เพาะถั่วงอก

เพาะถั่วงอก

เพาะถั่วงอก

เห็นคลิปที่เขาสอนเพาะถั่วงอกแบบง่าย ๆ และเพื่อนก็ลองเอามาทำแล้วได้ผลจริง ไม่ยาก ก็เลยลองทำบ้าง

ตอนแรกนั้นก็ติดที่ไม่มีวัสดุ ก็เลยว่าจะกลับกรุงเทพก่อนแล้วค่อยทำ ไป ๆ มา ๆ ก็นึกขึ้นได้ว่าเราน่าจะลองประยุกต์ดู

ก็เอากะละมังโลหะที่ซื้อมาจากร้าน 20 บาท มาเจาะก้นด้วยตะปู

เอาผ้าเช็ดตัวเก่าที่เคยใช้เป็นผ้าเช็ดทั่วไปมาเป็นผ้ารองแต่ละชั้นเพื่อเก็บกักความชื้น

เอาถาดพลาสติกที่เป็นรู ที่เป็นของเหลือจากที่เขาใส่เส้นขนมจีนมาเป็นตัวกั้นระหว่างชั้นของถั่วงอก

แล้วก็หาอะไรที่พอดีมาปิดไม่ให้มีแสง ลำดับก็คือใส่ผ้าไปก่อน แล้วใส่ถาด แล้วก็ใส่ถั่วที่แช่น้ำมาแล้วคืนนึง แล้วก็ใส่ผ้า ใส่ถาด ใส่ถั่ว สลับกันไปแบบนี้ อย่างของผมทำสี่ชั้น

ที่เห็นเขียว ๆ นั่นเพราะวันก่อนมันโตจนดันฝาออก แล้วไม่ได้หาอะไรมากดทับไว้ พอแสงเข้า ก็เลยยอดเขียว แต่ก็กินได้ ไม่ได้มีปัญหาอะไร

จริง ๆ 3 วันก็กินได้แล้ว แต่ในรูปนี้ผมทิ้งไว้ 4 วันเพราะจะเอามาทำอาหารในวันที่ 4 พร้อมกับวัตถุดิบอื่นที่ซื้อมาจากตลาด

ถั่วงอกปลูกเองจะต่างจากถั่วงอกซื้อเขา ถ้าผมซื้อถั่วงอกมาเย็นนี้ พอถึงพรุ่งนี้สาย ๆ มันก็จะช้ำ ก็เริ่มเน่าแล้ว (ไม่มีตู้เย็น) ดังนั้นทำเองดีกว่า ปลอดภัยกว่า สบายใจกว่า ยืดหยุ่นกว่า ประหยัดกว่า

ลงแขกเกี่ยวข้าว รับลมหนาวปลายนา [1] วันแรก

เป็นเรื่องราวสำหรับวันแรกนะครับ เนื้อหาและเรื่องราวในวันแรกนั้นก็จะมีไม่มากสักเท่าไรนัก เพราะเราใช้เวลาของวันส่วนใหญ่หมดไปกับการเดินทางครับ

9 พฤษจิกายน 2555

เช้าวันนี้ผมค่อนข้างพร้อมสำหรับการเดินทาง การพักผ่อนที่พอเหมาะ ของที่จัดเตรียมไว้เรียบร้อยตั้งแต่เมื่อวาน ผมออกเดินทางไปถึงทีวีบูรพาเป็นกลุ่มแรกครับ สำหรับครั้งนี้ผมเดินทางไปกับเพื่อนอีกคน ไม่ได้ไปคนเดียวเหมือนอย่างที่เคย ในครั้งนี้เรานัดกันเช้ากว่าที่เคยเพราะว่าหลายครั้งก่อน การออกเดินทางตอนสายๆทำให้เราไปถึงที่หมายเย็นจนเกือบค่ำ ซึ่งก็ทำให้มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมหลายๆอย่างนะครับ

ร้อยรู้ไม่สู้หนึ่งทำการเดินทางจากกรุงเทพฯสู่ยโสธรนั้น เป็นการเดินทางที่ใช้เวลานานมากสำหรับการเดินทางด้วยรถ ซึ่งในครั้งนี้เราเดินทางกันด้วยรถตู้ครับ ซึ่งค่อนข้างจะคล่องตัวเวลาที่เดินทางพอสมควร สำหรับการเดินทางในครั้งนี้ก็แวะกินข้าวเช้ากันที่ร้านข้าวสามสี และแวะกินข้าวเที่ยงกว่าๆกันที่ปั้ม ปตท ที่จังหวัดร้อยเอ็ดครับ สุดท้ายก็มาถึง วัดป่าสวนธรรมร่วมใจ ราวๆ สี่โมงเย็นครับ มีเวลาให้ทำกิจกรรมกันอยู่พอสมควรเลยทีเดียว

