ไชยากินสด

ไชยา-กินสด

ไชยากินสด

ชายา (chaya) หรือที่เรียกกันว่าไชยาบ้างก็ดี เป็นพืชที่กินได้ทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร

ผมค้นหาข้อมูลอ้างอิงของ chaya นี้ก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน และที่สำคัญคือเขาว่ามันมีคุณค่าทางอาหารเยอะพอตัวเลย

จากที่ลองกินสด ก็มีพลังดี กินไป 6-8 กิ่งก็ยังสบาย มีข่าวว่าหลายคนกินสดแล้วมีอาการแพ้ ผมมีข้อสังเกตในการเลือกกินสด คือ เลือกใบอ่อนจากต้นที่ปลูกในร่มและให้น้ำเยอะเป็นประจำ จะกินสดได้ดี ไม่พบอาการระคายเคือง

แต่ถ้าไปกินต้นที่ปลูกกลางแดด นาน ๆ ให้น้ำที หรือว่าให้โตตามแดดตามฝน ก็อาจจะพบอาการระคายเคืองได้ อันนี้ลองแล้วค้นพบตามนี

หรือถ้าใครกังวลจะเอาไปลวกก่อนก็ได้ ทั้งนี้จากที่เคยเลือกกินสดมา พบว่าถ้าเลือกกิ่งที่เหมาะจากต้นที่ควร กินแล้วก็จะมีพลังและไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ ในทางลบ

สรุปคือ แม้จะเป็นต้นไม้ชนิดเดียวกัน แต่ปลูกต่างที่ต่างวิธี ก็จะมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป เราก็ควรจะเลือกใช้ให้เหมาะ

อ้างอิงชายา

http://www.getnativ.com/chaya-plant-mayan-super-green/

http://www.eattheweeds.com/chaya-the-spinach-tree/

http://www.mexconnect.com/articles/982-chaya-the-maya-miracle-plant

http://heart-institute.org/an-introduction-to-chaya/

เก็บเมล็ดมะเขือเทศ

เก็บเมล็ดมะเขือเทศ

เก็บเมล็ดมะเขือเทศ

การจะได้มาซึ่งเมล็ดมะเขือเทศนั้น โดยทั่วไปก็คงจะซื้อกันเป็นซอง ๆ จากที่เขาขาย แต่ผมไม่ค่อยเน้นซื้อเป็นซอง เพราะถ้าไม่จำเป็นจะลองเก็บเมล็ดเองมากกว่า

อย่างมะเขือเทศนี่ก็เป็นพืชที่เก็บเมล็ดง่าย โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีขายกันทั่วไปในไทย แกนกลางจะมีแกนเดียว ทำให้จัดเก็บเมล็ดได้ง่าย แต่ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ แบบมะเขือเทศยักษ์ จะตัดแกนไม่ง่ายแบบนี้

อย่างลูกนี้เป็นมะเขือเทศเขียว ไม่สุกเป็นสีแดง แต่พอสุกแล้วสีเขียวจะต่างกับตอนยังอ่อนอยู่ ก็เอามาผ่ากลาง แล้วก็เอามีดตัดแกน แค่นี้ก็เสร็จแล้ว เนื้อมะเขือเทศก็เอาไปกิน แกนก็เอาไปขูดเมล็ดออก

ส่วนเมล็ดที่ได้จะเอาไปล้างแล้วพึ่งให้แห้ง หรือพึ่งให้แห้งเลย หรือจะเอาไปปลูกเลยก็แล้วแต่สะดวก แกะเมล็ดออกจากแกนแล้ว แกนที่เหลือก็กินได้อีกนิดหนึ่ง หรือจะโยนทิ้งเป็นปุ๋ยก็ตามสบาย

เวลาผมเก็บเมล็ดมะเขือเทศก็ทำแบบนี้ทั้งหมด ไม่ว่ามะเขือเทศที่ซื้อมาหรือปลูกเอง มันก็เก็บเมล็ดง่ายดี แต่เห็นแบบนี้เขาขายเมล็ดกันแพงนะ ดีไม่ดีแพงกว่าลูกสดอีก ผมก็งง ๆ อยู่เหมือนกัน ว่าทำไมเมล็ดถึงแพงกว่าลูกสดในเมื่อเมล็ดเขาก็เอามาจากลูกสดอยู่ดี หรือส่วนนั้นจะเป็นค่าบริการนำเมล็ดออก ทำความสะอาด ใส่ซอง จัดจำหน่าย ???

