งานวิจัยน้ำปัสสาวะรักษาโรค

ช่วงนี้สังคมก็จะค่อนข้างร้อนแรงเรื่องการใช้น้ำปัสสาวะ ไม่น่าเชื่อว่ายาดีที่หาได้ง่ายและไม่มีโทษขนาดนี้ จะได้รับความสนใจและตรวจสอบกันในสังคมเป็นวงกว้าง ถึงขนาดหลายต่อหลายรายการได้เชิญ อาจารย์หมอเขียว และจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมผู้มีประสบการณ์ในด้านการใช้น้ำปัสสาวะบำบัดโรคไปออกรายการ

เมื่อสังคมสงสัยเรื่องน้ำปัสสาวะ

น้ำปัสสาวะโดยทั่วไปแล้ว เราจะมองว่าเป็นของเสีย เมื่อคนที่ไม่มีความรู้ ได้กระทบกับความรู้ใหม่ ก็จะเกิดความสงสัย เกิดคำถาม หรือแม้แต่เกิดข้อสรุปตามที่ตนได้คิดไปว่าน้ำปัสสาวะ เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แม้ว่าเสียงส่วนมากในสังคมจะค่อนข้าง อี๋ ๆ (คือไม่เอานั่นแหละ) แต่ถึงกระนั้น สังคมก็ยังให้ความสนใจในประเด็นเรื่องการรักษาโรคด้วยน้ำปัสสาวะเหล่านี้ หลักฐานก็คือ มันเป็นข่าวมาหลายวันแล้ว และยังเพิ่มดีกรีการขยี้เข้าไปอีก คือในวันนี้ก็มีรายการสดด้วย เรียกว่าร้อนแรงเลยทีเดียว ผมยังไม่ได้ดูเพราะอินเตอร์เน็ตไม่อำนวย แต่จากที่ได้ฟังสหายสรุปมา ก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องแปลก

เมื่อน้ำปัสสาวะบำบัดไม่ใช่ความเชื่อส่วนบุคคุล

ในความเป็นจริงแล้ว การใช้น้ำปัสสาวะก็ไม่ใช่เรื่องที่เดือดร้อนใคร และมีผลดี คือใช้แล้วรักษาโรคได้ดี มีผู้ทดลองจำนวนมาก มีหลักฐานในพระไตรปิฎกอ้างอิงไว้ พระพุทธเจ้าท่านให้ใช้น้ำมูตรเน่าเป็นยา เมื่อภิกษุถามว่าต้องรับประเคนไหม ท่านก็บอกว่าไม่ต้อง นั่นหมายถึงก็ใช้น้ำปัสสาวะของตนเองนั่นแหละ รักษาโรคได้เลย ไม่ต้องใช้ของคนอื่นหรือมีขั้นตอนอะไรให้ลำบาก แต่เมื่อมีคนใช้น้ำปัสสาวะเข้ามาก ๆ จนเป็นกลุ่มใหญ่ มีความเห็นต่างที่ไปกระทบคนอีกกลุ่ม ก็เลยมีกระทู้คำถามขึ้นมา จนกระทั่งตอนนี้ น้ำปัสสาวะรักษาโรคกลายเป็นประเด็นร้อนแรงในสังคมไปแล้ว

งานวิจัยน้ำปัสสาวะรักษาโรคอยู่ไหน?

ในประเด็นของงานวิจัย เป็นเรื่องที่ถามถึงกันมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว เพียงแค่เรากดค้นหาในกูเกิ้ล เราก็จะเจองานวิจัยที่ถูกเผยแพร่อยู่บ้าง นั่นคือจริง  ๆ มันมีงานวิจัยอยู่แล้ว แต่ขนาดหรือลักษณะงานวิจัยนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

สรุปคือมันมีงานวิจัยนั่นแหละ แต่เขาไม่แสวงหากันไง ชาวสมาชิกผู้ใช้น้ำปัสสาวะนั่นแหละคือความจริง แต่ละคนก็เป็นตัวอย่างของงานวิจัย เป็นผลที่ได้จากการวิจัย กินจริง ทาจริง หยอดจริง ฯลฯ แล้วก็หายโรคด้วยน้ำปัสสาวะบำบัดกันจริง ๆ เพราะมันมีมวลไง มีข้อมูล มีผล แต่ทีนี้การรวบรวมข้อมูลของการใช้น้ำปัสสาวะบำบัดแล้วมาเผยแพร่นี่มันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ทำค่อนข้างยาก

