงเลย ส่วนหนึ่งเพราะจะเคลียไผ่ที่รก ๆ ด้วย ตอนนี้สำเร็จ 3/16 ยังเหลืออีกเยอะที่ปักไว้แล้วยังนิ่งอยู่ เขาบอกว่าการแตกกิ่งออกใบคือสัญญาณแห่งชีวิต คือระบบรากมันทำงานแล้ว เริ่มหากินแล้ว ที่เหลือคือเลี้ยงให้โต

กล้วย มะละกอ ปลูกไว้ ได้กิน

สมัยมาทำสวนแรก ๆ ปลูกได้แต่กล้วย แต่ก็ยังไม่มีกล้วยมากนัก คือมีให้ปลูก แต่ไม่มีให้กิน พอมาอยู่นานขึ้น ปรับที่ปรับทาง ตอนนี้ก็มีกล้วย เกือบร้อยต้นแล้ว ก็มีกล้วยให้กินแล้ว แถมขยายพันธุ์เพิ่มไปอีก แต่กล้วยที่มีให้กินส่วนใหญ่ก็ค่อนข้างเล็ก เพราะไม่ได้ใส่ปุ๋ยหรือบำรุงอะไร รดน้ำก็รอให้ฝนตกนั่นแหละ

ต่อมาก็หัดปลูกมะละกอ ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ ก็ขยันปลูกมาเรื่อย ๆ ก็เริ่มได้ผล บ้าง เลี้ยงชีวิตได้หลายวัน เมนูส่วนใหญ่ก็เอามาทำส้มตำนี่แหละ ส้มตำเป็นเมนูที่ทำง่าย วัตถุดิบส่วนใหญ่หาได้ในสวน ซึ่งตอนนี้จะขาดก็แค่กระเทียมกับมะนาว กระเทียมนี่ไม่เคยปลูก แต่มะนาวกำลังปลูกเพิ่ม ตอนแรกปลูก 2 ต้นไม่โตซักที เลยไม่ได้กินผล มาคิดได้ตอนหลัง ที่ในสวนตั้งกว้าง ก็ซื้อมาปลูกอีก 10 กว่าต้นก็ดูเหมือนว่าจะมีหวังว่าจะได้กินมะนาวเป็นประจำอยู่้บาง
กล้วยสุกแล้ว หลังจากขาดตลาดมานาน ไปหาซื้อในตลาดแถวชุมชุนก็ไม่มีขายมาสักพักแล้ว ที่สวนมีกล้วยมากกว่า 6 เครือ แต่มันยังไม่สุก เลยไม่มีกินสักที

มะละกอ ปลูกติดบ้านไว้ ไม่อดแน่ ๆ ต้นนี้อย่างน้อยก็ได้กับข้าว 4 – 5 วันแล้ว ตำ ผัด แกง ทำได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่จะทำส้มตำเพราะทำง่ายดี

บารายคาลเจอร์

ตอนนี้ความรู้กสิกรรมของแพทย์วิถีธรรม กำลังศึกษากันเกี่ยวกับบารายคาลเจอร์ เป็นความรู้ที่นำหลักของบาราย(ธนาคารน้ำแบบปิด) และเพอร์มาคัลเจอร์ (permaculture) มาผสมรวมกัน เพื่อแก้ปัญหาทั้งเรื่องน้ำท่วมและน้ำแล้งในเวลาเดียวกัน

ภาพแสดงโครงสร้างของ บารายคัลเจอร์

หลักการที่ผมเห็นกว้าง ๆ ในด้านการแก้น้ำท่วม คือ สร้างช่องทางระบายน้ำ ให้ไหลไปในจุดที่ต้องการ และการแก้ปัญหาน้ำแล้งก็คือ น้ำที่ไหลไปในจุดที่ต้องการนั่นแหละ ก็รวมกันลงไปใต้ดินตามจุดที่กำหนดไว้ แล้วเวลาจะใช้ก็จะมีให้สูบขึ้นมา