ถ้าอะไรเราพอทำเองได้ เราก็ทำ ถ้ามันไม่ไหว หาไม่ได้จริง ๆ จะซื้อจะจ้างมันก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ผมว่ามะเขือเทศพวกพันธุ์ทั่วไป ไม่รู้จะซื้อเมล็ดไปทำไม ซื้อผลสดดีกว่า ได้ทั้งกิน ได้ทั้งเมล็ดเก็บเมล็ดมะเขือเทศ

การจะได้มาซึ่งเมล็ดมะเขือเทศนั้น โดยทั่วไปก็คงจะซื้อกันเป็นซอง ๆ จากที่เขาขาย แต่ผมไม่ค่อยเน้นซื้อเป็นซอง เพราะถ้าไม่จำเป็นจะลองเก็บเมล็ดเองมากกว่า

อย่างมะเขือเทศนี่ก็เป็นพืชที่เก็บเมล็ดง่าย โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีขายกันทั่วไปในไทย แกนกลางจะมีแกนเดียว ทำให้จัดเก็บเมล็ดได้ง่าย แต่ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ แบบมะเขือเทศยักษ์ จะตัดแกนไม่ง่ายแบบนี้

อย่างลูกนี้เป็นมะเขือเทศเขียว ไม่สุกเป็นสีแดง แต่พอสุกแล้วสีเขียวจะต่างกับตอนยังอ่อนอยู่ ก็เอามาผ่ากลาง แล้วก็เอามีดตัดแกน แค่นี้ก็เสร็จแล้ว เนื้อมะเขือเทศก็เอาไปกิน แกนก็เอาไปขูดเมล็ดออก

ส่วนเมล็ดที่ได้จะเอาไปล้างแล้วพึ่งให้แห้ง หรือพึ่งให้แห้งเลย หรือจะเอาไปปลูกเลยก็แล้วแต่สะดวก แกะเมล็ดออกจากแกนแล้ว แกนที่เหลือก็กินได้อีกนิดหนึ่ง หรือจะโยนทิ้งเป็นปุ๋ยก็ตามสบาย

เวลาผมเก็บเมล็ดมะเขือเทศก็ทำแบบนี้ทั้งหมด ไม่ว่ามะเขือเทศที่ซื้อมาหรือปลูกเอง มันก็เก็บเมล็ดง่ายดี แต่เห็นแบบนี้เขาขายเมล็ดกันแพงนะ ดีไม่ดีแพงกว่าลูกสดอีก ผมก็งง ๆ อยู่เหมือนกัน ว่าทำไมเมล็ดถึงแพงกว่าลูกสดในเมื่อเมล็ดเขาก็เอามาจากลูกสดอยู่ดี หรือส่วนนั้นจะเป็นค่าบริการนำเมล็ดออก ทำความสะอาด ใส่ซอง จัดจำหน่าย ???

ถ้าอะไรเราพอทำเองได้ เราก็ทำ ถ้ามันไม่ไหว หาไม่ได้จริง ๆ จะซื้อจะจ้างมันก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ผมว่ามะเขือเทศพวกพันธุ์ทั่วไป ไม่รู้จะซื้อเมล็ดไปทำไม ซื้อผลสดดีกว่า ได้ทั้งกิน ได้ทั้งเมล็ด

กิ้งก่า

กิ้งก่า

กิ้งก่า

ที่นี่ก็มีกิ้งก่าเยอะ วัน ๆ ก็วิ่งไปวิ่งมา เกาะตรงนั้นบ้างตรงนี้บ้าง ส่วนใหญ่ไม่อยู่บนกิ่งไม้ ใบไม้ ก็เกาะต้นไม้