สำหรับสิ่งแรกที่เห็นเมื่อเข้ามาก็คือป้าย ร้อยรู้ ไม่สู้ หนึ่งทำ สำหรับสุภาษิตนี้ก็จะเป็นแนวคิดสำหรับการเดินทางของผมและการพิมพ์บทความในครั้งนี้ครับ

ศาลาไทวัตร วัดป่าสวนธรรมร่วมใจเมื่อมาถึงเราก็ได้รับการต้อนรับจากพ่อแม่ชาวนาคุณธรรม พร้อมน้ำหญ้าม้า ผสมมะนาวและน้ำผึ้ง ต้อนรับกันอย่างสดชื่นและสุขภาพดีไปในตัวครับ สำหรับน้ำหญ้าม้านี่ก็เป็นน้ำสมุนไพรที่มีประโยชน์ทีเดียว ลองค้นหาข้อมูลเพิ่มกันดูนะครับ

เพาะถั่วงอกสำหรับกิจกรรมเมื่อมาถึงก็จะมีการสอนการทำถั่วงอกแบบง่ายๆ โดยพี่ทิดโส ซึ่งนำความรู้มาแบ่งปันกัน โดยวิธีก็คือนำขวดน้ำที่หมดแล้ว มาเจาะรูระบายน้ำและเจาะทำประตูด้านข้างขวดเพื่อใส่เมล็ดและรดน้ำ เมื่อได้ขวดที่พร้อมปลูกแล้วเราก็ใส่เมล็ดถั่วเขียวที่แช่น้ำมาหนึ่งคืน และรดน้ำตามลงไปโดยเก็บไว้ในที่มืดเพื่อให้ถั่วงอกขาว ไม่เป็นสีเขียวนั่นเอง สำหรับการทำให้มันมืดในที่นี้เราก็จะใช้ถุงดำมาพันๆนะครับ แล้วก็ให้รดน้ำทุกๆสองชั่วโมง เพื่อคลายความร้อนจากการเติบโต และให้น้ำถั่วงอกครับ หลังจากนี้ 3 วันก็กินได้ครับก็จะกินในวันที่เรากลับกันนั่นเอง

แขยงนา
แขยงนา

หลังจากนั้นก็จะมีการแนะนำตัวทั้งสมาชิกร่วมเดินทาง กลุ่มเครือข่ายฯ ทีมงานทีวีบูรพา และกลุ่มชาวนาคุณธรรม ให้เป็นที่รู้จักกันครับ ซึ่งเราจะใช้เวลาที่เหลือในการพาชมธนาคารข้าวและ แปลงปลูกข้าวสาธิตที่รวมพันธุ์ข้าวเอาไว้ ซึ่งกำลังแตกรวงสามารถสังเกตุความต่างของรูปทรง สีสัน ของเมล็ดข้าวได้ครับ รวมถึงลองชิมแขยงนา ซึ่งเป็นผักชนิดหนึ่งก็รสชาติออกซ่าๆ ละมุนๆครับ หลังจากนั้น เราก็จะแบ่งกลุ่มกันเพื่อไปพักตามบ้านของพ่อแม่ชาวนา ซึ่งห่างกันออกไปคนละทิศละทาง โดยไปพักบ้านละ 5-7 คนโดยประมาณครับ

คืนวันแรก…

เมื่อจัดแจงที่พักเสร็จแล้วเราก็ออกเดินทางไปตามกลุ่มที่จัดไว้ โดยกลุ่มของผมนั้นต้องเดินทางโดยรถตู้เพื่อจะไปที่พักที่ห่างออกไปเกือบ 50 กิโลเมตร นั่นคือบ้านแม่แต๋นซึ่งเป็นชาวนาคุณธรรมท่านหนึ่งนั่นเอง