ตอนนี้ผมก็ยังไม่ได้ลองทำตามหรอก แต่ก็พอจะเห็นภาพว่ามันจะได้ผลอย่างไร เพราะเคยได้ทดลองระบบที่คล้าย ๆ กับธนาคารน้ำใต้ดินอยู่ เหตุก็คือฝนตก แต่น้ำไม่ได้ไหลไปในจุดที่ต้องการ และมีน้ำที่สูบขึ้นมาได้จำนวนมาก จากปั๊มน้ำที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีจุดที่เราจะทิ้งน้ำให้ไหลไปเรื่อย ๆ ได้

จึงทดลองขุดหลุมปากกว้างประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ลึกประมาณ 1 ฟุตครึ่ง หรือมากกว่า โดยหลักการก็ตั้งใจให้น้ำไปขังในจุดที่ขุดไว้ พอขุดเสร็จก็เอาขี้วัวใส่สลับชั้นกับดิน จนมาถึงชั้นบน ๆ ก็ใส่ดินเยอะหน่อย เพื่อไม่ให้รากพืชไปถูกขี้วัวโดยตรง สภาพพื้นที่ตอนจบงาน ก็จะเห็นเป็นหลุม ๆ ที่ต่ำกว่าระดับพื้นดินนิดหน่อย เพราะต้องการให้น้ำที่สูบขึ้นมาไปขังในพื้นที่นั้น

หลังจากทดลองและปล่อยทิ้งไว้ พบว่าได้ผลดีมาก แม้จะไม่ได้รดน้ำอีกเกือบเดือน แต่พื้นที่ตรงหลุมที่ขุดไว้ก็ยังชุ่มชื้นอยู่ ฟักทองที่หยอดเมล็ดไว้ก็เติบโต ได้ผลดีจนน่าประหลาดใจ เพราะขุดเสร็จ รดน้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน ไม่กี่วันก็ต้องทิ้งพื้นที่ไปทำกิจกรรมอื่นเป็นเดือน ๆ กลับมาพบว่าต้นฟักทองงามดี และได้ผลดีกว่าที่คาดไว้ ได้ผลดีกว่าแบบที่เคยปลูกปกติเสียอีก

สรุปจากความรู้ที่เคยได้ทดลองมา แม้จะไม่ตรงกันเสียทีเดียว แต่ก็มีความคล้ายกันในหลายส่วน ผู้ที่สนใจทดลองศึกษาบารายคาลเจอร์ เพื่อกสิกรรมยั่งยืน ในแบบฉบับของแพทย์วิถีธรรม ก็สามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ใน บทความ บารายคาลเจอร์

link : บารายคาลเจอร์ (http://misc.morkeaw.net/)

ฟัก

ฟักเขียว

ฟัก

หลังจากทิ้งสวนไปเกือบครึ่งปี กลับมากลายเป็นป่า แปลงผักก็เป็นทุ่งหญ้ารก เรียกว่าแทบไม่เหลืออะไรที่เคยปลูกไว้เลย หายหมดทุกอย่าง

แต่ก็มาเจอฟักลูกนี้นี่แหละครับ ที่ทำให้รู้สึกว่าการปลูกของเรามันมีผลอยู่บ้าง ไม่สูญเปล่าไปหมด

ก่อนจะกลับไปกรุงเทพฯ ผมหยอดเมล็ดฟักไว้ใต้ต้นไม้ที่ใส่ปุ๋ย คือปลูกแบบฝาก ๆ กันไปนั่นแหละ จะได้รดน้ำจุดเดียวโตได้หลายต้น ก็หยอดไว้หลายที่เหมือนกัน ไม่ได้หาทั้งหมดหรอกนะ พอดีลูกนี้มันอยู่ใกล้ ๆ ทางเดินก็เลยเจอง่าย ส่วนลูกอื่นอาจจะมีก็ได้ แต่ก็คงโดนถางไปหมดแล้ว เพราะกลับมารอบนี้จ้างรถขุดมาปรับที่ เขาปรับให้โล่งเตียนเลย ก็แก้แผนผังที่ด้วย อะไรที่เคยคิดจะทำก็เลิก ปรับไปปรับมา จนตอนนี้ก็ลงตัวระดับหนึ่ง

