โรคซึมเศร้า จำเลยรักในสังคม

ก่อนหน้านี้ผมได้ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามาประมาณหนึ่ง ซึ่งสังเกตว่าสังคมนั้นไม่ได้แก้ปัญหาของโรคนี้ที่ต้นเหตุ

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าโรคซึมเศร้านั้นเป็นอาการทางจิต แต่จากที่ศึกษามานั้น มักจะถูกบำบัดโดยการให้ยาหรือรับการปรึกษา ทั้งที่จริงๆ มันเป็นปัญหาที่เกิดในจิต มันมีความผิดปกติในจิตใจ มีสิ่งแปลกปลอมในจิตใจ

ผมจะสรุปก่อนเลยว่า ความรู้ในปัจจุบันไม่มีวันที่จะรักษาโรคนี้หาย แต่มันจะเพิ่มมากขึ้น มีคนเป็นมากขึ้น รวมทั้งจะยิ่งซับซ้อนมากขึ้น และโรคนี้มีความสัมพันธ์กับกิเลสอย่างชัดเจน

แต่วิธีรักษาโรคนี้มีมาตั้งแต่ 2500 กว่าปีก่อน ในหลักพุทธศาสนา ธรรมทุกบทมีไว้เพื่อกำจัดทุกข์ทั้งสิ้น โรคซึมเศร้าก็เช่นกัน

จะยกนิวรณ์ ๕ ขึ้นมาเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย นิวรณ์นั้นไม่ได้เจอแค่ตอนเรานั่งสมาธิ นิวรณ์ของการนั่งสมาธิก็คือนิวรณ์ของการนั่งสมาธิ เมื่อเราพยายามจะแสวงหาความผาสุกในเรื่องใด เราก็จะเจอกับนิวรณ์ในเรื่องนั้นๆ ในโจทย์นั้นๆ

ความรักก็เช่นกัน

เมื่อมีความใคร่อยากเสพอยากได้ความรักมากขึ้น(กามฉันทะ) เมื่อไม่ได้ก็จะโกรธ หงุดหงิด ไม่พอใจมากขึ้น (พยาบาท) เมื่อไม่ได้สมใจเข้าหนักๆก็ตีกลับเกิดเป็นสภาพหดหู่ เศร้าหมอง (ถีนมิทธะ) แล้วก็ฟุ้งซ่านไปเรื่อย (อุทธัจจะกุกกุจจะ) เพราะไม่รู้จะแก้ปัญหายังไง(วิจิกิจฉา)

สภาพก็เหมือนกับเด็กคนหนึ่งอยากได้ของเล่น แล้วก็ร้องไห้โวยวายลงไปดีดดิ้นที่พื้นสุดท้ายก็ยังไม่ได้ ก็งอนพ่องอนแม่ เสียใจคิดฟุ้งซ่านจะประชด จะฆ่าตัวตาย อะไรแบบนี้

โรคซึมเศร้า คืออาการของถีนมิทธะ ที่รุนแรง ซึ่งจะรุนแรงขึ้นตามปริมาณกิเลสองค์รวมในเรื่องนั้นๆ ยิ่งกิเลสมาก ก็ยิ่งซึมเศร้ามาก แก้ทางกายภาพให้ตายก็ไม่มีทางแก้ได้ อย่างเก่งก็ทำให้กลายเป็นคนติดยา ติดหมอ ต้องพึ่งยา พึ่งพาคนอื่น แต่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองให้พ้นจากอาการนี้ได้

ในเรื่องความซึมเศร้า สามารถอธิบายด้วยธรรมบทอื่นได้ด้วยเช่น ปฏิจสมุปปบาท ก็มีทุกข์ โทมนัส โสกะ ปริเทวะ ซึ่งเป็นอาการของทุกข์และความเศร้าโหยหา หดหู่เช่นกัน

…โรคซึมเศร้าในมุมมองผมก็คือกิเลสตัวหนึ่งที่มันกำลังแสดงอาการอยู่นั่นเอง ในมุมของธรรมะเราจะแก้ด้วยหลักอริยสัจ คือ มันทุกข์ในสิ่งใด มันทุกข์เพราะอะไร จะดับทุกข์อย่างไร แล้วจะปฏิบัติอย่างไร

แน่นอนว่ามันไม่ง่ายเหมือนกินยา และไม่หายในทันที เพราะต้องใช้ความเพียรต้องปฏิบัติด้วยตัวเอง จึงเป็นทางแก้ที่แน่นอนแต่เห็นผลได้ยาก พอเห็นผลได้ยาก คนก็บอกว่ามันไม่มีอยู่จริง สุดท้ายก็กลับไปแก้ปัญหาด้วยวิธีโลกๆ แล้ววนเวียนอยู่กับทุกข์นั้นตลอดกาล

One thought on “โรคซึมเศร้า จำเลยรักในสังคม”

  1. ถ้าผมเจอคนที่เขาว่าเขาเป็นภาวะของโรคซึมเศร้า หรืออะไรที่เกี่ยวกันนี่นะ ผมก็คงจะไม่พูดไม่แนะนำอะไรหรอก เพราะเขาคงจะไม่อยากฟัง สู้ฟังปัญหาของเขาจะดีกว่า อาการของเขาเป็นอย่างไร เหตุจากอะไร แล้วถ้าเขาให้ช่วยก็ค่อยประมาณอีกทีว่าจะพูดอะไร

    ไม่ใช่ว่าเราคิดว่าเรามีดีแล้วจะไปยัดมั่วซั่วไม่ได้นะ ไปแนะนำในสิ่งที่เขาไม่ต้องการนี่เขาเรียกว่ายัดเยียด แม้แต่สิ่งดีที่เรามี มันจะดีจริงก็ตาม เอาแค่คนสติดีๆ ทั่วไป ยังพูดธรรมะกันไม่ค่อยเข้าเลย เห็นดีๆ มีธรรมะนั่นแหละ กำแพงอัตตาที่มองไม่เห็นมันก็อาจจะหนาก็ได้ แม้แต่คนปกติผมก็คงจะไม่ไปพูดอะไรด้วยมากหรอก นับประสาอะไรกับคนเป็นโรคซึมเศร้า มันไม่อยู่ในเวลาที่จะเจริญในธรรมได้

    ดังนั้นคนที่ปฏิบัติธรรมศึกษาธรรมก็อย่าติดดีรีบเอาอะไรไปยัดเยียดให้เขา ให้อดทนรอ รอ รอ และรอจนกว่าเขาจะถามนั่นแหละ ถ้าเขาไม่ถามก็อย่าไปทำเก่งเชียวล่ะ

Leave a Reply to Dinh Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.