บารายคาลเจอร์

ตอนนี้ความรู้กสิกรรมของแพทย์วิถีธรรม กำลังศึกษากันเกี่ยวกับบารายคาลเจอร์ เป็นความรู้ที่นำหลักของบาราย(ธนาคารน้ำแบบปิด) และเพอร์มาคัลเจอร์ (permaculture) มาผสมรวมกัน เพื่อแก้ปัญหาทั้งเรื่องน้ำท่วมและน้ำแล้งในเวลาเดียวกัน

ภาพแสดงโครงสร้างของ บารายคัลเจอร์

หลักการที่ผมเห็นกว้าง ๆ ในด้านการแก้น้ำท่วม คือ สร้างช่องทางระบายน้ำ ให้ไหลไปในจุดที่ต้องการ และการแก้ปัญหาน้ำแล้งก็คือ น้ำที่ไหลไปในจุดที่ต้องการนั่นแหละ ก็รวมกันลงไปใต้ดินตามจุดที่กำหนดไว้ แล้วเวลาจะใช้ก็จะมีให้สูบขึ้นมา

ตอนนี้ผมก็ยังไม่ได้ลองทำตามหรอก แต่ก็พอจะเห็นภาพว่ามันจะได้ผลอย่างไร เพราะเคยได้ทดลองระบบที่คล้าย ๆ กับธนาคารน้ำใต้ดินอยู่ เหตุก็คือฝนตก แต่น้ำไม่ได้ไหลไปในจุดที่ต้องการ และมีน้ำที่สูบขึ้นมาได้จำนวนมาก จากปั๊มน้ำที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีจุดที่เราจะทิ้งน้ำให้ไหลไปเรื่อย ๆ ได้

จึงทดลองขุดหลุมปากกว้างประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ลึกประมาณ 1 ฟุตครึ่ง หรือมากกว่า โดยหลักการก็ตั้งใจให้น้ำไปขังในจุดที่ขุดไว้ พอขุดเสร็จก็เอาขี้วัวใส่สลับชั้นกับดิน จนมาถึงชั้นบน ๆ ก็ใส่ดินเยอะหน่อย เพื่อไม่ให้รากพืชไปถูกขี้วัวโดยตรง สภาพพื้นที่ตอนจบงาน ก็จะเห็นเป็นหลุม ๆ ที่ต่ำกว่าระดับพื้นดินนิดหน่อย เพราะต้องการให้น้ำที่สูบขึ้นมาไปขังในพื้นที่นั้น

หลังจากทดลองและปล่อยทิ้งไว้ พบว่าได้ผลดีมาก แม้จะไม่ได้รดน้ำอีกเกือบเดือน แต่พื้นที่ตรงหลุมที่ขุดไว้ก็ยังชุ่มชื้นอยู่ ฟักทองที่หยอดเมล็ดไว้ก็เติบโต ได้ผลดีจนน่าประหลาดใจ เพราะขุดเสร็จ รดน้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน ไม่กี่วันก็ต้องทิ้งพื้นที่ไปทำกิจกรรมอื่นเป็นเดือน ๆ กลับมาพบว่าต้นฟักทองงามดี และได้ผลดีกว่าที่คาดไว้ ได้ผลดีกว่าแบบที่เคยปลูกปกติเสียอีก

สรุปจากความรู้ที่เคยได้ทดลองมา แม้จะไม่ตรงกันเสียทีเดียว แต่ก็มีความคล้ายกันในหลายส่วน ผู้ที่สนใจทดลองศึกษาบารายคาลเจอร์ เพื่อกสิกรรมยั่งยืน ในแบบฉบับของแพทย์วิถีธรรม ก็สามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ใน บทความ บารายคาลเจอร์

link : บารายคาลเจอร์ (http://misc.morkeaw.net/)

แกงฟักทอง

แกงฟักทอง

แกงฟักทอง

ก็ไม่รู้จะตั้งชื่ออะไรเหมือนกัน ก็เอาของที่มีใส่ไป แล้วต้มรวมกัน…

ช่วงก่อนหน้านี้เป็นฤดูร้อนที่อากาศหนาว ก็เลยทำอาหารที่มีพลังความร้อนหน่อย คือจะต้มแล้วใส่พริกไทย