เมื่อไปถึงที่บ้านแม่แต๋นก็ลงมือจัดแจงหาอาหารและประกอบอาหารให้ ซึ่งผมเองก็ไม่มีความรู้และไม่เคยทำครัวก็ได้แต่ดูอยู่ห่่างๆ ซึ่งในเวลาแบบนี้ผมก็ใช้เวลานั่งคุยกับพ่อบ้าน หรือพ่อแหวนซึ่งก็เป็นชาวนาเหมือนกัน รวมทั้งพี่แหลมคนขับรถซึ่งก็มีประสบการณ์ในการทำนาเหมือนกัน คำถามมากมายที่ผมมีนั้น ได้ถูกตอบจนหมด และยังได้คำตอบรวมถึงแนวทางมากมายที่มากกว่าที่คิดไว้อีกด้วยจากการนั่งคุยกับชาวนาผู้มีประสบการณ์เพียงไม่นานนัก

เมื่อเวลาผ่านไปสักครู่อาหารมื้อค่ำของเราก็เสร็จแล้ว มีหลายๆเมนู แต่ทุกเมนูคืออาหารมังสวิรัติครับ เพราะแม่แต๋นคือชาวนาคุณธรรมที่กินมังสวิรัติมานานแล้ว ซึ่งก็มีเรื่องราวชีวิตของแม่แต๋นสั้นๆมาแบ่งปันกันครับ เป็นเรื่องที่แม่เล่าในวงอาหาร นั่นคืออดีตและจุดเปลี่ยนของชีวิตของแกเอง แม่แต๋นเล่าว่าแต่ก่อนแกใช้สารเคมี ใช้แบบไม่ระวัง ไม่เกรงกลัว สารเคมีหกใส่บ้างก็ไม่ได้สนใจ สุดท้ายป่วยและแพทย์แจ้งว่าเป็นตับแข็งและบอกว่าแกดื่มเหล้ามากไป ซึ่งจริงๆแล้วนั่นเป็นผลมาจากสารเคมีที่ใช้

แม่แต๋นรักษาตัวในโรงพยาบาลอยู่ 4 ปี ซึ่งก็ไม่มีที่ท่าว่าจะรักษาหาย และในที่สุดก็ได้รับการแนะนำให้ไปรักษากับหมอเขียว ซึ่งก็ทำให้หายจากโรคได้ในเวลาไม่ถึงปีทำให้แม่แต๋นเปลี่ยนวิถีชีวิตตัวเองไปอย่างสิ้นเชิงนับตั้งแต่เหตุการณ์นั้น ซึ่งนี่ก็เป็นเรื่องราวคร่าวๆที่ผมจับประเด็นมาได้ อาจจะถูกหรือจำเพี้ยนๆไปก็ได้เพราะตอนนั้นก็ท้องอิ่มๆและเริ่มง่วง แต่เอาเป็นว่าแนวทางนี้แล้วกันนะครับ ใครที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงจากชาวนาเคมีสู่ชาวนาอินทรีย์นี่สามารถหาข้อมูลได้กับกลุ่มชาวนาคุณธรรมกันได้เลยครับ

หลังจากนั้นเราก็ทยอยกันอาบน้ำและนอนหลับพักผ่อนกันครับ สำหรับบ้านชาวนานั้นเขาจะอยู่กันง่าย กินกันง่ายครับ พอเราไปอยู่อาจจะยากหน่อยสำหรับคนเมืองครับ ซึ่งผมมีวิธีคือ คืนก่อนไปให้นอนหลับอย่างพอเหมาะครับ พอเหมาะในที่นี้คือพอที่จะง่วงเมื่อถึงเวลาครับ สำหรับคืนก่อนไปรู้สึกผมจะนอนตี 2 กว่าๆ ตื่น ตี 5 ได้ เพราะฉนั้น การเปลี่ยนที่นอนในคืนแรกไม่เป็นปัญหาของผมแน่นอน เพราะโดยธรรมชาิติของคน ยังไงง่วงก็ต้องหลับแน่นอน

สำหรับในคืนแรก เสียงหมาหอนทำให้หวั่นเกรงต่อพื้นที่ต่างถิ่นได้เล็กน้อย แต่ยังไงผมเองก็คิดว่าที่นี่ก็ต้องนอนหลับสบายอย่างแน่นอน เรานอนบนชั้นสองที่เป็นบ้านที่สร้างด้วยไม้ ห้องใหญ่แต่โล่ง เปิดหน้าต่าง ไม่มีมุ้งลวด แต่ก็ไม่มียุงเช่นกัน อากาศถ่ายเทสะดวกมาก เมื่อนอนผ่านไปสักพักความหนาวก็เข้ามาปกคลุมอย่างไม่คาดฝัน ทำให้ผมต้องคว้าผ้าห่มสุดหนาที่แม่แต๋นเตรียมไว้ให้มาห่ม สุดท้ายผ้าห่มนี้เข้ากับอากาศของที่นี่มาก หลับกันยาวๆอย่างไม่ต้องกังวลใน เพราะสบายกันสุดๆ

