อเทวนิยม

พุทธไม่ใช่ลัทธิบูชาเทพ,เทวดา
แต่มุ่งสร้างตนเองให้มีจิตดังเทพ,เทวดา จนถึงขั้นเหนือไปกว่านั้น
และไม่ได้สร้างภาพว่าตนเป็นดังเทพ,เทวดา
แล้วไม่ยึดหรือสำคัญว่าตนนี้คือเทพ, เทวดา, ผู้วิเศษ, คนสำคัญ …ฯลฯ ที่คนต้องมาเคารพ กราบไหว้ บูชา

พุทธ กลืนกิน พุทธ

ถ้าใครได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนามาบ้าง ก็คงจะพอรู้เค้าโครงว่า การทำลายพระพุทธศาสนานั้น มักจะไม่ได้เกิดจากเหตุปัจจัยภายนอก หรือลัทธิอื่นเข้ามาโจมตีตรงๆ แต่เป็นความเสื่อมจากภายในนี่แหละ

ก็มีกรณีศึกษาของ ศังกราจารย์ ที่แฝงเข้ามาเป็นพุทธแล้วยัดไส้คำสอนของตัวเองลงไป คือโดยรูปแล้วก็คงจะเหมือนนักบวชพุทธ แต่เนื้อในนั้นก็ไม่ใช่แน่นอน

ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะพุทธในทุกวันนี้แทบไม่เหลือเชื้อแล้ว คนก็มักง่าย เอาง่ายเข้าว่า อาจารย์คนไหนพูดถูกหูก็ศรัทธาเลยไม่ตรวจสอบกันให้ถี่ถ้วน รีบเชื่อ รีบปักใจ ทีนี้คนที่เขาอยากได้ลาภสักการะ เขาก็จะปลอมปนเข้ามาในพุทธนี่แหละ

แล้วเขาก็ใช้คำสอนของพุทธนี่เองเป็นตัวเผยแพร่ คำสอนทั่วๆไปนี่เหมือนกันเป๊ะๆ เหมือนลอกกันมาเลยนะ แต่ไส้ในจะไม่เหมือน พอเป็นเรื่องของสภาวะที่ปฏิบัติจริงๆ จะไม่เหมือน ไม่ตรง จะเบี้ยวๆ มั่วๆ ไม่ตรงกับสัมมาทิฏฐิ

จะมีลักษณะที่เบนออกไปเพื่อให้เสพสมใจตามกิเลสได้ ให้เบียดเบียนได้ ฯลฯ ซึ่งจะขัดกับลักษณะของพุทธ

แต่ปัญหาก็คือคนในยุคนี้ไม่ได้ศึกษาความเป็นพุทธ แม้ว่ามันจะยังมีอ้างอิงอยู่ในพระไตรปิฎกก็ตาม ก็เลือกเชื่อเอาตามอาจารย์ที่ตนว่าดี ถูกใจตรงจริตตน ทั้งๆที่อาจารย์เหล่านั้นอาจจะเป็นคนนอกพุทธก็เป็นได้

เช่นเดียวกับ จุลศีล มัฌชิมศีล มหาศีล ในยุคนี้ก็แทบไม่มีใครปฏิบัติกันแล้ว ทั้งๆ ที่ยังมีปรากฏในพระไตรปิฎก แสดงให้เห็นกันอยู่ว่านี่นะ เป็นนักบวชในศาสนาพุทธต้องปฏิบัติอย่างนี้นะ แต่ก็ไม่มีใครสนใจนำมาปฏิบัติกัน นั่นเพราะเหตุที่ว่าปฏิบัติตามกันมา เชื่อตามกันมา

พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสไว้ในกาลามสูตร ว่าอย่าพึ่งรีบเชื่อใครแม้เขาจะปฏิบัติตามๆ กันมา เป็นครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียง หรือแม้จะมีอ้างอิงอยู่ในตำราก็ตามที แต่ให้ลองปฏิบัติด้วยตนเองจนรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์สิ่งใดเป็นโทษ ถ้าเป็นประโยชน์ก็ทำให้ยิ่งๆขึ้น เป็นโทษก็ควรจะออกห่าง