ก็เอาฟักทองมาต้มแล้วยีให้เละ เอามะเขือเทศลงไป เอาใบไชยาใส่ลงไป ปรุงให้พอเหมาะ ปิดฝา แล้วก็รอให้สุก

กินเข้าไปก็ช่วยคลายความเย็นในร่างกายได้ดี ถ้าอากาศร้อนจะกินแบบนี้ไม่ได้ เพราะกินแล้วจะร้อนไปทั้งตัว

ซึ่งเมนูนี้ก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรเหมือนกัน ก็ผักต้มเปื่อยใส่พริกไทย แต่จะสรุปเรียกว่าแกงฟักทองแล้วกันนะ

ผักนึ่งสามอย่าง

ผักนึ่งสามอย่าง

ผักนึ่งสามอย่าง

อาหารช่วงที่กินก่อนหน้านี้ เป็นช่วงที่เขาว่าอากาศร้อนที่สุดช่วงหนึ่ง ดังนั้นอาหารเลยปรับไปตามอากาศ

เป็นสัปดาห์ที่ผมแทบจะไม่ได้แตะอาหารที่ใส่น้ำมันเลย วนเวียนอยู่กับผักนึ่ง ผักต้ม ผักสด วันนี้มีเยอะชนิดหน่อย คือสามชนิด ปกติจะน้อยกว่านี้ ก็เอาเท่าที่กินทั้งหมดจัดใส่จานให้ดู จานมันเล็ก มันก็ล้น ๆ หน่อย

ผักที่มีก็มีฟักทอง ไชยา ตำลึง กินแค่ผักนึ่ง ข้าว แล้วก็ถั่วต้ม ก็อยู่ได้ทั้งวัน กินแบบนี้เป็นอาทิตย์น้ำหนักหายไปหลายกิโล เพราะไม่มีน้ำมันเหมือนเดิม

หน้าร้อนก็แบบนี้ ก็ต้องเอาน้ำหนักส่วนเกินออก แต่ไม่นานนักฝนก็ตกลงมา อากาศเย็นจนรู้สึกหนาว ก็ต้องกินของมัน ๆ หรือกินเพื่อไปเพิ่มน้ำหนักตัวบ้าง ไม่งั้นมันจะหนาวจนทรมาน มันจะอยู่ไม่ไหว ปรับร้อนปรับเย็นไปแบบนี้ตามสภาพอากาศ เราปรับตามอากาศ ไม่ใช่ให้อากาศปรับตามเรา ถ้าให้อากาศปรับตามเราเช่นเปิดแอร์มันก็จะเปลือง แถมยังทำให้เราอ่อนแออีกด้วย

เมล็ดฟักทองญี่ปุ่น

เมล็ดฟักทองญี่ปุ่น

เมล็ดฟักทองญี่ปุ่น

ซื้อฟักทองญี่ปุ่นมา กะจะเอาเมล็ดมาปลูก เพราะด้วยเหตุที่ว่า ผลของมันมีผิวเกลี้ยง ทำความสะอาดได้ง่าย กว่าฟักทองทั่วไป

พอเอาผลมากินก็เหลือเมล็ด ส่วนหนึ่งก็แบ่งไปปลูก ส่วนหนึ่งก็ลองเอามาคั่วกิน มันไม่เหมือนเมล็ดฟักทองทั่วไป คือเมล็ดฟักทองญี่ปุ่นนั้นหนากว่า เปลือกนั้นหนาถึง 1 มิลลิเมตรเลยทีเดียว ต้องกัด แกะ กะเทาะเอาถึงจะได้กิน ไม่เหมือนเมล็ดฟักทองทั่วไปที่เคยคั่ว กินทั้งเปลือกได้เลยเพราะเปลือกมันบาง

แล้วเวลาคั่วนี่ก็ยากกว่าเพราะเปลือกมันหนา มันจะไม่แตกแล้วกระเด้งไปมาเหมือนฟักทองทั่วไป แต่มันจะระอุ สุกอยู่ข้างใน ดังนั้น จะคั่วให้ถึงขั้นเปลือกแตกก็คงจะสุกจนแห้งเกินไป ต้องคอยสังเกตมากกว่าเมล็ดฟักทองทั่วไป