สำหรับวันแรกคืนแรกก็จบเพียงเท่านี้ อ่านเพิ่มเติม…

มือเย็นปลูกต้นไม้ขึ้น

หลายๆคนคงจะเคยได้ยินคำว่ามือเย็น ที่มักจะใช้กับคนที่ปลูกอะไรก็ขึ้น ปลูกอะไรก็งอกงาม ผมก็เป็นอีกคนที่มักจะถูกเรียกว่าเป็นคนมือเย็น

คนมือเย็น หรือที่มีคนให้คำจำกัดความไว้ว่าใช้เรียกคนที่มักปลูกต้นไม้ได้งอกงามดีว่า “คนมือเย็น” ตรงข้ามกับ “คนมือร้อน” ซึ่งจริงๆก็เป็นคำเรียกละนะครับ เพราะจริงๆแล้วบางทีคนมือเย็นก็อาจจะไม่ได้ปลูกต้นไม้ได้งอกงามอย่างที่เห็นเพราะกว่าจะงอกงามได้อย่างที่เห็นและเรียกกันว่ามือเย็น อาจจะผ่านซากต้นไม้ พรากมาหลายชีวิตแล้วก็เป็นได้

ในทางตรงกันข้าม คนมือร้อน เมื่อพบว่าปลูกต้นไม้แล้วตาย หรือไม่งอกงาม ก็จำกัดความว่าตนเองเป็นคนมือร้อน และจำไว้อย่างนั้น แล้วก็เลิกปลูก ซึ่งจริงๆแล้วอาจจะไม่เป็นอย่างนั้น…

มือเย็นปลูกต้นไม้ขึ้น

(อยากเริ่มต้นเป็นคนมือเย็นให้หัดเพาะต้นที่งอกง่ายๆเช่นถั่วงอก หรือในรูปก็จะเป็นกระถินครับ)

ตัวผมเองบอกตรงๆ ว่าไม่เชื่อในเรื่องของ คนมือเย็นหรือคนมือร้อน ผมเชื่อในความเป็นจริงมากกว่า คือคนเข้าใจในต้นไม้ที่ปลูกหรือไม่ ได้ดูแลต้นไม้ในแบบที่มันต้องการหรือไม่ เพราะจริงๆแล้ว ถ้าให้คนมือเย็นและคนมือร้อนใช้วิธีและดูแลแบบเดียวกัน ผลมันก็คงจะออกมาไม่ต่างกันนัก

สำหรับเรื่องของจิตใจผู้ปลูกนั้นมีผลกับต้นไม้หรือไม่ จากที่เคยรับรู้มาในหลายๆเรื่องราวก็ได้ยินว่ามีผลอยู่ซึ่งอาจจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ เช่นการเปิดเพลงให้ต้นไม้ฟัง(ฟัง?) ก็อาจจะให้ผลทางอ้อมคือคนดูแลอารมณ์ดีทำให้ดูแลต้นไม้ด้วยความละเอียดมากขึ้น ส่วนทางตรงก็น่าจะเป็นคลื่นเสียงมีผลกับการเติบโตของต้นไม้อะไรแบบนี้คงต้องใช้ข้อมูลงานวิจัยมาอ้างอิงละนะ ใครมีเวลาก็ลองค้นๆดูกันแล้วกันนะครับ

หรือกระทั่งเรื่องของคลื่นที่คนปล่อยออกมา ผมไม่แน่ใจในเนื้อหาแต่ก็เคยได้ยินมาว่าเมื่อเรามีความสุขจะส่งคลื่นออกมาแบบหนึ่ง แต่เมื่อเรามีความทุกข์ก็จะส่งคลื่นออกมาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีผลต่อการงอกงามของต้นไม้ก็เป็นไปได้ (แต่ผลกระทบคงไม่เยอะเท่าได้น้ำและแสงแดด…) เพราะต้นไม้ก็ใช้คลื่นของแสงในการสังเคราะห์พลังงานเหมือนกัน

สรุปว่าบางทีเรื่องมือร้อนมือเย็นนี่ผมคิดว่า คงจะเป็นเรื่องที่เราคิดไปเองเสียมากกว่า เพราะกว่าผมจะโดนเรียกว่าคนมือเย็นนั้น ผมทำต้นไม้ตายไปหลายต้นแล้วครับ…