กลับมาเรื่องฟักลูกนี้ ฟักลูกนี้ได้จากการเก็บเมล็ดจากฟักที่ซื้อจากตลาด ซื้อมากินแล้วก็เก็บเมล็ดมาเพาะ ก็ได้ผลดี ก็เป็นการเรียนรู้ที่ครบรอบการปลูกฟัก คือได้ผลมา เพาะเมล็ด จนถึงได้ผลใหม่ ที่เหลือก็เก็บความรู้ปลีกย่อยของการปลูกฟัก แต่ความรู้หลักเราพอมีหลักมีแกนไว้แล้ว ว่าปลูกแบบนี้ก็ได้ผลนะ ก็คงทดลองเรียนรู้กันต่อไปครับ

[38] การผสมดินสำหรับเพาะเมล็ด

diary-0038-การผสมดินเพาะเมล็ด

38. การผสมดินสำหรับเพาะเมล็ด

ดินที่ใช้เพาะเมล็ดนั้นมีผลค่อนข้างมาก สำหรับการเพาะเมล็ด

จากที่ผมได้ทดลองมา เมล็ดชุดเดียวกัน แต่เพาะลงในดินที่ผสมสูตรต่างกัน อัตราการงอกก็ต่างกัน

จากตัวอย่างนี้ คือการเพาะเมล็ดมะเขือเทศ ในตอนแรกนั้นใช้ดินผสมทรายอย่างเดียว กว่าเมล็ดจะงอกก็ใช้เวลาเป็นสิบวัน

ต่อมาทดลองผสมดินเพาะใหม่ ใส่ขุยมะพร้าวไปเพิ่ม ใส่ใบกระถินผสมไปเพิ่ม เมล็ดชุดเดิมกลับงอกได้ใน 5 วัน แถมอัตราการงอกดูเหมือนจะสูงกว่าสองเท่าด้วย

อุณหภูมิกับความชื้นมีผลมากในการงอกของเมล็ด อย่างล่าสุดผมทดลองเพาะเมล็ดฟักทอง ซึ่งได้ผลคือวันต่อมา ต้นกล้าก็งอกออกมาแล้ว ต่างจากการหยอดเมล็ดฟักทองในแปลงผักโดยตรง แบบนั้นกว่าจะขึ้นก็เป็นสัปดาห์ แต่ข้อดีของการหยอดในแปลงเลยคือได้โตต่อเนื่อง

พืชผักบางชนิดก็ไม่เหมาะที่จะหยอดในแปลงทันที แยกมาเพาะเมล็ด ค่อย ๆ ดูแลต้นกล้าจะเหมาะกว่า

ในส่วนดินผสมสำหรับปลูกนั้น ผมก็คงจะทดลองไปเรื่อย ๆ โดยหลัก ๆ ก็จะหาวัสดุที่ทำให้ดินร่วนซุย เก็บความชื้นได้ดี ไม่มีธาตุอาหารที่เกินความจำเป็น ส่วนที่เหลือก็ควบคุมความร้อนและความชื้นให้เหมาะก็พอ

เพาะเมล็ดถั่วพุ่ม

เพาะเมล็ดถั่วพุ่ม

เพาะเมล็ดถั่วพุ่ม

เป็นเมล็ดถั่วพุ่มที่เก็บมาจากต้นที่ปลูกจากเมล็ดผักซองที่ขายทั่วไปตามห้าง

มีหลายคนบอกว่า ผักซองจะเอามาปลูกต่อไม่ได้ หรือถึงจะปลูกต่อได้ ผลผลิตก็ไม่งอกงาม แต่ผมไม่เชื่ออย่างเขาหรอกนะ

ผมเชื่อว่าทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงได้เสมอ โดยไม่มีข้อจำกัดอย่างที่ว่ามาก่อนหน้านี้เลย ยกตัวอย่างชีวิตผมเองก็ได้ เกิดมาในครอบครัวนี้ เขาก็ไม่ได้สนใจธรรมะอะไรกันมากมาย แต่ก่อนผมเองก็ไม่ได้สนใจเหมือนกัน แล้วทำไมทุกวันนี้มันกลายเป็นชีวิตจิตใจไปเสียแล้ว