พอรวมองค์ประกอบเรื่องการคั่วเมล็ดกินด้วยแล้ว การปลูกฟักทองญี่ปุ่นนั้นมีน้ำหนักลดลงไปทันที ไปหาพันธุ์ฟักทองไทยที่ผิวมันเรียบ ๆ มาเพาะดีกว่า ซึ่งก่อนหน้านี้ผมก็เก็บไว้ชุดหนึ่ง ซื้อฟักทองมาจากตลาด ผิวเรียบดี เดี๋ยวก็คงปลูกและคัดพันธุ์ไปเรื่อย ๆ

เมล็ดฟักทองคั่ว

เมล็ดฟักทองคั่ว

เมล็ดฟักทองคั่ว

หลังจากที่เรากินเนื้อฟักทองแล้ว ก็แยกเมล็ดไว้ ล้างแล้วตากให้แห้ง แห้งแล้วก็เอาไปคั่วไฟอ่อน ๆ ก็จะได้เมล็ดฟักทองคั่วที่กินได้ทั้งเปลือก

ถ้าใช้ไฟแรงไป หรือเมล็ดถึงระยะที่สุกดี เมล็ดจะพองออกแล้วแตกคล้าย ๆ ข้าวโพดคั่ว คือ อาจจะมีเด้งออกจากกระทะบ้าง ก็หาอะไรมาปิดกันไป คั่วได้สักระยะหนึ่งเอาพอสีเปลี่ยน ไม่ถึงกับไหม้ ก็เลิกได้ เอามาพักไว้ให้เย็นก็กินได้แล้ว กรอบ ๆ กินได้ทั้งเปลือก เก็บไว้กินได้หลายวัน

ส่วนใหญ่แล้วจะเหลือเมล็ดฟักทองมาคั่วเสมอ เพราะเมล็ดที่เก็บไว้ปลูกต่อ ก็ไม่ได้เก็บทุกลูก เก็บเฉพาะลูกที่ดูดีตามที่เราต้องการ เช่น ขนาดพอเหมาะ ผิวสวย เมล็ดโตแข็งแรง เป็นต้น

เมล็ดที่เก็บไว้ทำพันธุ์นี่ไม่ต้องใช้เยอะ อย่างในรูปนี่ปลูกได้เยอะเลย สำหรับตอนนี้ผมปลูกแค่ 10 – 20 ต้นก็พอแล้ว ดังนั้นตอนนี้ก็เลยเก็บเมล็ดไว้ปลูกนิดหน่อยเท่านั้น ส่วนที่เหลือเอามาคั่วกิน

ผัดกะเพราฟักทอง

ผัดกะเพราฟักทอง

ผัดกะเพราฟักทอง

หลัก ๆ ก็มีแค่กะเพรากับฟักทองนั่นแหละ เครื่องปรุงก็มี เกลือ พริกแห้ง น้ำตาล สามอย่าง วิธีที่ทำก็เอาฟักทองไปต้มหรือนึ่งก่อน จะได้สุกทั่วกัน แล้วก็เอามาผัด ถ้าไม่ต้มหรือนึ่งฟักทองก่อน ก็ต้องหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ จะได้สุกง่ายขึ้น

เมนูนี้ทำในวันที่อากาศเย็น เลือกเอาแต่วัตถุดิบฤทธิ์ร้อน เช่นพริก กะเพรา ฯลฯ ถ้าอากาศร้อน กินแบบนี้จะไม่ค่อยสบาย แต่ถ้าหนาว ๆ ก็กินแล้วสบาย

ฟักทองนี่สรุปไปค้นมาแล้ว ว่าเก็บได้นานเท่าไหร่ โดยเฉลี่ยก็เดือนสองเดือน แต่มีบางคนให้ข้อมูลกันว่าคนที่ปลูกฟักทองเขาเก็บกันกว่าครึ่งปี ซึ่งก็มีวิธีเก็บผลผลิต คือปล่อยให้สุกคาต้น ต้นแห้งตายไปเลย แล้วก็เก็บไว้ในที่อากาศถ่ายเท ไม่อับ จะเก็บได้นาน

พอได้ข้อมูลแล้ว ก็เอาเมล็ดฟักทองที่ได้ส่วนหนึ่ง ลงเพาะกันเลย จะได้มีฟักทองไว้กิน ฟักทองนี่ปลูกแล้วไม่ได้กินง่าย ๆ ต้องรอกันหลายเดือน 4-6 เดือนนู่น กว่าจะได้กิน ก็ปลูกและรอกันไป ดีกว่าซื้อแน่ ๆ แต่ช่วงที่มันยังไม่โตก็ซื้อกินไปก่อน