งานวิจัยปัสสาวะบำบัดของแพทย์วิถีธรรม

ล่าสุดแพทย์วิถีธรรมก็มีผลงานวิจัยออกมา ซึ่งรองรับโดยสถาบันวิชชาราม บอกกันตรง ๆ ก็สถาบันในเครือข่ายแพทย์วิถีธรรมนั่นแหละ แต่ถูกกฏหมายนะ มีองค์กรรัฐรับรองถูกต้อง

งานวิจัยชิ้นนี้ก็มีขอบเขตในเชิงสำรวจ ในมุมที่ผมเคยทำวิจัยมาบ้าง ก็จะให้ความเห็นว่า มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของงานวิจัยเชิงสถิติหรือเชิงคุณภาพที่มากขึ้นต่อไป แต่ข้อมูลการใช้น้ำปัสสาวะบำบัดที่เขาเก็บได้เบื้องต้นนี่แหละ มันก็เป็นประโยชน์แล้ว คนที่เห็นด้วยก็เอาไปทดลอง คนที่ไม่เห็นด้วยก็ประเด็นไปศึกษาค้นคว้าต่อได้ ไปสร้างงานวิจัยเลยว่าดื่มน้ำปัสสาวะแล้วเป็นโทษอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ดื่มแล้วอ้วกพุ่งนี่ไม่ไหวนะ มันต้องเพิ่มปัจจัยในหมวดความชังเข้าไปด้วย ถ้าชัง เกลียด ขนาด ไม่ชอบ นี่กินยังไงก็ไม่รอด ไม่ลงคอ แต่ถ้าไม่รักไม่ชังมัน ก็พอวัดผลได้บ้าง

เอาจริง ๆ สำหรับความเห็นผมนะ งานวิจัยส่วนใหญ่ก็ error ทั้งนั้นแหละ เพราะมันมีกิเลสเป็นตัวแปร กิเลสมี 16 อาการ ทำให้ผลงานวิจัยมัน error มันได้ผลออกมาก็จริง แต่มันไม่มีทางพ้น bias หรืออคติลำเอียงไปได้เลย อย่างเก่งก็ได้แค่ค่ารวม ๆ ความเห็นส่วนใหญ่ มีนัยสำคัญ ฯลฯ แล้วยังไง แล้วมันพ้นทุกข์ไหม

ความพ้นทุกข์นี่มันสำคัญกว่าผลวิจัยนะ ผลวิจัยมัน error ได้ แต่ความพ้นทุกข์นี่มันพ้นแล้วพ้นเลย มันสุขว่างเบาสบาย … แหม่ มันก็ดันออกไปนอกเรื่องไปหน่อย จะเข้าธรรมะทุกที เอาเป็นว่าโดยสรุปสำหรับผมก็เป็นเรื่องนานาจิตตัง ใครใช้ดีก็ใช้ไป ใครกินแล้วอ้วกออก มันทรมานก็ไม่ต้องใช้ บางคนมีวิบากกรรมต้องใช้ยาแพง ๆ วิธีแพง ๆ ยาที่เป็นพิษ มีผลทางลบต่อร่างกาย อะไรอย่างนั้น

โดยส่วนตัวแล้วหากว่าผมมีอาการไม่สบายแล้วคิดจะรักษา น้ำปัสสาวะ จะเป็นตัวเลือกต้น ๆ ในการรักษาอาการนั้น ถามว่าทำไมถึงเลือกใช้น้ำปัสสาวะบำบัดเป็นอันดับแรก ๆ นั่นก็เพราะมันหาได้ง่ายและไม่มีโทษยังไงล่ะ เรามีของดี แถมฟรี ไม่ต้องวิ่งหา ก็ใช้ไปก่อน ถ้ามันไม่ได้ผลยังไงก็ค่อยไปจ่ายเงินซื้อยาตามที่โลกเขาว่าดีก็ได้ เราก็ใช้ได้หมดนั่นแหละ ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นอะไร แต่มันก็มีลำดับความสำคัญในความสำคัญอยู่ ก็เลือกกันไปตามที่ควร ที่ได้ผลจริง

สุดท้ายนี้ก็ฝากงานวิจัยของสถาบันวิชชารามไว้ เพราะผมเห็นว่าเขาตั้งใจทำกันจริง ๆ อะไรก็ไม่สำคัญเท่าจิตใจที่ตั้งใจเกื้อกูลผองชนหรอกผมว่า ส่วนจะผิดจะุถูกก็ทดลองกันไป นำเสนอกันไป แล้วก็วางความยึดดีทิ้งไป คิดไม่ตรงกันก็วางแล้วแยกกันไปตามวิบากกรรม ไม่ต้องวิวาท ไม่ต้องทะเลาะกัน สบายดี จบ.