จริงอยู่ที่ต้นไม้ไม่มีวิญญาณ จึงไม่มีกรรมที่เป็นตัวส่งผล แต่ผมนั้นมีวิญญาณ มีกรรมเป็นผู้ให้ผล ดังนั้น ถึงจะเป็นต้นที่เขาบอกไม่โต โม่งาม ผมเอามาปลูกเลี้ยงอาจจะงามก็ได้ เพราะว่ามันต่างกรรมต่างวาระ

ดังนั้น ผมคิดว่าถ้าเรามุ่งทำดี หน้าด้านปลูกสลับหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ วันหนึ่งเราจะได้เมล็ดพันธุ์ที่ดี ต้นพันธุ์ที่ดี สิ่งเหล่านี้ผมเคยได้รับมาแล้วสมัยศึกษาทดลองเลี้ยงแคคตัส มันไม่แน่นอนหรอก ในการจะได้รับสิ่งใด ๆ มา แต่เราก็ใช้โอกาสในความไม่แน่นอนนี่แหละในการคัดเลือกและพัฒนาพันธุ์ คนก็เช่นกัน เราก็ใช้ความไม่แน่นอนในชีวิตนี่แหละ พัฒนาตนเอง

ข้าวออกรวง

ข้าวออกรวง

ข้าวออกรวง

ข้าวที่ปลูกไว้ ออกรวงแล้ว มีเมล็ดข้างในด้วย ลองแกะกินแล้วอีกต่างหาก ที่เหลือก็คงรอแค่ให้ข้าวแก่พร้อมเกี่ยวเท่านั้นเอง

ที่เห็นอยู่นี้เป็น “ข้าวพอเพียง” ที่ได้รับแจกหลังจากเข้าสักการะพระบรมศพในหลวง ร.๙ ก็ปลูกพลาดไปรอบหนึ่ง รอบแรกนั้นข้าวจมน้ำตายหมด

พอมารอบสองก็เรียนรู้ อย่างน้อยเราก็จะไม่ไปพลาดแบบเดิม ก็ปลูกไป ได้ต้นกล้า แล้วก็เอาไปแช่น้ำ ต่อมาก็เอาไปวางกลางแดด ใส่พวกกะละมังจากร้าน 20 บาท มันใหญ่ดี ต่อมาไม่นานเจอปัญหาน้ำแห้งไว สุดท้ายก็เอาใส่อ่างผสมปูนซะเลย เพราะใหญ่และใส่น้ำได้เยอะกว่าเดิม

ที่เล่านี่ปลูกไม่เยอะ แค่ 12 กอเท่านั้นเอง ปลูกเพื่อเรียนรู้เป็นหลัก ตอนนี้ก็คิดว่าได้ผลแน่ ๆ แล้ว ข้าวไม่ลีบ เพราะจากที่แกะมากินหลายเมล็ดก็สมบูรณ์ดีอยู่ เดี๋ยวจะรอดูว่าผลสุดท้ายจะออกมาอย่างไร แล้วจะมาเล่ากันอีกทีหลังข้าวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง

มะเขือเทศเนื้อหนา

มะเขือเทศเนื้อหนา

มะเขือเทศเนื้อหนา

จากคราวที่แล้วที่เล่าถึงมะเขือเทศที่ไม่ยอมสุกเป็นสีแดง ผมก็เริ่มค้นข้อมูลเกี่ยวกับมะเขือเทศมากขึ้น จนพบว่ามะเขือเทศมันก็มีเกือบทุกสีนั่นแหละ สีเขียวก็มีเหมือนกัน

ทีนี้พอมันเป็นสีเขียว มันก็รู้ได้ยากว่ามันสุกเมื่อไหร่ สำหรับต้นนี้ผมได้มาจากการเพาะเมล็ดมะเขือเทศที่ซื้อจากตลาดในตำบล มีลักษณะเด่นคือ ไม่เปลี่ยนสี มีรอยแตก ตอนแรกไม่รู้จะเอายังไงกับมันดี จนมาเห็นรอยแมลงแทะ ซึ่งปกติมะเขือเทศแดง ๆ ลูกอื่นในต้นอื่นจะไม่มีรอยแบบนี้