[21] ฟักทองจากตลาด

diary-0021-ฟักทองจากตลาด

21.ฟักทองจากตลาด

หลายวันก่อนได้ฟักทองจากตลาด 5 ลูก 30 บาท กิโลกรัมละ 10 บาท เฉลี่ยลูกละ 6 ขีด เขาแถมมาอีกลูกกลายเป็น 6

ก็ถามแม่ค้าว่าลูกเล็กแบบนี้สุกรึยัง เขาก็ว่าสุกแล้ว อายุมันได้แล้ว แค่ผลมันไม่ใหญ่ มันแล้ง ฯลฯ เราก็นึกในใจ เอ้อดีนะ ฟักทองลูกไม่ใหญ่ กินง่ายดี ดีกว่าลูกใหญ่แล้วผ่ามา อันนั้นเราไม่มีที่เก็บ แต่ลูกเล็กนี่ดี กินวันละครึ่งถึงหนึ่งลูกก็ยังได้ ไม่เป็นภาระเท่าลูกใหญ่

ปกติเวลาหาซื้อฟักทองในซูเปอร์มาเก็ตก็จะเลือกลูกเล็ก ๆ อยู่แล้ว ได้เจอเล็กแบบนี้ก็เหมาะเลย และที่สำคัญ กิโลกรัมละ 10 บาท นี่ก็เป็นราคาที่ถูกที่สุดของฟักทองที่เคยเห็นในตลาดด้วย (ถ้าเป็นมันเทศ เคยซื้อโลละ 5 บาท)

จริง ๆ จะซื้อมาเยอะกว่านี้ก็ได้ แต่ไม่รู้ว่ามันจะเก็บได้นานขนาดไหน ก็ไม่เคยลอง แต่เดี๋ยวถามคนขายเอาจะง่ายกว่า เพราะซื้อมาเดี๋ยวก็กินหมดตลอด ไม่เคยเก็บไว้ข้ามเดือนข้ามปีสักที

ฟักทองนี่เป็นอาหารสำรองสำหรับผม ซื้อติดไว้เผื่อไม่มีอะไรกิน ก็กินฟักทองนี่แหละ มันเก็บได้นานโดยไม่ต้องมีตู้เย็น ผักอีกชนิดที่กำลังหัดนำมาประกอบอาหารคือฟัก ฟักนี่ก็เก็บได้นาน เคยลองเอามาทำแต่ฟักอ่อน ฟักแก่นี่ไม่เหมาะ เพราะใหญ่เกินไป กินภายในวันสองวันไม่หมดจะเสียของ

สรุปแล้ว ไม่ว่าจะฟักทอง หรืออะไร ถ้าสามารถเก็บได้นาน และเหมาะกับแบ่งกินเป็นมื้อ ๆ ก็จะดีมาก ดูจะสวนทางกับกระแสการปลูกพืชผักนะ ของเขาต้องให้ได้ลูกใหญ่ ของผมเน้นเล็ก ๆ พอกินไปวัน ๆ ….

เลยคิดว่าถ้าปลูกแล้วแห้งแล้งได้ผลแบบนี้ ก็เอานะ ไม่รู้จะใหญ่ไปทำไม กินลำบาก เดี๋ยวปีนี้จะลองปลูกฟักทองกันอีก หวังว่าคงได้ผลมากกว่าหนึ่งลูกนะ

ก๋วยเตี๋ยวแกงกะหรี่ฟักทอง

ก๋วยเตี๋ยวแกงกะหรี่ฟักทอง

ก๋วยเตี๋ยวแกงกะหรี่ฟักทอง

เส้นเล็กที่เหลือจากการทำก๋วยเตี๋ยว …เยอะเหมือนกัน เลยแบ่งมาลองทำเมนูประยุกต์ตามที่นึกได้

เหมือนจะเคยเห็นว่ามีราเม็งแกงกะหรี่ อันนี้เรามาลองทำก๋วยเตี๋ยวแกงกะหรี่ดูบ้าง

วัตถุดิบก็ไม่มาก มีฟักทอง หอมแดง ผงกะหรี่ เส้นเล็ก ต้นหอม แล้วก็เกลือ น้ำตาล พริกไทย