กิ้งก่าตัวนี้ หรือชนิดนี้ มันจะมีพฤติกรรมอย่างหนึ่งคือชอบพงกหัว พอมันเกาะได้มั่นคงสักพักมันจะพงกหัวไปตามจังหวะของมัน ผมดู ๆ ไปแล้วก็คิดว่านี่คงเป็นธรรมชาติของกิ้งก่า ไม่รู้ว่าทำไปทำไมเหมือนกัน

กิ้งก่านี่ถ่ายรูปง่ายกว่าจิ้งเหลน เพราะอยู่นิ่งนาน จิ้งเหลนนี่วิ่งมาวิ่งไปหายแว๊บไม่อยู่ให้ถ่ายรูปหรอก มีเยอะกว่ากิ้งก่าด้วย ที่นี่แมลงเยอะ อาหารสมบูรณ์ มันก็ออกลูกออกหลานกันเต็มไปหมด

มะเขือเทศกินสด

มะเขือเทศกินสด

มะเขือเทศกินสด

พอลองปลูกมะเขือเทศจนได้ผล ก็เอามาประกอบอาหารต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่เคยได้ลองกินสดสักที ก็เลยเอามาลองกินแบบมะเขือเทศกินสดกัน

ปกติแล้วมะเขือเทศที่เห็นขายในห้าง ก็จะมีสองแบบ คือแบบที่เหมาะกับการนำไปประกอบอาหาร กับแบบที่ผลิตมาเพื่อกินสด อย่างเช่น มะเขือเทศตระกูลเชอรี่ เป็นต้น

แต่นี่เราก็เอามะเขือเทศบ้าน ๆ มากินแหละ พันธุ์อะไรไม่รู้ ก็คล้าย ๆ พันธุ์ท้ออยู่บ้าง ระบุไม่ได้เหมือนกันเพราะซื้อมาจากตลาดต่างจังหวัด ถุงหนึ่ง 10 บาท มันก็ปน ๆ กันไม่ได้มีพันธุ์เดียว เรียกว่าพ้นธุ์ท้องถิ่นแล้วกัน

ก็เห็นผลสุกแดงก่ำ เลยเอามาลองกินลูกหนึ่ง ก็กัดกินแบบผลไม้ทั่วไปเลย มันก็อร่อยดี อีกลูกหนึ่งก็เอามาปาดแล้วจัดให้มันดูดีนิดหน่อย วางเกลือโปะไว้ข้าง ๆ เพราะสังเกตว่ามะเขือเทศกินผลเขามักจะแถมพริกเกลือให้ แต่นี่พริกเราไม่มี เอาแต่เกลือแล้วกัน สรุปว่ารสดี ไม่ได้เปรี่ยวขนาดนั้น จะเรียกว่าอย่างไรดี คือมันไม่ได้เปรี้ยวแบบที่คิด สัดส่วนความเปรี้ยวนี่มันนิดเดียว หวานเยอะกว่านะ

ก็เลยได้ประสบการณ์กินมะเขือเทศสดเพิ่มขึ้น คือไม่จำเป็นต้องกินลูกเล็กก็ได้ กินลูกใหญ่ก็ได้เหมือนกัน จริง ๆ จะเรียกว่าลูกใหญ่ก็ไม่ถูก เพราะถ้าเทียบกับพันธุ์ที่ใหญ่ในตลาด ลูกนี้ก็ยังเล็กอยู่ดีนั่นแหละ

[35] หินลับมีด

diary-0035-หินลับมีด

35. หินลับมีด

วันก่อนระหว่างขุดดิน ก็ขุดไปกระทบหินก้อนหนึ่งแตก เผยให้เห็นเนื้อหินที่เต็มไปด้วยทรายข้างใน น่าจะเป็นที่เขาเรียกว่าหินทราย

ก็เลยถือแล้วคิด ๆ ดูว่าจะเอามาทำอะไรได้ หินชนิดนี้มีอยู่เต็มที่ แต่ก็ไม่ค่อยได้สนใจมันสักเท่าไรนัก สรุปก็คิดออกว่าจะเอามาลองลับมีด ลับขวานดู