ก็เลยลองเอาลูกที่โดนแทะนี่แหละมากิน พอผ่าดูก็พบว่าเนื้อของมะเขือเทศหนามาก เมื่อเทียบกับมะเขือเทศทั่วไปก็ดูจะเนื้อหนาเกือบสองเท่า ตามรูปขวาล่างเป็นมะเขือเทศทั่วไปทั้งแบบสุกและไม่สุก

จากที่ลองกินดูก็พบว่ามันหวาน แม้ไม่หวานมากแต่แทบจะไม่มีรสเปรี้ยวเลย สรุปคือมันไม่ค่อยเหมือนมะเขือเทศทั่วไปสักเท่าไหร่

วันก่อนผมก็เอามากินเล่นอยู่หลายลูก ก็กินเพลินดี กินสดนั่นแหละ ว่าแล้วก็นึกสนุก เลยเก็บเมล็ดของมันไปเพาะ มันก็แปลกดี กับมะเขือเทศชนิดนี้ จุดเด่นของมันคือเนื้อหนาและแน่นขนาดนี้ ถ้าพัฒนาเรื่องสีและความหวานได้ ก็จะเป็นพันธุ์มะเขือเทศที่น่าสนใจมากทีเดียว

เก็บเมล็ดมะเขือเทศ

เก็บเมล็ดมะเขือเทศ

เก็บเมล็ดมะเขือเทศ

การจะได้มาซึ่งเมล็ดมะเขือเทศนั้น โดยทั่วไปก็คงจะซื้อกันเป็นซอง ๆ จากที่เขาขาย แต่ผมไม่ค่อยเน้นซื้อเป็นซอง เพราะถ้าไม่จำเป็นจะลองเก็บเมล็ดเองมากกว่า

อย่างมะเขือเทศนี่ก็เป็นพืชที่เก็บเมล็ดง่าย โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีขายกันทั่วไปในไทย แกนกลางจะมีแกนเดียว ทำให้จัดเก็บเมล็ดได้ง่าย แต่ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ แบบมะเขือเทศยักษ์ จะตัดแกนไม่ง่ายแบบนี้

อย่างลูกนี้เป็นมะเขือเทศเขียว ไม่สุกเป็นสีแดง แต่พอสุกแล้วสีเขียวจะต่างกับตอนยังอ่อนอยู่ ก็เอามาผ่ากลาง แล้วก็เอามีดตัดแกน แค่นี้ก็เสร็จแล้ว เนื้อมะเขือเทศก็เอาไปกิน แกนก็เอาไปขูดเมล็ดออก

ส่วนเมล็ดที่ได้จะเอาไปล้างแล้วพึ่งให้แห้ง หรือพึ่งให้แห้งเลย หรือจะเอาไปปลูกเลยก็แล้วแต่สะดวก แกะเมล็ดออกจากแกนแล้ว แกนที่เหลือก็กินได้อีกนิดหนึ่ง หรือจะโยนทิ้งเป็นปุ๋ยก็ตามสบาย

เวลาผมเก็บเมล็ดมะเขือเทศก็ทำแบบนี้ทั้งหมด ไม่ว่ามะเขือเทศที่ซื้อมาหรือปลูกเอง มันก็เก็บเมล็ดง่ายดี แต่เห็นแบบนี้เขาขายเมล็ดกันแพงนะ ดีไม่ดีแพงกว่าลูกสดอีก ผมก็งง ๆ อยู่เหมือนกัน ว่าทำไมเมล็ดถึงแพงกว่าลูกสดในเมื่อเมล็ดเขาก็เอามาจากลูกสดอยู่ดี หรือส่วนนั้นจะเป็นค่าบริการนำเมล็ดออก ทำความสะอาด ใส่ซอง จัดจำหน่าย ???