แต่ก็น้อยคนนักที่จะใช้สูตรนี้ในการพิจารณา ก็เลือกเอา ถือเอา อาจารย์ที่ยกวาทะน่าฟัง ยกที่อ้างน่าสนใจ ยกหลักฐานน่าเชื่อถือ ก็เชื่อไป ฟังไป พอศรัทธาไปแล้ว ยึดไปแล้ว ทีนี้เขาก็ค่อยๆ สอดไส้ความเห็นของเขา เช่นเดียวกับกรณี ศังกราจารย์

ดังนั้นคนที่เชื่อตามๆ กันโดยที่ไม่พิจารณาว่าสิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร ไม่แยกแยะตรวจสอบให้ดี จึงเป็นผู้ร่วมมือทำลายพุทธจากไส้ใน คือไปศรัทธา เชื่อถือ เผยแพร่ลัทธิที่ตั้งชื่อว่าพุทธนี่ไม่มีความเป็นพุทธนั่นเอง

กรณีศึกษา : ศังกราจารย์…ผู้ทำลายพุทธศาสนาในชมพูทวีป ธัมมชโย…ผู้ทำลายพุทธศาสนาในสยามประเทศ??

การปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา

แนะนำบทความที่ดีที่สุดบทหนึ่งของปี 2557 นี้สำหรับผมเลย เพราะสรุปเรื่องด้วยภาพที่สวยงามและกระชับ ทำให้เห็นภาพรวมได้ง่าย รวมทั้งอธิบายขั้นตอนทั้งหมดลงในบทความที่มีความยาวไม่มากไม่น้อยเหมาะสมกับเนื้อหา  84000 พระธรรมขันธ์ นั้นย่อลงเหลือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งผมก็ได้นำศีล สมาธิ ปัญญานั้นมาขยายขึ้นอีกทีเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย นำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง คือการลดกิเลส

การปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญานั้น หลายสายหลายสำนักก็มีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป และก็มักจะมีมรรคผลที่แตกต่างกันออกไป สิ่งนั้นไม่ได้มีสาระสำคัญเท่ากับการกระทำนั้นๆสามารถลดกิเลส ลดความอยากได้อยากมี ลดความยึดมั่นถือมั่นได้หรือไม่ การปฏิบัติที่ถูกทางพุทธจริงๆนั้น คือการปฏิบัติไปสู่ความไม่มี ไม่ได้ ไม่เสพ ไม่ยึดอะไรที่ฟุ้งเฟ้อ เกินความจำเป็นหรือการไม่มีกิเลสนั่นเอง

โดยที่เราจะแสดงมรรคคือทางเดิน ของการปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมกับอธิบายผลที่จะเกิดขึ้น ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายแบบสรุป รวบยอดเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย กระชับ ใช้เวลาในการอ่านไม่นานนัก เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เห็นขอบเขตของการปฏิบัติธรรม ข้อควรรู้ และข้อควรระวังต่างๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้เรียนรู้แนวทางปฏิบัติของพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาที่ประกอบไปด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา รวมอยู่ด้วยกันเป็นก้อนเดียว ไม่แยกจากกัน

ผู้ใดที่สนใจเรียนรู้เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา สนใจแลกเปลี่ยน สอบถาม หรือสงสัยในข้อปฏิบัติใด ขอเชิญร่วมซักถาม ซึ่งแนะนำให้ติดตามไปยังเฟสบุ๊ค ที่ facebook : ศีล สมาธิ ปัญญา ภาคปฏิบัติ

อ่านต่อได้ที่บทความ : ศีล สมาธิ ปัญญา ภาคปฏิบัติ

ศีล สมาธิ ปัญญา ภาคปฏิบัติDownload ภาพขนาดเต็ม กดที่นี่

อ่านบทความอื่นๆ แนะนำ ติชม ทักทายกันได้ที่…

Facebook : ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์

Blog : Minimal life : Dinh Airawanwat