เมื่อทดลองก็พบว่าสามารถใช้ลับมีดได้ อาจจะไม่ได้ละเอียด แต่ก็สามารถใช้งานหยาบได้ดีเช่นลับมีดบิ่น หรือส่วนใบที่มีรอยแตก เพราะบางทีรอยพวกนั้นจะกินเนื้อหินลับมีดที่ใช้อยู่ปกติค่อนข้างมาก แต่ใช้หินทรายนี่จะใช้เท่าไหร่ก็ได้ จะให้สึกหรอไปเท่าไหร่ก็ได้ ไม่เปลืองเงิน

ก็เลยสรุปความได้ว่า ถ้าจะลับหยาบ ๆ ก็ลับกับหินทรายนี่แหละดี แล้วค่อยไปลับแบบละเอียดกับหินลับมีดที่ซื้อมาอีกที จะได้ยืดอายุหินลับมีดออกไปนาน ๆ แม้มันจะไม่ได้แพงอะไรนักหนา แต่ก็ช่วยประหยัดและใช้ของให้เหมาะกับงานได้ดีขึ้น

ผัดยอดตำลึง

ผัดยอดตำลึง

ผัดยอดตำลึง

วันก่อนค้นข้อมูลเกี่ยวกับตำลึง ที่เขาว่ามีตัวผู้ตัวเมีย แล้วก็เจอว่า ยอดตำลึงนี่เอามาผัดได้เหมือนกัน

ก็เป็นอะไรที่แปลกใหม่สำหรับผม เพราะแต่ก่อนจะคิดว่ายอดตำลึงนี่จะอยู่แค่พวกเมนูต้มหรือไม่ก็เอามาเป็นผักลวก ไม่ค่อยได้เห็นเอามาทำแบบอื่น

พอดีว่าตอนนี้ตำลึงที่ปลูกอยู่ก็เป็นพุ่มใหญ่ทีเดียว น่าจะพอผัดกินได้หนึ่งมื้อ ก็เลยลองเอามาผัดตามสูตรสากลดู คือใส่พริกกับกระเทียม เพื่อดูว่าทำออกมาแล้วจะเป็นอย่างไร

สรุปว่ามันก็กลายเป็นผัดผักที่น่าจะเอาไว้รับแขกได้อีกเมนูหนึ่ง คือถ้าคิดอะไรไม่ออกก็เอายอดตำลึงนี่แหละมาผัดให้เขากิน เพราะมันก็กินได้ อาจจะไม่ดีไม่คุ้นเคยเท่าผักบุ้ง แต่ผมว่ามันก็ดีนะ

เห็ดหูหนู

เห็ดหูหนู

เห็ดหูหนู

วันก่อนไปเก็บท่อนไม้ที่เตรียมไว้ทำฟืน ก็เห็นเห็ดขึ้น น่าจะเป็นเห็ดหูหนู เพราะรูปร่างหน้าตาคล้ายกัน

อุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม เห็ดก็เลยขึ้น แต่ก่อนก็เคยคิดจะปลูกเห็ดแต่ก็พับโครงการไป เพราะดูมีรายละเอียดเยอะ ในช่วงนี้กินโปรตีนจากถั่วไปก่อนจะดีกว่า เพราะเก็บได้นาน หาซื้อง่าย ที่สำคัญคือไม่ต้องดูแล

การจะปลูกหรือดูแลพืชใหม่ ๆ นั้น ผมจำเป็นต้องใช้เวลาศึกษาสักพักหนึ่งเพื่อทำความรู้จักกับมันว่าต้องปลูกอย่างไร ต้องดูแลอย่างไร ฯลฯ จนมั่นใจว่าลองไปแล้วจะได้ผลผลิตคุ้มค่ากับทุนและเวลาที่มีจึงจะลงมือ

ว่าแล้วก็เอาฟืนที่มีเห็ดหูหนูไปก่อไฟ ปล่อยเห็ดไปตามทางของมันก่อน วันใดวันหนึ่งเราอาจจะได้มีโอกาสศึกษามัน