ถ้าอะไรเราพอทำเองได้ เราก็ทำ ถ้ามันไม่ไหว หาไม่ได้จริง ๆ จะซื้อจะจ้างมันก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ผมว่ามะเขือเทศพวกพันธุ์ทั่วไป ไม่รู้จะซื้อเมล็ดไปทำไม ซื้อผลสดดีกว่า ได้ทั้งกิน ได้ทั้งเมล็ดเก็บเมล็ดมะเขือเทศ

การจะได้มาซึ่งเมล็ดมะเขือเทศนั้น โดยทั่วไปก็คงจะซื้อกันเป็นซอง ๆ จากที่เขาขาย แต่ผมไม่ค่อยเน้นซื้อเป็นซอง เพราะถ้าไม่จำเป็นจะลองเก็บเมล็ดเองมากกว่า

อย่างมะเขือเทศนี่ก็เป็นพืชที่เก็บเมล็ดง่าย โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีขายกันทั่วไปในไทย แกนกลางจะมีแกนเดียว ทำให้จัดเก็บเมล็ดได้ง่าย แต่ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ แบบมะเขือเทศยักษ์ จะตัดแกนไม่ง่ายแบบนี้

อย่างลูกนี้เป็นมะเขือเทศเขียว ไม่สุกเป็นสีแดง แต่พอสุกแล้วสีเขียวจะต่างกับตอนยังอ่อนอยู่ ก็เอามาผ่ากลาง แล้วก็เอามีดตัดแกน แค่นี้ก็เสร็จแล้ว เนื้อมะเขือเทศก็เอาไปกิน แกนก็เอาไปขูดเมล็ดออก

ส่วนเมล็ดที่ได้จะเอาไปล้างแล้วพึ่งให้แห้ง หรือพึ่งให้แห้งเลย หรือจะเอาไปปลูกเลยก็แล้วแต่สะดวก แกะเมล็ดออกจากแกนแล้ว แกนที่เหลือก็กินได้อีกนิดหนึ่ง หรือจะโยนทิ้งเป็นปุ๋ยก็ตามสบาย

เวลาผมเก็บเมล็ดมะเขือเทศก็ทำแบบนี้ทั้งหมด ไม่ว่ามะเขือเทศที่ซื้อมาหรือปลูกเอง มันก็เก็บเมล็ดง่ายดี แต่เห็นแบบนี้เขาขายเมล็ดกันแพงนะ ดีไม่ดีแพงกว่าลูกสดอีก ผมก็งง ๆ อยู่เหมือนกัน ว่าทำไมเมล็ดถึงแพงกว่าลูกสดในเมื่อเมล็ดเขาก็เอามาจากลูกสดอยู่ดี หรือส่วนนั้นจะเป็นค่าบริการนำเมล็ดออก ทำความสะอาด ใส่ซอง จัดจำหน่าย ???

ถ้าอะไรเราพอทำเองได้ เราก็ทำ ถ้ามันไม่ไหว หาไม่ได้จริง ๆ จะซื้อจะจ้างมันก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ผมว่ามะเขือเทศพวกพันธุ์ทั่วไป ไม่รู้จะซื้อเมล็ดไปทำไม ซื้อผลสดดีกว่า ได้ทั้งกิน ได้ทั้งเมล็ด

เห็ดหูหนู

เห็ดหูหนู

เห็ดหูหนู

วันก่อนไปเก็บท่อนไม้ที่เตรียมไว้ทำฟืน ก็เห็นเห็ดขึ้น น่าจะเป็นเห็ดหูหนู เพราะรูปร่างหน้าตาคล้ายกัน

อุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม เห็ดก็เลยขึ้น แต่ก่อนก็เคยคิดจะปลูกเห็ดแต่ก็พับโครงการไป เพราะดูมีรายละเอียดเยอะ ในช่วงนี้กินโปรตีนจากถั่วไปก่อนจะดีกว่า เพราะเก็บได้นาน หาซื้อง่าย ที่สำคัญคือไม่ต้องดูแล

การจะปลูกหรือดูแลพืชใหม่ ๆ นั้น ผมจำเป็นต้องใช้เวลาศึกษาสักพักหนึ่งเพื่อทำความรู้จักกับมันว่าต้องปลูกอย่างไร ต้องดูแลอย่างไร ฯลฯ จนมั่นใจว่าลองไปแล้วจะได้ผลผลิตคุ้มค่ากับทุนและเวลาที่มีจึงจะลงมือ

ว่าแล้วก็เอาฟืนที่มีเห็ดหูหนูไปก่อไฟ ปล่อยเห็ดไปตามทางของมันก่อน วันใดวันหนึ่งเราอาจจะได้มีโอกาสศึกษามัน