ก็ต้มฟักทองแล้วบดเตรียมไว้ เจียวหอมแดงสักนิด แล้วเอาฟักทองที่บดแล้วลงไป ต้มรวม ๆ กัน คนไปไม่ให้ติดกะทะ ปรุงให้พอกินได้ เสร็จในส่วนแกงกะหรี่ แล้วก็ต้มน้ำ ลวกเส้น ใส่ต้นหอมซอยลงไป เสร็จแล้ว

ต้นหอมที่เห็นนี้เป็นต้นหอมที่ซื้อมาจากตลาดครั้งก่อน กินเสร็จแล้วก็เอาไปปัก รดน้ำไปทุกวัน มันก็งอกต้นขึ้นมาใหม่ให้ตัดกิน ลดค่าใช้จ่ายไปได้เหมือนกัน

ฟักทองน้อย

ฟักทองน้อย

ฟักทองน้อย

ถางหญ้าไปเจอลูกฟักทอง ขนาดเท่าที่เห็นนั่นแหละ ใหญ่กว่าไฟแช็กนิดหน่อย

ก่อนกลับ กทม รอบที่แล้วปลูกฟักทองไว้ ทั้งฟักทองพื้นบ้านและฟักทองญี่ปุ่น ฟักทองบ้านนั้นไม่ได้ผล คงเพราะน้ำและแดดไม่เหมาะสม

น้ำคงไม่เท่าไหร่ เพราะฝนตกตลอด แต่แสงแดดนี่คงไม่ได้เลย เพราะหญ้าขึ้นงามมาก คงจะบังแดดหมด และฟักทองก็คงจะตาย ด้วยเหตุนานับประการ

ตอนแรกผมก็คิดว่าจะรอดนะ แหม ปล่อยไว้หน้าฝนนี่มันน่าจะรอดสิ ที่ไหนได้ มันโตสู้หญ้าไม่ได้ ไว้คราวหน้าค่อยลองใหม่

ฟักทองที่เห็นนี้เป็นฟักทองญี่ปุ่น เพราะสังเกตจากเมล็ด เมล็ดมันจะกลมๆ ไม่รีเหมือนฟักทองบ้าน แต่อาจจะไม่ใช่ก็ได้ อาจจะเพราะมันยังเล็กอยู่

เห็นเล็ก ๆ แบบนี้ ลูกนี้ก็กินได้นะ เอามาผัดกับข้าว ได้สารอาหารเพิ่มจากฟักทองไร้สารพิษไปอีกมื้อ

แกงกะหรี่ฟักทอง

แกงกะหรี่ฟักทอง

แกงกะหรี่ฟักทอง

เป็นเมนูฟักทองที่ก่อนหน้านี้ทำค่อนข้างบ่อย เพราะคิดไว้ว่าจะหัดทำไว้เป็นเมนูรับแขก

วิธีทำก็เอาฟักทองไปต้มแล้วบด ใส่วัตถุดิบอื่น ๆ ใส่ผงกะหรี่ ต้มให้สุกดีก็เสร็จแล้ว

อย่างเมนูนี้นี่ทำกินหลายวันก่อน ตอนนั้นฝนตกทุกวันอากาศค่อนข้างเย็น เลยว่าจะทำอะไรอุ่น ๆ กิน

แต่วันนั้นอากาศร้อนขึ้น แล้วเราไปกินอาหารฤทธิ์ร้อน มีทั้งหอมใหญ่ ทั้งพริกไทย และผงกะหรี่ … สรุปกินเสร็จก็หวัดกิน

เป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหลก็เพราะกินอาหารที่ทำให้ร่างกายเสียสมดุล คืออากาศก็ร้อน แล้วเรากินของร้อนมากก็เลยป่วย

สุดท้ายก็กินน้ำที่หยดน้ำมันเขียวฤทธิ์เย็นไป ช่วยได้มาก อาการหวัดคัดจมูกที่เกิดขึ้นหลังกินก็หายไปในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

ชีวิตนี่ต้องปรับร้อนเย็นให้สมดุล บางทีเราวางแผนทำอาหารล่วงหน้าหลายวัน ซื้อวัตถุดิบมาแล้ว เราก็ปรุงตามแผนเลย บางทีสภาพแวดล้อมมันเปลี่ยน เราก็ควรจะเปลี่ยนตามบ้าง ยึดแผนไม่วางแผน หวัดเลยกิน.