เมล็ดถั่วพุ่ม

เมล็ดพันธุ์ถั่วพุ่ม

เมล็ดถั่วพุ่ม

ช่วงก่อนหน้านี้ฝนตกบ่อย อากาศชื้นเหมือนหน้าฝน ถั่วพุ่มเลยออกดอกออกฝักกันมาเต็มเลย ซึ่งก็ไม่ได้เก็บกินหรอก เก็บเมล็ดดีกว่า เพราะยังมีน้อยอยู่

เมล็ดที่เก็บก็จะเก็บจากฝักแห้งบ้าง ฝักที่เกือบแห้งบ้าง เก็บแล้วเอามาวางตากลมทิ้งไว้เดี๋ยวเมล็ดมันก็จะค่อย ๆ คายน้ำ มีขนาดเล็กลงและแข็งขึ้น ช่วงนั้นค่อยเก็บเข้าซอง

เมล็ดที่เห็นนี่ถ้าไปซื้อเมล็ดแบบซองก็คงต้องเสียเงินอย่างน้อย 10-20 บาทแน่นอน แต่เราเก็บเมล็ดมาปลูกต่ออย่างนี้ได้ คนส่วนมากเขาไม่ค่อยทำกันเพราะมีความเชื่อว่าคุณภาพมันจะตก แต่ผมมีความเชื่ออีกอย่างนะ เชื่อในการเอาตัวรอดตามธรรมชาติ เชื่อว่าเดี๋ยวมันก็พัฒนาตัวเองขึ้นมาเองแหละ ถ้ามันไม่รอด ก็แค่ปลูกไม่ขึ้น ไม่ออกผล เราก็ไม่ได้เมล็ดต่อเท่านั้นเอง แต่ถ้ามันได้ผล ได้เมล็ดต่อ แสดงว่ามันปรับปรุงตัวได้

งานเมล็ดพันธุ์เป็นงานหนึ่งที่จำเป็นต้องทำ แต่ไม่จริงจังนัก เอาไว้ลดรายจ่าย คงไม่ถึงกับต้องไปพัฒนาสายพันธุ์ด้วยการผสมเกสรเองเหมือนอย่างที่เคยเรียนรู้แต่ก่อน ตอนนี้เอาแค่มีปลูกมีกินให้เหมาะกับวิถีชีวิตก็พอแล้ว

[34] หนูกับกระรอก

diary-0034-หนูกับกระรอก

34. หนูกับกระรอก

วันก่อนระหว่างนั่งอยู่ในบ้าน ก็เห็นกระรอกวิ่งไปมา เห็นหางมันก็นึกถึงหนู

คือหางกระรอกนี่มันจะมีขนและฟู ๆ หางหนูไม่มีคน แต่ถ้าตัดหางออกไป หน้าตามันก็คล้าย ๆ กันอยู แต่ทำไมกระรอกมันดูไม่มีพิษภัย ส่วนหนูนี่เป็นสัตว์ที่ควรจะเอาไว้ไกล ๆ

ก็มานั่งคิด สรุปว่า โดยกายภาพมันไม่ได้ต่างกันนักหรอก แค่หางไม่ได้บ่งบอกว่ามันดีหรือไม่ดี ส่วนที่บอกว่ามันดีหรือไม่ดีคือการกระทำของมันต่างหาก

กระรอกนี่มันไม่เคยเบียดเบียนเรานะ มันก็อยู่ของมันไป ส่วนหนูนี่มีชีวิตเพื่อเบียดเบียน การเป็นอยู่ของหนูจะเน้นเบียดเบียนเพื่อดำรงชีวิต ไม่สามารถดำรงตนในธรรมชาติทั่วไปได้ แต่ต้องพึ่งพิงมนุษย์

เมื่อมาอยู่กับคนก็สร้างความเสียหายมากมาย ก็คงเช่นเดียวกับยุงตัวเมีย ที่เกิดมาเพื่อเบียดเบียนโดยตรง ต่างจากผีเสื้อ ที่ไม่ทำอันตรายใด ๆ ต่อเราเลย

