บารายคาลเจอร์

ตอนนี้ความรู้กสิกรรมของแพทย์วิถีธรรม กำลังศึกษากันเกี่ยวกับบารายคาลเจอร์ เป็นความรู้ที่นำหลักของบาราย(ธนาคารน้ำแบบปิด) และเพอร์มาคัลเจอร์ (permaculture) มาผสมรวมกัน เพื่อแก้ปัญหาทั้งเรื่องน้ำท่วมและน้ำแล้งในเวลาเดียวกัน

ภาพแสดงโครงสร้างของ บารายคัลเจอร์

หลักการที่ผมเห็นกว้าง ๆ ในด้านการแก้น้ำท่วม คือ สร้างช่องทางระบายน้ำ ให้ไหลไปในจุดที่ต้องการ และการแก้ปัญหาน้ำแล้งก็คือ น้ำที่ไหลไปในจุดที่ต้องการนั่นแหละ ก็รวมกันลงไปใต้ดินตามจุดที่กำหนดไว้ แล้วเวลาจะใช้ก็จะมีให้สูบขึ้นมา

ตอนนี้ผมก็ยังไม่ได้ลองทำตามหรอก แต่ก็พอจะเห็นภาพว่ามันจะได้ผลอย่างไร เพราะเคยได้ทดลองระบบที่คล้าย ๆ กับธนาคารน้ำใต้ดินอยู่ เหตุก็คือฝนตก แต่น้ำไม่ได้ไหลไปในจุดที่ต้องการ และมีน้ำที่สูบขึ้นมาได้จำนวนมาก จากปั๊มน้ำที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีจุดที่เราจะทิ้งน้ำให้ไหลไปเรื่อย ๆ ได้

จึงทดลองขุดหลุมปากกว้างประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ลึกประมาณ 1 ฟุตครึ่ง หรือมากกว่า โดยหลักการก็ตั้งใจให้น้ำไปขังในจุดที่ขุดไว้ พอขุดเสร็จก็เอาขี้วัวใส่สลับชั้นกับดิน จนมาถึงชั้นบน ๆ ก็ใส่ดินเยอะหน่อย เพื่อไม่ให้รากพืชไปถูกขี้วัวโดยตรง สภาพพื้นที่ตอนจบงาน ก็จะเห็นเป็นหลุม ๆ ที่ต่ำกว่าระดับพื้นดินนิดหน่อย เพราะต้องการให้น้ำที่สูบขึ้นมาไปขังในพื้นที่นั้น

หลังจากทดลองและปล่อยทิ้งไว้ พบว่าได้ผลดีมาก แม้จะไม่ได้รดน้ำอีกเกือบเดือน แต่พื้นที่ตรงหลุมที่ขุดไว้ก็ยังชุ่มชื้นอยู่ ฟักทองที่หยอดเมล็ดไว้ก็เติบโต ได้ผลดีจนน่าประหลาดใจ เพราะขุดเสร็จ รดน้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน ไม่กี่วันก็ต้องทิ้งพื้นที่ไปทำกิจกรรมอื่นเป็นเดือน ๆ กลับมาพบว่าต้นฟักทองงามดี และได้ผลดีกว่าที่คาดไว้ ได้ผลดีกว่าแบบที่เคยปลูกปกติเสียอีก

สรุปจากความรู้ที่เคยได้ทดลองมา แม้จะไม่ตรงกันเสียทีเดียว แต่ก็มีความคล้ายกันในหลายส่วน ผู้ที่สนใจทดลองศึกษาบารายคาลเจอร์ เพื่อกสิกรรมยั่งยืน ในแบบฉบับของแพทย์วิถีธรรม ก็สามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ใน บทความ บารายคาลเจอร์

link : บารายคาลเจอร์ (http://misc.morkeaw.net/)