งานวิจัยน้ำปัสสาวะ

งานวิจัย ปัสสาวะบำบัด แพทย์วิถีธรรม

ช่วงนี้กระแส การใช้น้ำปัสสาวะมาแรง เพราะมีข่าวร้านก๋วยเตี๋ยวเอาฉี่ใส่ก๋วยเตี๋ยวแล้วได้ผลเป็นว่าลูกค้าหายปวดเมื่อย รายละเอียดเป็นอย่างไรก็คงต้องตามหาข่าวอ่านกันดู

จริงๆ ความรู้ของปัสสาวะบำบัดนั้นมีมานานกว่า 2500 ปีแล้ว ซึ่งก็ส่งต่อมาเรื่อย ๆ ผ่านยุคสมัย ในยุคนี้ผมก็ได้มารู้จักกับปัสสาวะบำบัด หรือการใช้ฉี่รักษาโรค จากแพทย์วิถีธรรมนี่แหละ ซึ่งในตอนนี้เขาก็เผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการใช้น้ำปัสสาวะรักษาโรคออกมา ก็เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มาเข้ารับการอบรม (ดู งานวิจัย การใช้ปัสสาวะในการดูแลสุขภาพ)

ในค่ายสุขภาพแพทย์วิถีธรรม บางค่ายก็จะมีการให้ความรู้เรื่องปัสสาวะบำบัดด้วย โดยหลักการแล้วการใช้ฉี่รักษาโรคนั้น ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ หาได้ง่าย ผลิตได้เอง แต่การใช้ยังไม่แพร่หลายเพราะติดตรงตัวปัสสาวะนั้น ดูจะเป็นที่น่ารังเกียจสำหรับคนทั่วไป

การที่ปัสสาวะนั้นมีกลิ่นเหม็นจนถึงเหม็นมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากอาหารที่กินเข้าไป สมัยผมกินเนื้อสัตว์นี่ยอมรับเลยว่ากลิ่นแรงมาก แต่พอปรับเปลี่ยนมากินอาหารมังสวิรัติแบบอาหารสุขภาพนั้นก็ได้พบกับปัสสาวะที่รสจืด บางครั้งกลับมีกลิ่นหอมเหมือนชาอ่อน ๆ

ประสบการณ์ส่วนตัวก็ใช้มาแล้วทุกแบบ แต่จะใช้บ่อยที่สุดก็คือการใช้ น้ำปัสสาวะรักษาแผล ซึ่งการทำงานอยู่กับสวนกับต้นไม้ มักจะเกิดแผลเล็กน้อยเป็นประจำ แล้วในพื้นที่จะมีแมลงหวี่ การใช้น้ำปัสสาวะใส่แผล จะทำให้แผลแห้งเร็ว รักษาตัวได้เร็ว เพียงแค่หยอดใส่แผลที่มีลักษณะรอยข่วน แม้จะมีเลือดไหล ก็ใช้น้ำปัสสาวะเช็ดเลือดได้ รอสักพักแผลจะแห้ง ไม่มีแมลงมาตอม ทำให้แผลสะอาดจากเชื้อโรคอันมีแมลงเป็นพาหะได้ ซึ่งผู้อ่านอาจจะพิจารณาทางเลือกอื่น เช่นยาแดง พลาสเตอร์ปิดแผล แต่ในความเห็นของผมนั้น ปัสสาวะเป็นยาที่หาได้ง่ายและไม่มีโทษ ดังนั้นก็จะเลือกที่จะใช้เป็นตัวเลือกแรก หากไม่สามารถรักษาได้ ก็จะพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ต่อไป แต่จากประสบกาณ์ที่ได้ทดลองมา ส่วนมาก ถึงประมาณ 95 % หายได้เพียงแค่ใช้น้ำปัสสาวะ จะมีกรณีแผลอักเสบ ที่เกิดเพราะแมลงตอมแผลเท่านั้นที่ไม่สามารถรักษาได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าน้ำปัสสาวะจะไม่มีประสิทธิภาพ อาจจะมีองค์ประกอบอื่นที่เป็นต้นเหตุของปัญหา เช่นจากที่เคยศึกษามา การกินอาหารฤทธิ์ร้อน ทอด เผ็ด รสจัด ในช่วงที่เป็นแผล ก็ทำให้แผลกำเริบหรือหายช้าได้เช่นกัน

ผู้สนใจสามารถศึกษาหาความรู้อื่น ๆ เกี่ยวกับปัสสาวะบำบัดได้ในงานวิจัยของสถาบันวิชชาราม ตามลิงก์ด้านล่างนี้

การวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ผลของการใช้น้ำปัสสาวะในการดูแลสุขภาพของผู้เข้ารับการอบรมสุขภาพแพทย์วิถีธรรม

blog.vijjaram.org/results-of-urine-therapy-use-to-health-care-of-buddhist-dhamma-medicine-participant/