โลกนี้ล้วนเต็มไปด้วยสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ พระพุทธเจ้าตรัสว่าบัณฑิตเราควรเข้าใกล้ คนพาลเราควรห่างไกล คืออย่าไปยุ่งมาก ชีวิตมันจะวุ่นวาย ซึ่งจริง ๆ แล้วในโลกส่วนใหญ่ก็คนชั่วคนพาลนั่นแหละ บัณฑิตมีนิดเดียว มีแค่ฝุ่นปลายเล็บเมื่อเทียบกับดินทั้งแผ่นดิน สรุปคือเราก็จะถูกเบียดเบียนจากคนพาลเหล่านี้เรื่อยไปเป็นธรรมดา เหมือนกับการที่เรามีบ้าน มีข้าวของเครื่องใช้ ก็จะต้องเผชิญกับหนูเป็นธรรมดา

ก็ทน ๆ อยู่กันไป ทำได้อย่างดีก็แค่ป้องกันมัน แต่หลายบ้านกันอย่างดีมันก็เจาะช่องเข้าได้อีก บางบ้านไม่ป้องกันอะไรเลย แต่ก็ไม่มีหนู ก็เป็นเรื่องที่ยากจะอธิบาย

แต่หนูมันอยู่ไม่ได้ตลอดหรอก คนพาลก็เช่นกัน เขาจะทำชั่วได้เท่าที่เราเคยทำชั่วมา ไม่มีทางมากกว่านั้น ดังนั้นให้สบายใจได้ว่า ไม่ว่าหนูหรือคนพาลใด ๆ ” เธอไม่มีทางทำกับฉันได้มากกว่าที่ฉันเคยทำมาหรอก

ส้มตำ กับวัตถุดิบที่ปลูกเอง

ส้มตำ

ส้มตำ กับวัตถุดิบที่ปลูกเอง

วันก่อนลองทำส้มตำอีก เป็นสูตรแบบที่เขาใส่ทั่วไป เพื่อทดลองและเรียนรู้อะไรบางอย่าง

พอทำเมนูหนึ่งก็จำเป็นต้องกินหลายวัน เพราะวัตถุดิบมันเยอะ แต่พอหลายวันก็มีเน่าเสียไปบ้างก็มี เช่น มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว

ก็เลยไปหาวัตถุดิบในสวนว่าพอจะมีอะไรบ้าง ก็มีมะเขือเทศสองลูก ลูกหนึ่งสุกอีกลูกเขียว ลูกหม่อน ถั่วพุ่ม ก็เอามาใส่ส้มตำ

แล้วก็นึกขึ้นได้ว่า ส้มตำนี่จริง ๆ เป็นเมนูจากของใกล้ตัวทั้งนั้นเลยนะ ตอนนี้ยังขาดมะละกอ มะนาว พริก กระเทียม ที่ยังไม่โตบ้าง ยังไม่ได้ปลูกบ้าง แต่ถ้าปลูกครบก็ไม่ต้องวิ่งออกไปหาที่ไหน เก็บกินเอาได้ในสวนนั่นแหละ

หลังจากใส่หม่อนไป ผมเพิ่งจะสังเกตว่าคนเราต้องการเสพรสที่หลากหลาย อย่างรสเปรี้ยวนี้เขาไม่ได้ต้องการเปรี้ยวเดียว ส้มตำนี้มีสามเปรี้ยว คือเปรี้ยวจากมะขามเปียก เปรี้ยวจากมะเขือเทศ เปรี้ยวจากมะนาว และที่ผมใส่ยังไปได้เปรี้ยวจากลูกหม่อนอีก

มันต้องหลากหลายไปไหน เปรี้ยวเดียวไม่ได้หรอ? เดี๋ยววันหลังจะลองเปรี้ยวเดียว ส่วนเค็มหวาน เผ็ดในส้มตำนี่ไม่ค่อยหลากหลายอยู่แล้ว แต่อาจจะมีบางที่เขาทำหลากหลายนะ อย่างในบางเมนูอาหารพริกแห้งก็ต้องมี พริกสดก็ต้องใส่ ความหลากหลายเหล่านี้คนเขาก็เรียกว่าอร่อย แต่ผมว่ามันเป็นความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยนะ